ลูกประ มากคุณค่าจากธรรมชาติ ลูกประ เป็นภาษาถิ่น ตามพจนานุกรมจะเรียกว่า ลูกกระ หลายๆ คนที่ไม่ใช่คนใต้ อาจไม่ค่อยคุ้นหูนัก มีลักษณะคล้ายลูกยางพารา เวลาสุกก็จะแตกตกลงพื้นเช่นเดียวกันกับลูกยางพารา พบได้มากในภาคใต้
ประ เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่และสูงมาก ลูกประ ส่วนมากมักนิยมนำมาทำเป็นอาหารโดยการ ต้ม ดอง คั่ว สำหรับตัวผู้เขียนเองที่ได้มาอาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคใต้เคยลองชิมเมนูจากลูกประหลายๆ
[แกงส้มหมูลูกประ]
ต้องขอบอกว่า ลูกประ ดอง และลูกประ แกงกะทิ แกงส้ม แกงไตปลา นั้นอร่อยมากๆ ซึ่งรสชาติของลูกประ นั้น รสชาติจะคล้ายกับถั่วอัลมอนด์และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ แถมราคาถูกกว่ามาก มีความมันอร่อยม
เราจะมาทำความรู้จักกับ ลูกประ หนึ่งในวัตถุดิบประกอบอาหารของคนใต้ชนิดนี้กัน
ต้นประ เป็นชื่อพืชท้องถิ่นภาคใต้ เป็นไม้ในตระกูล EUPHORBIACEAE เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20-40 เมตร เป็นไม้ยืนต้นซึ่งมีความสำคัญต่อป่าต้นน้ำ เปลือกมียางเหนียว ใบเป็นรูปรี ฐานใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย
แต่เมื่อแตกใบอ่อนจะมีสีชมพูแดง ออกดอกที่ปลายกิ่งเป็นช่อสีขาวนวล และมีดอกแยกเพศ ดอกตัวผู้มีกลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ส่วนดอกตัวเมียรังไข่มีสีชมพูอ่อน
ผลประมีเปลือกหุ้ม ลักษณะเป็นพู มี 3 พู ภายในมี 3 เมล็ด รูปร่างแบบรีๆ ผลอ่อนเป็นสีเขียว แต่เมื่อแก่จะเป็นสีดำปนน้ำตาล โดยมีเปลือกแข็งหุ้มผิวมัน
ขณะที่เนื้อข้างในจะเป็นสีขาวนวล และเมล็ดจะแตกกระเด็นไปได้ไกลเหมือนกับเมล็ดยางพารา ลูกประเมื่อกระเทาะเปลือกออกแล้วมีลักษณะคล้ายเม็ดขนุน
[ลูกประฉาบ]
ลูกประ รายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ โดย ชาวบ้านแต่ละคนจะสามารถเก็บได้ตั้งแต่ 10-20 กิโลกรัม สามารถนำไปขายสร้างรายได้ แต่หากนำมาแปรรูปจะสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้นไปอีก เช่น ต้มให้สุกแล้วนำไปดองในน้ำเกลือ ซึ่งสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานหลายเดือน
[ลูกประทอดกรอบ]
แต่หากนำไปคั่วหรืออบแห้ง ก็จะมีราคาขยับขึ้นไปอีก นอกจากนั้น ยังนำไปปรุงอาหารคาวได้หลายอย่าง เช่น แกงพุงปลา แกงส้มกบ แกงกะทิหมู น้ำพริก เนื่องจากมีรสชาติหวานมัน ประกอบกับหามารับประทานได้ยาก แค่ปีละครั้ง 1 ปีจะมีลูกให้กินเพียง 1 ครั้งระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน เท่านั้น จึงกลายเป็นผลผลิตพื้นบ้านที่มีทั้งคุณค่าและราคา