“เหรียญเบญจภาคี” ของดีเมืองนครศรีธรรมราช ที่เป็นสุดยอดตำนานที่หาได้ยากยิ่ง!!

65725
views
เหรียญเบญจภาคี เมืองนครศรีธรรมราช

ในฐานะที่เป็นลูกหลานของชาวนครฯ ผมจึงขอร่วมเผยแพร่พระเบญจภาคีของ จ.นครศรีธรรมราช และเหรียญที่เป็นสุดยอดตำนานที่หาได้ยากยิ่ง เหรียญเบญจภาคีของเมืองนครศรีธรรมราช (เหรียญหลักแสนถึงล้าน) ได้แก่

นครศรีธรรมราช

๑.เหรียญพระอุปัชฌาย์แก้ว รุ่นแรก ๒๔๗๗ วัดประทุมทายิการาม
๒.เหรียญพ่อท่านซัง รุ่นแรก ๒๔๘๐ วัดวัวหลุง
๓.เหรียญพระอุปัชฌาย์ปลอด รุ่นแรก ๒๔๘๒ วัดนาเขลียง
๔.เหรียญหลวงพ่อเอียดดำ รุ่นแรก วัดในเขียว
๕.เหรียญพ่อท่านคล้าย รุ่นแรก วัดสวนขัน

 พระอุปัชฌาย์แก้ว

๑. พระครูแก้ว อรหันต์สยบงู บรมครูแห่ง สิชลและขนอม – เหรียญพระอุปัชฌาย์แก้ว รุ่นแรก ๒๔๗๗ วัดประทุมทายิการาม

มาที่พระสิชล อีกรอบครับเอาแบบละเอียดยิบเลยล่ะกัน ๑.พระครูแก้วอุปัชฌาย์ หรือ พระครูแก้วสิชล วัดปทุมธายิการาม ซึ่งจะขอเล่าประวัติไห้ฟังแบบคร่าวๆนะครับ พระครูแก้วผู้ได้ชื่อว่าเป็นบรมครูของคณาจารย์ใน อ.สิชล ท่านเป็นชาวสิชลโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อปี ๒๔๙๙ อุปสมบทเมื่อ ๒๔๒๐ มรณภาพเมื่อ ๒๔๘๐ อายุรวม ๘๑ ปี ๖๐ พรรษา ความศักดิ์สิทธิ์ขอท่านมีมากครับเช่นมีคนมาขโมยระฆังในวัดขโมยหอบระฆังไปแต่ไม่สามารถออกไปจากวัดได้จนต้องทิ้งระฆังแล้วหนีไป และเคยมีเหตุการณ์ที่พ่อท่านได้เรียกงูจงอางตัวใหญ่มา แล้วเอาเท้าตั้งบนหัวแล้วไห้ลูกศิษย์ช่วยปลดเห็บออกจากงูจนเสร็จ อีกอย่างเวลามีงานที่วัดงูก็จะมาเต็มวัดแต่ไม่ได้ทำอันตรายคนในงานเลยไต้เหรียญของท่านก็เลยมีงูเป็นเอกลักษณ์ และอีกอย่างท่านยังได้ร่วมปลุกเศกเหรียญรุ่นแรกเจ้าคุณม่วง รุ่นรก๒๔๗๖และเหรียญพระบรมธาตุตรีศูลย์๒๔๖๐ด้วยและท่านก็ยังเป็นบรมครูของ อ.สิชลและขนอมด้วยที่น่าแปลกอีกอย่างคือไม่เคยมีข่าวของคนที่แขวนเหรียญรุ่นแรกที่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตเลยซักคนเดียว

 พระอุปัชฌาย์แก้ว

ซึ่งพระเครื่องทุกรุ่นมีประสบการณ์หมด อย่างเหรียญรุ่น๑-๓คงเล่าไม่หมด เอาเป็นรุ่น๔ล่ะกันน่ะคับเรื่องมีว่ามีลูกชายผู้ใหญ่บ้านชื่อดังใน อ.สิชล พร้อมลูกสาวและภรรยาได้นั่งเครื่องบินกลับจากกรุงเทพ(เที่ยวเดียวกับเจมส์เรืองศักดิ์) ตอนแรกลูกสาวแขวนอยู่แล้วรู้สึกคันคอจึงไห้ลูกชายแขวนแทนปรากฏว่าเครื่องบินตกลูกสาวและภรรยาเสียชีวิตแต่ลูกชายรอดและก็ไม่มีแม้แต่รอยขีดข่วนด้วยทั้งทีนั่งติดกัน ส่วนกระผมแขวนรุ่น๖อยู่ครับแคล้วคลาดตลอด รุ่นแรก๒-๓-๔หายากแล้วตามประวัติอีกอย่างนึงพ่อท่านได้เอาเหรียญรุ่นแรกใส่แก้วใว้แก้วนึกแล้วแอบใว้ในวัดแต่จนปัจจุบันนี้ยังไม่มีใครหาพบสงสัยต้องรอผู้มีบุญ ส่วนรุ่นอื่น มีรุ่นด้วยกัน ดังนี้

พระครูแก้วสิชล วัดปทุมธายิการาม

๑.รุ่นแรก๒๔๗๗ ท่านปลุกเสกรูปเดียวไม่มีข้อมูลว่าสร้างไว้เท่าไหร่ มีเนื้อเงินกับทองแดงซึ่งเหรียญรุ่นนี้ได้ถือว่าเป็นเบญจภาคีเหรียญของเมืองนครศรีฯ เรื่องราคาเนื้อเงินคงประมาณ ๒-๓แสนกว่าๆครับถ้าสภาพสวยกึ๊กก็อาจจะเป็นหนังคนล่ะม้วน๕๕ส่วนเนื้อทองแดงสวยๆอยู่ที่๑-๒แสนครับ ถ้าสึกหลอไปก็เป็นหลักหมื่นปลายครับซึ่งผู้เขียนอยากได้ที่สุดเลยครับนักเลงสมัยก่อนนิยมครับเพราะเหนียว ฟันไม่เข้ายิงไม่ออกโดนทุบไม่ช้ำรถชนไม่เป็นอะไรถูกหวยประสบการณ์เยอะครับ ตามประวัติที่ทราบยังไม่มีทองคำเพราะถ้ามีก็ประเมิณราคาไม่ได้ครับ
พระครูแก้วสิชล

๒.รุ่นงานศพหรือแจกแม่ครัว พ.ศ.๒๔๘๑ หายากกว่ารุ่นแรกอีกครับลักษณะเหรียญเป็นกลมไข่เล็กครับเล็กกว่ารุ่น๕ซึ่งผู้เขียนเคยเห็นเพียงครั้งเดียวราคาน่าจะอยู่หมื่นกลาง-ปลายครับ

๓.รุ่นผู้กองวิโรจน์หรือย้อน พ.ศ.เลียนแบบรุ่นแรก มีสองเนื้อ อัลปาก้าและทองแดงครับราคา อัลปาก้าจะอยู่พันกลางถึงปลายครับ ทองแดงจะอยู่พันต้นถึงกลางแล้วแต่สภาพประสบการณ์เยอะครับสร้าง พ.ศ.๒๕๐๕ ครับ

พระครูแก้วสิชล

(เหรียญอุปัชฌาย์แก้ว รุ่น ๓)
๔.รุ่นยกช่อฟ้าหรือรุ่นฟ้าผ่าหรือรุ่นเครื่องบินตกสร้างในโอกาสยกช่อฟ้าพระอุโบสถรูปแบบเหมือนรุ่นแรกสร้างปี๑๖ มีเนื้อเงินและทองแดงรุ่นนี้ตอนทำพิธีฟ้าได้ผ่ามาตงกลางพิธีและก็เป็นรุ่นที่ตกเครื่องบินแล้วไม่เป็นอะไรด้วยครับ ราคาหลักพันต้นครับ
๕.รุ่นปี ๒๗ สร้างในโอกาสทำบุญวัดเป็นเหรียญรูปไข่แบบรุ่นสองแต่ใหญ่กว่ามีเนื้อเงินทองแดง พุทธาภิเษกในวัดเกจิที่ปลุกเสกจตุคามปี ๓๐มากันครบเลยครับ ราคาอยู่พันต้นครับ

เหรียญพระครูแก้วอุปัชฌาย์ วัดปทุมยการาม นครศรีธรรมราช ปี 2535

๖.รุ่นชมรมพระเครื่อง พ.ศ.๒๕๓๕ มีแบบเหรียญเสมาแบรุ่นแรกรูปเหมือนและล๊อกเก็ตเนื้อทองคำเงินทองแดงตะกั่วรุ่นนี้จะพิเศษที่เหรียญเสมาเนื้อทองคำครับสร้างแค่ ๒๙เหรียญเท่านั้นพอสร้างเสร็จก็เอาไปไหเกจิดังสมัยนั้นปลุกเสกเดี่ยวอาทิเช่น หลวงพ่อเกษม หลวงพ่ออุตตมะ หลวงพ่อคูณ หลวงปู่ทิม หลวงพ่อดีวัดพระรูป หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก หลวงปู่แย้มวัดสามง่าม หลวงปู่เจือวัดกลางบางแก้ว ฯ มีปาฏิหาริย์ตลอดที่เอาไปปลุกเสกครับ อย่างเช่นหลวงพ่อเกษม เขมโก เพราะกว่าจะพบท่านได้ต้องรอคิวเป็นวันๆ แต่พอไปถึงลูกศิษย์บอกว่าท่านนั่งวิปัสสนาอยู่ข้างในไม่รับแขกก็เลยจะกลับอยู่ๆท่านก็ออกมา ไห้ลูกศิษย์และคนที่มาหาคนอื่นหลีกทางแล้วท่านก็ไห้เข้าไปท่านก็รับเหรียญไปเสกโดยไม่ถามไม่พูดซึ่งก็น่าแปลกว่าท่านรู้ได้อย่างไรพอเอาไปไห้พระแถวภาคกลางเสกแล้วก็กลับชาวบ้านรู้ว่าได้มีการนำไปปลุกเสกเป็นเหรียญทองคำก็รบเร้าอยากได้บ้างแต่บล็อกได้ทุบไปแล้วก็เลยจัดสร้างหล่อทองคำแทนซึ่งพระที่มาปลุกเสกและพุทธาภิเศก ได้แก่หลวงพ่อนวล ไสหร้า หลวงพ่อชื่น หลวงพ่อสัง หลวงพ่อนวม หลวงพ่อเนียม อาจารย์สูตร อาจารย์หรีด พระสายเขาอ้อ หลวงพ่อคลี้ง พ่อท่านเอื้อม หลวงพ่อพัฒ และเกจิดังๆอีกมากน่าใช้ครับ ราคายังไม่แรง แต่ถ้าเป็นเหรียญทองคำ ๒๙เหรียญที่ว่าคนล่ะเรื่องครับแต่ม่ะรูอยู่ที่ใครมั่ง๕๕

๗.รุ่นโบสถ์น้อยสร้างในโอกาสฉลองวิหารพ่อท่านครูแก้ว โดยมีเกจิที่ปลุกเสกรุ่นปี๓๕มากันครบและได้พระครูจินดามยคุณ(พ่อท่านร่าน) อธิฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวอีกมีเนื้อทองคำ เงิน ทองแดง และเงินทองแดงลงยาน่าใช้ครับ ตอนนี้ผมก้รอรุ่น ๘ อยู่ครับม่ะรู้จะสร้างเมื่อไหร่ตอนนี้ขาดอยู่แครุ่นแรกกับรุ่นสอง ออมีอีกรุ่นนึงเป็นรูปหล่อโบราณครับเรียกกันว่าหล่อท่าควายประวัติการสร้างไม่แน่ชัดแต่ก็มีประสบการณ์เหมือนกัน

๒. หลวงพ่อซัง วัดวัวหลง หรือ พระครูอรรถธรรมรส – เหรียญพ่อท่านซัง รุ่นแรก ๒๔๘๐ วัดวัวหลุง
ประวัติของ หลวงพ่อซัง วัดวัวหลง หรือ พระครูอรรถธรรมรส

พระครูอรรถธรรมรส (ซัง สุวัณโณ) หลวงพ่อซัง นามเดิมชื่อซัง เป็นบุตร คนสุดท้ายของขุนวิน ศักดาวุธ (บุศจันทร์ ศักดาวุธ) มารดาชื่อนางส้ม ศักดาวุธ เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ค่ำ ปีกุนตรงกับวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ บ้านพัง หมู่ที่๒ ต.ควนพัง อ.ร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช หลวงพ่อซัง ท่านมีพี่สาว ๒คน ชื่อนางรอดและนางแก้ว (ถึงแก่กรรมหมดแล้ว) เมื่อท่านอายุได้ ๑๑ปี ได้ไปศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัยในสำนักท่าน อาจารย์นาค เจ้าอาวาส วัดพัง ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๓ปี ท่านย้ายไปศึกษาในสำนักของท่าน อุปัชฌาย์รักษ์ วัดปัง ต.ควรชุม อ.ร่อนพิบูลย์ ท่านเรียนวิชาเลข และคัดลายมือ ขณะที่หลวงพ่อซัง ท่านศึกษาอยู่ท่านเป็นคนฉลาดความจำดี มีความขยันอดทนเป็นเลิศ อุปัชฌาย์รักษ์ เห็นแววและอนาคตจะไปไกลเลย จึงบวชเณรให้เมื่ออายุ ๑๖ ปี หลังจากบวชเณรแล้วท่านก็ได้ศึกษาธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระเพิ่มขึ้น พอเป็นแนวทางปฏิบัติท่านอยู่ต่อมาจนครบปี เผอิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดตรัง เดินทางไปนมัสการพระอุปัชฌาย์รักษ์ พบสามเณรน้อยผู้มีสติปัญญาไหวพริบดี จึงของตัวไปให้รับราชการในตำแหน่งเสมียนตรา อยู่ที่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ท่านรับใช้ประเทศชาติในตำแหน่งเสมียนตรา อยู่ ๓ปี เห็นว่าเป็นหนทางแห่งความทุกข์ยาก หาอะไรแน่นอนไม่ได้ ปราศจากความสุขอันมั่นคง ชีวิตท่านได้รับรสพระธรรม คำพร่ำสอนจาก อุปัชฌาย์รักษ์ ยังฝังลึกอยู่ในใจท่าน

พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง นครศรีธรรมราช

จึงลาออกจากราชการเมื่ออายุ ๒๐ปี แล้วเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนา เตรียมตัวอุปสมบทเมื่ออายุย่างเข้าอายุ ๒๑ปี
พ่อท่านซัง อุปสมบท เมื่อเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ค่ำ วันพุธ พ.ศ. ๒๔๑๔ อุปสมบทที่วัดปัง บวช ณ ที่เดิมที่ท่านได้บวชเณร อุปัชฌาย์รักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านอาจารย์นาค เจ้าอาวาสวัดพัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านอาจารย์ทองดี วัดปัง เป็นพระอนุศาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “สุวัณโณ” เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงพ่อซัง ท่านไปศึกษาอยู่ในสำนัก อาจารย์นาค วัดพัง ศึกษาเพิ่มเติมทางด้านคาถาอาคมอยู่หนึ่งพรรษา พ่อท่านซัง จึงกราบลาอาจารย์นาค ไปอยู่กับท่านอาจารย์โฉม เจ้าอาวาสวัดวัวหลุง เพื่อศึกษาคันถะธุระและอบรมวิปัสสนาธุระ กับอาจารย์ชูอาจารย์สด วัดวัวหลุงสรุปแล้วท่านมีอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิปัสสนา ไสยศาสตร์และพุทธศาสตร์แห่งเดียวถึงสามองค์ ท่านพยายามฝึกฝนสมาธิจิตท่องมนต์คาถา และธรรมะจนสามารถเทศนาสั่งสอนประชาชนให้ประพฤติปฏิบัติเป็นคนดีอยู่ในศีลธรรม

พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง นครศรีธรรมราช

เมื่อหลวงพ่อซัง ท่านมีอายุพรรษาได้ ๑๑พรรษาตำแหน่งสมภาร วัดวัวหลุงว่างลง พ่อท่านซังจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมภารสืบแทนอาจารย์ของท่าน พ.ศ.๒๔๓๘ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรในท้องถิ่น

พ.ศ.๒๔๔๑ พ่อท่านซังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงให้ปกครองวัด ๑๓วัด ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่งไม่ว่าภาระหน้าที่นั้นจะยากลำบากเพียงใด สมัยก่อนไม่มีถนนไม่มีรถวิ่ง ต้องเดินรัดป่าตัดทุ่งนาป่าเขาไปสงเคราะห์ผู้ทุกข์ยาก กาลเวลาสืบต่อมาเมื่อ พระศรีธรรมมุณี (พระรัตนธัชมุณี) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ นครศรีธรรมราช ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฆลนครศรีธรรมราช เห็นว่าพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง เป็นผู้มีความสามารถในการบริหารหมู่คณะสงฆ์ดี ปฏิบัติน่าเลื่อมใส จึงให้ประทานตราตั้งเป็นพระครู เจ้าคณะแขวงเมื่อ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๔๕ ให้เป็นผู้ปกครองวัด ในอำเภอร่อนพิบูลย์ทั่วทุกวัด จนลุถึง พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับพระราชทานสมณศักด์เป็น “พระครูอรรถธรรมรส”

หลวงพ่อซัง

หลวงพ่อซัง บริหารคณะสงฆ์สืบต่อมาจนเจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุด โดยบูรณะถาวรวัตถุต่างๆเช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ โรงเรียน ยังมีสภาพอันเก่าแก่ให้เห็นหลายแห่ง ในอำเภอร่อนพิบูลย์ ประชาชนพากันมาหาสู่ท่าน เพื่อขอพรจากท่าน ให้ท่านลดน้ำมนต์ ขอลูกอมชานหมาก และของที่ท่านแจกให้เป็นของที่ห่วงแหนกันมาก

หลวงพ่อซัง

ครั้ง พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อซัง ชราภาพมากจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้โดยสะดวก จึงโปรดเกล้าให้เป็นกิตติมศักดิ์ พ้นจากตำแหน่งราชการ รวมเวลาที่ท่านได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าคณะแขวงอยู่ ๑๓ ปี เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๗๘ ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคชรามาตั้งแต่ต้นปี ต่อมาโรคได้กำเริมหนัก จนถึงวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ เวลา๑๐.๒๐ น. ท่านมรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี

พระอุปัชฌาย์ปลอด

๓.หลวงพ่อปลอด ติสฺสโร วัดนาเขลียง – เหรียญพระอุปัชฌาย์ปลอด รุ่นแรก ๒๔๘๒ วัดนาเขลียง

อัตโนประวัติ หลวงพ่อปลอด ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๐ ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ณ บ้านเกาะใหญ่ อ.เมือง จ.สงขลา บิดาชื่อ เปรม มารดาชื่อ เอียด (สมัยนั้นยังไม่มีนามสกุลใช้) มีพี่น้องรวมกัน ๓ คน คือ นางหนู หลวงพ่อปลอดและนายผอมหรือพระผอม (บวชอยู่ ณ วัดบ่อท่อ อ.ระโนด จ.สงขลา)

เมื่อยังเยาว์หลวงพ่อปลอดได้เล่าเรียนหนังสือที่บ้านพ่อตาขุน(พ่อเฒ่าบ้าน ในสมัยนั้น) เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ได้ถูกเกณฑ์ทหารไปรบที่เมืองไทรบุรี เจ้าเมืองแขกเป็นกบฏ หลวงพ่อปลอด กลัวจะถูกเกณฑ์ทหารจึงได้หลบขึ้นไปอาศัยกับญาติที่บนภูเขาในท้องที่ ต.เกาะใหญ่ ภายหลังเมื่อต้องการที่จะพ้นความผิด จึงได้ตกลงที่จะบวช ในที่สุดก็ได้บวชเมื่ออายุ ๒๐ ปีนั่นเอง ณ วัดพังตรี มีหลวงพ่อเสน เจ้าอาวาสวัดพังตรีเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแก้ว เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ต.ระวะ อ.ระโนด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้งกับหลวงพ่อแก้วเป็นเวลาถึง ๑๕ พรรษา ซึ่งหลวงพ่อแก้วเป็นพระที่มีความรู้ทางไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ คาถาอาคมต่าง ๆเป็นที่เคารพนับถือของชาว ต.ระวะ ตลอดจนตำบลใกล้เคียงเป็นอันมาก

