เมื่อไม่มี ก็ไม่ทุกข์ เรื่องนี้จะทำให้ท่านเปลี่ยนมุมมอง #อ่านแล้วสุขใจ

2684
views
เมื่อไม่มี ก็ไม่ทุกข์

ณ ครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่กลางป่า ช่วงปลายฝนต้นหนาวมีชายคนหนึ่ง ซึ่งมีอาชีพเป็นคนเลี้ยงโค (นายโคบาล) ได้มาพบเข้ากับพระพุทธเจ้าซึ่งไม่ทราบว่าเป็น ‘พระพุทธองค์’ จึงเข้าไปถามว่า‘ขอโทษขอรับ ท่านเป็นใคร’

พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า…‘เราตถาคต’ นายโคบาลตกใจ บอกว่า…‘พระองค์มานั่งอยู่กลางป่าได้อย่างไร พระองค์มีความสุขไหม?’พระพุทธองค์ จึงทรงตรัสตอบว่าเธอรู้ไหม ในบรรดาคนที่มีความสุขที่สุดในโลก ฉันเป็นหนึ่งในนั้น” นายโคบาลได้ยินพระดำรัสเช่นนั้น ถึงกับตัวชาและมีความปิติ ด้วยอำนาจของพระพุทธองค์

พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า…เธอกำลัง ทำอะไร นายโคบาลตอบว่า…‘หม่อมฉัน ตามหาวัวขอรับ’พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า‘วัว กี่ ตัว นายโคบาลตอบว่า ‘๑๖ ตัว ขอรับ’ พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า‘แล้วตอนนี้ วัว อยู่ไหนนายโคบาลตอบว่า

‘วัวหายทั้งหมดเลยขอรับ’พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า…‘เธอคิดว่าฉันมีวัวไหม?’นายโคบาลตอบว่า…‘ไม่มีขอรับ’พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า…คนไม่มีวัวอย่างฉัน มีโอกาสทุกข์เพราะไม่มีวัวไหมนายโคบาลตอบว่า

‘ไม่มีขอรับ’พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า…‘เห็นไหมว่า คนมีวัว ทุกข์เพราะวัว คนไม่มีวัว ก็ไม่ทุกข์’พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อ…ในเมืองนี้ ใครมีอำนาจ มีเงินทองมากที่สุดนายโคบาลตอบว่า…‘พระเจ้าพิมพิสารขอรับ’พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อ…‘พระเจ้าพิมพิสาร มีอำนาจเงินทองที่สุดในเมือง มานั่งเล่นกลางป่าอย่างฉันได้ไหม

นายโคบาล ตอบว่า…‘ไม่ได้ ขอรับ’พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อก็มีอำนาจ เงินทองขนาดนั้น ทำไมมานั่งเล่นอย่ างฉันไม่ได้นายโคบาลตอบว่าถ้าพระเจ้าพิมพิสารออกมานั่งเล่นชายป่าอย่ างพระองค์ ก็จะถูกปฏิวัติได้ขอรับ’

พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อเห็นไหม…ระหว่างฉันกับพระเจ้าพิมพิสาร ใครมีความสุขกว่ากัน?’นายโคบาลตอบว่า…พระพุทธองค์ ขอรับ’ พระพุทธศาสนาสอนว่า…วิถีแห่งความสุขไม่ได้อยู่ที่ ‘ความมี’ หรือ ‘ความจน’แต่อยู่ที่เรา จงยินดีในสิ่งที่มี รู้จักพอดีในสิ่งที่ได้ เท่านี้ก็มีความสุขแล้ว

โค ๑๖ ตัวที่ทุกคนเลี้ยงไว้ มีตั้งแต่ พระราชา เศรษฐี ประชาราษฎร์ทั่วไป พ่อค้า ฯลฯพระพุทธเจ้าไม่มี พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มี พระอรหันต์ไม่มีพระอนาคา พระสกิทาคา พระโสดาบัน มีน้อยปุถุชนทั่วไปมีมากหนาแน่น…เรียกว่า อุปกิเลส (อ่านว่า อุปะกิเหลด) แปลว่า ธรรมชาติที่เข้าไปทำให้ใจเศร้าหมอง,

โคบาล

เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่แจ่มใส ทำให้ใจหม่นไหม้ ทำให้ใจเสื่อมทราม กล่าวโดยรวมก็คือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรก ไม่สะอาดบริสุทธิ์นั่นเอง อุปกิเลส แสดงไว้ ๑๖ ประการคือ

กิเลส หรือเครื่องเศร้าหมองของจิต มีตัวหลักอยู่ ๓ ตัว คือ

โลภะ คือ ความโลภ ความอยากได้ ความเพลิดเพลินยินดี ความยึดเหนี่ยวทางใจ
โทสะ คือ ความโกรธ ความขัดเคืองใจ ความเศร้า ความเสียใจ ความกลัว ความทุกข์ทางใจทั้งหลาย
โมหะ คือ ความหลง ความไม่รู้ธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง อวิชชา

พระพุทธเจ้า

กิเลส ๓ ตัวนี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดอกุศลทั้งมวล เปรียบเสมือนมารดาให้กำเนิดบุตร (เรียกว่าเป็นอกุศลเหตุ หรืออกุศลมูล) และได้แตกลูกแตกหลานออกมาอีก เรียกว่าเป็น อุปกิเลส ๑๖ ดังนี้คือ

๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว

๒. พยาบาท คือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๓. โกธะ คือความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๔. อุปนาหะ คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

คาถาเสริมดวง

๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น

๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้

๗. อิสสา คือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี

๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร

๙. มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น

๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข

๑๑. ถัมภะ คือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง

๑๒. สารัมภะ คือการแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้

๑๓. มานะ คือความถือตัว ทะนงตน

๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น

๑๕. มทะ คือความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ

๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร