วันที่ ๑๙ กันยายน “วันพิพิธภัณฑ์ไทย” มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กำหนดวันที่ ๑๙ กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ 16/05/2538
…. ย้อนไปก่อนที่จะมีพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน พิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2376 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปเข้าชม เป็นลักษณะของห้องจัดแสดงของสะสมส่วนพระองค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรวบรวมจากภูมิภาคต่างๆ มาเก็บรักษาไว้ ณ พระที่นั่งราชฤดี พระบรมมหาราชวัง โบราณวัตถุชิ้นสำคัญสุดคือ ศิลาจารึกหลักที่ 1 ต่อมาจึงได้เพิ่มการจัดแสดงเครื่องราชบรรณาการจากต่างประเทศใน พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ หมู่พระอภิเนาวนิเวศน์ ซึ่งที่นี่เป็นเหมือน มิวเซียมหลวง สำหรับต้อนรับราชทูตและพระราชอาคันตุกะต่างแดน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายสิ่งของจากมิวเซียมหลวง มาจัดแสดงที่ หอมิวเซียม ณ หอคองคอเดีย โดยว่าจ้าง นายเฮนรี อลาบาสเตอร์ ชาวอังกฤษมาอำนวยการจัดแสดง มีหน้าที่คล้ายๆ ภัณฑารักษ์ และนั่นนับเป็นครั้งแรกสำหรับการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์แบบสากลของไทย และยังเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ โดยเปิดบริการวันแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2417 ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาในหลวงรัชกาลที่ 5 และผลตอบรับคือ มีประชาชนให้ความสนใจหอมิวเซียมแห่งใหม่และเข้าชมมากถึง 80,000 คน
อ่านกำเนิดพิพิธภัณฑ์ไทยฉบับเต็ม : bit.ly/3QVuP6i