หลวงพ่อปลอด ติสฺสโร วัดนาเขลียง

หลวงพ่อปลอด จึงได้ศึกษาธรรมะและวิชาทางไสยศาสตร์ ตลอดจนวิชาการต่าง ๆ จากอาจารย์แก้วจนชำนาญ แล้วได้ออกจากวัดแจ้งเมื่ออายุประมาณ ๓๕ ปี เดินทางมายัง อำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช พักอยู่ที่วัดบางทองคำ ซึ่งขณะนั้นมีหลวงพ่อนาคเป็นเจ้าอาวาส เพื่อต้องการนำเรือไปแข่งกับเรือของวัดเนินหนองหงษ์ จ.สงขลา ได้นำเรือไป ๑ ลำ แต่ก็แข่งไม่ชนะ เลยเดินทาง กลับไปยัง อ.ปากพนัง อีก ภายหลังต้องการไปหาเรือที่ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

หลวงพ่อปลอดจึงได้เดินทางไปยังวัดกะเบียดกับพวกอีก ๕ คน แต่วัดกะเบียดไม่มีเรือเลยได้ไปพบกับหลวงพ่อบัว เจ้าอาวาสวัดนาเขลียง ได้เรือชื่อพยอมไป ๑ ลำ พาออกเดินทางไปตามคลองแม่น้ำตาปี ออกบ้านดอน จ.สุราษฏร์ธานี เลียบฝั่งไปถึงสงขลา เอาเรือไปแข่งกับวัดเนินหนองหงส์แต่ก็ไม่ชนะอีก แล้วต่อมาภายหลังได้กลับไปอยู่วัดนาเขลียงอีกครั้งหนึ่ง ได้รู้จักกับ หมื่นณรงค์ จงจิตร (หรือขุนพิปูนเปรมประดิษฐ์) กำนันตำบลพิปูนและพ่อท่านแดง (พระครูรังสรรค์ อธิมุตต์)เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เมื่ออายุประมาณ ๓๗ ปี
ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๑ หลวงพ่อบัว (เจ้าอาวาสในขณะนั้น)ได้มรณภาพลง ชาวบ้านบ้านนาเขลียงจึงได้นิมนต์หลวงพ่อปลอดให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนาเขลียง นับแต่นั้นมา

เหรียญพระอุปัชฌาย์ปลอด รุ่นแรก ๒๔๘๒ วัดนาเขลียง
– เหรียญพระอุปัชฌาย์ปลอด รุ่นแรก ๒๔๘๒ วัดนาเขลียง
หลวงพ่อปลอด ติสฺสโร มรณภาพด้วยโรคลมปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ รวมอายุได้ ๗๓ ปี

หลวงพ่อเอียดดำ วัดในเขียว

๔. หลวงพ่อเอียดดำ วัดในเขียว

เหรียญอาจารย์เอียดดำ นับเป็นเหรียญยอดนิยมหนึ่งในเหรียญเบญจภาคี ของเมืองนคร เป็นที่ต้องการของใครหลายๆคน พุทธคุณในด้านแคล้วคลาดคงกระพันสุดยอด

ประวัติ หลวงพ่อเอียดดำ วัดในเขียว หรือ วัดศาลาไพ
พระเกจิอาจารย์ ชื่อดัง ตามประวัติ หลวงพ่อเอียดดำ บวชเณรตั้งแต่อายุ ๑๒ ปีได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดยวนแหล อุปสมบทเป็นพระที่วัดวังตะวันตก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โดยมี ท่านพระครูกาชาด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า อริยวังโส เมื่ออาจารย์เอียดอุปสมบทได้ซักระยะหนึ่ง ท่านก็ออกธุดงค์ ไปตามป่าเขาต่างๆ ค่ำที่ไหนปักกลดที่นั่น ผจญสัตว์ป่าและภยันตรายต่างๆ อาจารย์เอียดดำท่านธุดงค์หลายปีได้พบเจอแลกเปลี่ยนศึกษาวิชาอาคมกับพระอาจารย์ต่างๆมามาก ท่านธุดงค์ไปจนถึงเขตประเทศพม่า และเมื่อท่านเดินทางกลับสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้จำพรรษาที่วัดศาลาไพ

หลวงพ่อเอียดดำ วัดในเขียว

อาจารย์เอียดดำได้นำวิชาความรู้ด้านไสยเวทที่เชี่ยวชาญชำนาญการยิ่งสงเคราะห์ญาติโยมจนชื่อเสียงกิติศัพท์โด่งดังไปกว้างไกล ดังนั้นในราวปี ๒๔๘๒ ชาวบ้านจึงขอให้ท่านสร้างวัตถุมงคลขึ้นบ้าง ซึ่งท่านก็ได้สร้างเสื้อยันต์ผ้าประเจียดตะกรุดและเครื่องรางของขลังต่างๆ อีกทั้งมอบหมายให้ นายไข่ คะงา ไปจัดทำเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ซึ่งสร้างจำนวนน้อยมากวัตถุมงคลทั้งหมด พ่อท่านเอียดดำประกอบพิธีปลุกเสก เดี่ยวตามลำพังซึ่งในห้วงนั้นคุณตาขุนพันธ์ก็ได้ไปอยู่ช่วยเหลือตามกำลัง เมื่อเสร็จพิธีกรรม ประจุพุทธาคมแล้ว พ่อท่านเอียดดำก็ได้แจกวัตถุมงคลให้แก่ผู้เลื่อมใสศรัทธา ซึ่งก็ได้ปรากฏพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือ ความเก่งกล้าในวิชาคาถาอาคมของพ่อท่านเอียดดำเป็นที่กล่าวขานกันไปทั่ว นครศรีธรรมราช แม้กระทั่งพระอาจารย์เขียวก็ยังดั้นด้นมาขอศึกษาวิชาอาคม ซึ่งในยุคถัดมาพ่อท่านเขียว วัดหรงบน ก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศครั้นในปี ๒๔๘๔ ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพากองทัพทหารญี่ปุ่นได้ยกกำลังขึ้นที่บ้านท่าแพ นครศรีธรรมราช ทหารกล้าฝ่ายไทยก็ได้ยกกำลังเข้าต่อต้านและในห้วงระยะนี้เองที่วัดศาลาไพจะเนืองแน่นไปด้วยเหล่าทหาร ซึ่งมาขอของดีคุ้มภัยพ่อท่านเอียดดำก็ได้มอบให้ทุกรายเป็นผ้ายันต์บ้างตะกรุดบ้าง ปรากฏว่าบรรดาทหารกล้าที่มีของดีอาจารย์เอียดดำติดกายอยู่รอดปลอดภัย บางรายโดนทหารญี่ปุ่นยิงจนล้มคะมำ แต่ก็ลุกขึ้นสู้ต่อเพราะอำนาจกระสุนไม่สามารถต้านอำนาจพุทธคุณได้ ดังนั้นประโยคที่ว่ามีของดี อาจารย์เอียดดำ แมลงวันไม่ได้กินเลือดก็ดังกระหึ่มไปทั่วแดนใต้

หลวงพ่อเอียดดำ วัดในเขียว

ในยุคนั้นละแวกวัดศาลาไพนับเป็นถิ่นคนดุจนเรียกกันเป็นดงเสือแดนสิงห์ แต่หลวงพ่อเอียดดำก็ได้ใช้เมตตาธรรมอบรมสอนสั่งจนทุกคนประพฤติตนเป็นคนดีถ้วนทั่ว นอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทแล้ว หลวงพ่อเอียดดำยังเป็นพระนักพัฒนาจึงได้ทำนุบำรุงวัดศาลาไพจนรุ่งเรืองและยังได้ก่อสร้างโรงเรียนวัดศาลาไพในปี ๒๔๗๕ หลังจากที่ได้ทำนุบำรุงวัดศาลาไพและก่อสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จ หลวงพ่อเอียดดำจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์อีกครั้งจนได้พบว่าที่วัดในเขียวซึ่งขณะนั้นอยู่ในสภาพทรุดโทรม จึงได้อยู่จำพรรษาทำนุบำรุงวัดในเขียวอีกแห่ง ในระหว่างนั้นท่านก็ได้ไปๆ มาๆ ระหว่างวัดศาลาไพและวัดในเขียวซึ่งเดินทางโดยเท้าเปล่า จนกระทั่งในปี ๒๔๘๖ เมื่อท่านพิจารณาเห็นว่าทางวัดศาลาไพได้เจริญรุ่งเรืองสมดังเจตนาแล้ว แต่ทางวัดในเขียวยังต้องพัฒนาอีกมาก จึงตัดสินใจย้ายมาอยู่วัดในเขียวเป็นการถาวรจนกระทั่งได้ละสังขารที่วัดในเขียวในปี ๒๔๙๕ และทางวัดได้เก็บรักษาสังขารของอาจารย์เอียดดำ ท่านใว้จนถึงปี ๒๔๙๙ จึงได้ทำการฌาปนกิจ

“หลวงพ่อเอียดดำ” ท่านเป็นที่นับถือของศิษยานุศิษย์และบุคคลทั่วไป เอกลักษณ์และคุณวิเศษที่เลื่องลือ คือการสรงน้ำ ๗ วัน อาบน้ำ ๑ ครั้ง โดยไม่มีใครเห็นและไม่มีกลิ่นตัว ท่านใช้พระคาถาปราบช้าง ขณะที่ช้างกำลังตกมันได้ ท่านใช้คาถาปราบสัตว์ที่ดุร้าย เช่น เสือ หมี งู และท่านสามารถห้ามฝนตกได้ ทุกครั้งที่แถวนั้นมีงานชาวบ้านมักจะนิยมไปบนบานบอกกล่าวกับรูปหล่อหลวงพ่อเอียดดำ ซึ่งแต่ละคนได้ประจักษ์เรื่องประสบการณ์ด้านค้าขายร่ำรวย โชคลาภและแคล้วคลาดปลอดภัยมากมาย

หลวงพ่อเอียดดำ
วัดอ้ายเขียว-วัดในเขียว (คงคาวง) ตั้งอยู่หมู่ ๓ ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๐ ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ เหตุที่ชื่อว่าวัด คงคาวง เพราะอยู่ใกล้โขงเขาจดคลองในเขียวหรือ อ้ายเขียว ซึ่งไหลอ้อมเป็นวงรอบบริเวณที่ตั้งของวัด หมายถึง มีลำคลองไหลผ่าน ล้อมรอบเป็นวง จึงเรียกว่า วัดคงคาวง และ มีลำธารไหลผ่านตอนกลาง รวมถึงมีเหวลึกแบ่งเขตวัดเป็น ๒ ส่วน ภายในพระอุโบสถวัดคงคาวง (อ้ายเขียว) ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พระพุทธสิหิงค์

พระเครื่องอาจารย์เอียดดำ และเครื่องรางที่ท่านหลวงพ่อเอียดดำสร้างเป็นที่ต้องการของทุกคน พุทธคุณในด้านแคล้วคลาดคงกระพันสุดยอด อีกทั้งยังเป็นอาจารย์ของ ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช ,พ่อท่านเขียว วัดหรงบน และพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่า

พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ พระอรหันต์แดนใต้ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ พระอรหันต์แดนใต้

๕. พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เหรียญพ่อท่านคล้าย รุ่นแรก วัดสวนขัน

ไม่มีใครไม่มีมาร แต่มารมันเกิดแล้วมันก็ดับ…
~ ธรรมสัจจะแห่งพ่อท่านคล้าย

พ่อท่านคล้าย

ไม่มีใครไม่มีมาร แต่มารมันเกิดแล้วมันก็ดับ ไม่มีมารใดถาวร ตายหมด มีมารก็ตาย ไม่มีมารก็ตาย แต่ว่ามารมันไม่ได้ขึ้นบนที่สูง
เวลาตาย เวลาเราจะทำดีมารมาขวางเวลาเราตายไป มันไม่ได้ขึ้นสูงเหมือนเรา มันเป็นมารกรรมเก่า มารภพภูมิ มันอยู่ที่จะตามเราทันตอนไหน เป็นมนุษย์ต้องหูหนัก อย่าหูเบา ถ้าหูเบาเราก็เป็นมารตามมัน พระพุทธเจ้ายังมีมาร แล้วสูเป็นใคร ไม่มีใครที่ไม่มีมาร และไม่มีใครไม่พบทุกข์ หลักธรรมดา ที่จริงหลักธรรมะคือหลักธรรมดา แต่ว่าเราเข้าใจธรรมดาไหม ถ้าเราเข้าใจธรรมดา แสดงว่าเข้าใจธรรมะก็ธรรมะมันเกิดจากสิ่งที่มันเกิดอยู่แล้ว

เหรียญพ่อท่านคล้าย รุ่นแรก วัดสวนขัน

ประวัติ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์
ช่วงเวลาแห่งฆราวาส
พ่อท่านคล้ายหรือท่านพระครูพิศิษฐ์อรรถการนามเดิม “คล้าย สีนิล” เกิดเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๑๙ ณ บ้านโคกกระทือ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช (บางตำราเขียนไว้ว่า พ่อท่านเกิดวันอังคาร ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๑๗ ซึ่งถ้านับตามปีที่พ่อท่านคล้ายเกิดจนกระทั่งมรณภาพก็จะครบ ๙๖ ปีพอดี หย่อนอยู่ไม่กี่เดือน)

พ่อท่านคล้ายเป็นบุตรของนายอินทร์ กับนางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อเพ็ง สีนิล จนกระทั่งท่านอายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบ พอจะเรียนอักษรสมัยตามประเพณีในสมัยนั้น ท่านก็ได้เริ่มเรียนหนังสือโดยบิดาของท่านเป็นครูสอนเองที่บ้าน ต่อมาเมื่ออายุประมาณ ๑๓ ขวบ บิดาของท่านก็ได้นำไปฝากให้เรียนวิชาเลขในสำนักของนายขำ ไม่ทราบนามสกุล อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งปอน (จันดี) บ้านโคกกระทือ ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ พ่อท่านคล้ายมีอายุ ๑๔ ย่าง ๑๕ ปี ก็ได้ไปอาศัยอยู่กับพี่สาวและพี่เขย ที่ตำบลมะม่วงเอน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในช่วงเวลานั้นเองก็เกิดเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของท่าน โดยมีผู้เล่าสืบๆกันมาว่า วันหนึ่งท่านได้ไปกับพี่เขย คือนายซ้าย เพ็ชรฤทธิ์ เพื่อโค่นไร่ (ถางป่าทำไร่) โดยพี่เขยโค่นไม้บุกหยวกซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง พ่อท่านคล้ายนั่งอยู่บนขอนไม้ที่โค่นลงแล้ว ถูกไม้ที่พี่เขยกำลังโค่นหักลงมาถูกที่หลังเท้าข้างซ้ายของท่านแตกละเอียด มีอาการเจ็บปวดมาก แม้จะใช้ยาพอกก็ไม่หาย โดยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายใช้มีดที่ลับคมดีแล้วตัดปลายเท้าออกเหลือแค่ข้อเท้า โดยมือของท่านเอง ใช้ยาพอกไม่นานก็หาย เมื่อแผลหายเป็นปกติแล้ว

พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ

พ่อท่านคล้ายได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดวังม่วง ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง โดยมีอาจารย์ทอง ปทุมสุวณฺโน เจ้าอาวาสวัดวังม่วง เป็นอาจารย์ฝึกสอนให้เรียนหนังสือไทย หนังสือขอมและวิชาเลข จนมีความชำนาญขึ้นกว่าเดิมแต่ไม่ปรากฏว่าใครเป็นพระอุปัชฌาย์ให้บรรพชา พ่อท่านคล้ายบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ได้ ๒ พรรษาแล้วได้ลาสิกขาออกไปอยู่บ้านช่วยบิดามารดาประกอบกิจการงานต่อไป เมื่อครั้งที่พ่อท่านคล้ายยังเป็นฆราวาสอยู่ก็ได้ไปฝากตัวอยู่กับนายทองสาก อาจารย์หนังตะลุงผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น พ่อท่านหัดหนังตะลุงอยู่หลายปีจนเป็นที่นิยมของคนหมู่มาก พ่อท่านคล้ายเป็นผู้มีเสียงไพเราะ มีรูปสวยแม้เท้าจะด้วน ความติดพันแห่งเพศตรงกันข้ามก็มีโดยมิต้องสงสัย ทราบว่ามีหลายคนเสียด้วย ซึ่งโยมบิดามารดาของท่านขอร้องแกมบังคับให้ท่านบวชและท่านก็ตกลงใจตามคำขอร้อง

ช่วงเวลาแห่งการเข้าสู่ร่มกาสวะพักตร์
ในวันศุกร์ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา พ่อท่านคล้ายได้อุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา (ศาลาน้ำ) วัดวังม่วง หมู่ที่ ๒ ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีท่านพระครูกราย คงฺคสุวฺณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เจ้าคณะแขวงฉวาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาในวันอุปสมบทว่า “จนฺทสุวณฺโณ”

พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์

หลังจากที่พ่อท่านคล้ายอุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจนแตกฉาน จนในปีพุทธศักราช ๒๔๔๘ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขัน พ่อท่านคล้ายได้รับความเคารพศรัทธาในปฏิปทา จริยวัตรปาฏิหาริย์ของทุกชนชั้น ตั้งแต่สามัญจนถึงพระมหากษัตริย์และเป็นมิ่งขวัญของศิษยานุศิษย์และศาสนิกชนทั่วไป พ่อท่านคล้ายเป็นพระอรหันต์ยุคกึ่งพุทธกาลแห่งแดนใต้ มีสัจจะวาจาศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ปากพระร่วง เมื่อได้กล่าวสิ่งใดออกไปแล้วจะเป็นไปตามนั้นทุกประการซึ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับท่านล้วนศักดิ์สิทธิ์และเกิดปาฏิหาริย์ให้ผู้คนได้ประจักษ์มาแล้วทั้งสิ้น
พ่อท่านคล้ายเป็นนักบำเพ็ญประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ผู้หนึ่ง เหมือนว่าจะไม่มีถนนสายไหน โรงเรียนหลังไหน สะพานใดและวัดใด ในเขตอำเภอฉวาง ตลอดถึงต่างอำเภอ ต่างจังหวัดและต่างประเทศ ที่พ่อท่านคล้ายจะไม่จาริกไปช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ให้อย่างทั่วถึงแม้จนกระทั่งวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิต งานที่ท่านบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ก็ยังมีอยู่อีกมากและรอการสานต่อจากพุทธศาสนิกชนที่เคารพและศรัทธาในตัวท่านเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของครูบาอาจารย์ผู้มี “วาจาสิทธิ์” สืบไป

บุญฤทธิ์อภินิหาร พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ " ห้ามฝน "

อวสานแห่งชีวิต
พ่อท่านคล้ายได้บำเพ็ญประโยชน์มาเป็นเวลานาน ครั้นถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๓ พ่อท่านคล้ายเกิดอาพาธกะทันหัน จึงได้นำตัวของท่านไปทำการรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า หมอได้พยายามรักษาจนเต็มความสามารถเป็นเวลา ๑๔ วัน อาการมีแต่โทรมกับทรุด ครั้นถึงวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ เวลา ๒๓.๐๕ นาฬิกา พ่อท่านคล้ายได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบ พร้อมหน้าหมอและศิษยานุศิษย์ที่อยู่พร้อมหน้ากัน ณ ที่นั้น ศิริชนมายุพ่อท่านคล้ายได้ ๘ รอบ ซึ่งหย่อนอยู่ไม่กี่พรรษาก็จะครบ ๙๖ ปีบริบูรณ์ พ่อท่านคล้ายได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมา ๗๔ พรรษา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขันได้ ๖๕ ปี

 พ่อท่านคล้าย

อนึ่งในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ อันครบกำหนดสัตมวาร (๗ วัน) นับแต่วันมรณภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.ต.ต. ชุมพล โลหะชาละ ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางนำผ้าไตรหลวงจำนวน ๒๕ ไตร มาบำเพ็ญกุศลสัตมวารอุทิศถวายพ่อท่านคล้ายเป็นการบำเพ็ญราชานุเคราะห์ส่วนพระองค์สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช) ทรงประทานพระโอวาทแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของพ่อท่านคล้าย มีใจความตอนหนึ่งว่า “ตั้งแต่สร้างกรุงศรีอยุธยามาจนถึงบัดนี้ ยังไม่เคยมีสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ หรือพระราชาคณะองค์ใดได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าไตรถึง ๒๕ ไตรเลย เคยมีสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งได้รับ ๒๔ ไตรแต่พ่อท่านคล้ายนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษพระราชทานถึง ๒๕ ไตร”

ปัจจุบันนี้ศพพ่อท่านคล้ายได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์น้อย ยังไม่ได้มีผู้ใดริเริ่มการขอพระราชทานเพลิงศพ
ปัจจุบันนี้ยังคงมีประชาชนหลั่งไหลมาสักการะศพของพ่อท่านคล้ายอยู่ไม่ได้ขาด
ขอบคุณ – nmonthon / palungjit.org , เจ้าของภาพ

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร