อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีประวัติความเป็นมาสืบทอดมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี แต่มีหลักฐานแน่ชัดในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช จุลศักราช ๑๑๗๓ ว่า ท้องที่อำเภอนี้เป็นหัวเมืองฝ่ายขวา ขึ้นอยู่ในเขตปกครองท้องที่เมืองนครศรีธรรมราช ชื่อ เมืองพิเชียร
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๖ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ มีการรวมหัวเมืองฝ่ายขวาในลุ่มน้ำปากพนัง ๔ หัวเมือง เข้าด้วยกัน คือ เมืองพิเชียร เมืองพนัง เมืองเบี้ยซัด (ที่ตั้งอำเภอปากพนังในปัจจุบัน) และที่ตรงตำบลคลองกระบือและตำบลหูล่อง ตั้งเป็นอำเภอเรียกว่า “อำเภอเบี้ยซัด” ทำให้เมืองพิเชียรกลายเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเบี้ยซัด
สำหรับที่ตั้งของเมืองพิเชียร สันนิษฐานว่า เดิมตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปากพนัง ที่บ้านหม่อมราม หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านกลาง ณ ปัจจุบัน และเล่ากันว่า ที่ตั้งบ้านพิเชียร มีต้นตะเคียนใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกกันว่า “บ้านพิเชียรเคียนใหญ่” เรียกสั้น ๆ เป็นภาษาปักษ์ใต้ว่า บ้านเชียรใหญ่ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้ง กิ่งอำเภอเชียรใหญ่ และยกฐานะเป็น อำเภอเชียรใหญ่ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐
อําเภอเชียรใหญ่ : เมืองใหญ่ลุ่มน้ํา เกษตรกรรมก้าวหน้า พุทธศาสนาเลิศล้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง ลือเลื่องศิลปิน เมืองศิลปาชีพ
ศาลหลวงต้นไทร
เป็นศาลหลวงที่สร้างขึ้นจากพระ ราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑๑ ตําบลการะเกด อําเภอเชียรใหญ่ นายจํานูญ พลายด้วง ราษฎร ตําบลแม่เจ้าอยู่หัวได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ ถึงต้นไทรขนาดใหญ่ท่ีขึ้นขวางแนวขุดคลอง ชะอวด-แพรกเมือง ในโครงการพัฒนาพื้นที่ ลุ่มน้ําปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ที่ตําบลการะเกด อําเภอ เชียรใหญ่ ว่าการดําเนินงานต้องหยุดชะงักเน่ืองจากเครื่องยนต์ของเรือขุด และรถขุดจะดับทุกคร้ังที่เข้าไปใกล้ต้นไทรต้นนี้ และมีคนงานล้มป่วย เชื่อ กันว่าเกิดจากมีต้นไทรใหญ่น้อย ซึ่งขึ้นเด่นเป็นสง่าและบริเวณใต้ต้นไทร ขุดพบซากกระดูกคน และสัตว์ต่างๆ รวมทั้งเปลือกหอยทะเล ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งให้ตั้งศาลหลวง และประกอบ พิธีบวงสรวงเมื่อวันศุกร์ท่ี ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๗
ศาลหลวงทําด้วยไม้สักท้ังหลัง บริเวณโดยรอบปูด้วยหินอ่อนและมี การจัดสภาพภูมิทัศที่สวยงาม รวมทั้งมีต้นไทรจํานวนมากข้ึนอยู่ด้านหลัง และตั้งอยู่ริมแม่น้ําชะอวด-แพรกเมือง ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงามมาก
ในช่วงวันหยุดเทศกาล และวันหยุดนักขัตฤกษ์ได้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาว ไทยและชาวต่างประทศโดยเฉพาะชาวสิงคโปร์และมาเลเซียเดินมากราบ ไหว้และเยี่ยมชมศาลหลวง-ต้นไทรศักดิ์สิทธิ์ ด้วยความเชื่อว่า ศาลหลวง- ต้นไทร มีความศักดิ์สิทธิ์ ให้โชคลาภ เป็นสิริมงคล และมีความปลอดภัย
การเดินทาง โดยทางรถยนต์ จากนครศรีธรรมราช ใช้ทางหลวง หมายเลข ๔๐๘ (นครศรีธรรมราช-สงขลา) ถึงสี่แยกบ่อล้อตรงไป ถึงทาง แยกหน้าสถานีตํารวจภูธรการะเกด เลี้ยวขวาไปใช้ถนนลาดยางและเลี้ยว ซ้ายเข้าไปยังศาลหลวง-ต้นไทร บ้านท้ายทะเล ตําบลการะเกด อําเภอ เชียรใหญ่
วัดเขาแก้ววิเชียร
ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆ กลางทุ่งนา ในหมู่ที่ ๙ ตําบลเชียรใหญ่ อําเภอเชียรใหญ่ เดิมวัดนี้เรียกว่า วัดเขาวิเชียร ตามหลักฐานจารึกที่ระฆัง ซึ่งปัจจุบันระฆังใบนี้เก็บรักษาไว้ที่วัดพระ มหาธาตุ อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช วัดเขาแก้ววิเชียรเป็นวัดที่เก่าแก่ ก่อสร้างมาไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ปี จากการพิสูจน์อิฐฐานเจดีย์วัดเขาแก้ว วิเชียร โดยกรมศิลปากร นอกจากนี้ที่วัดมีพระปัญญาเป็นพุทธรูปเก่าแก่ และเจดีย์เก่าแก่ ชื่อเจดีย์พระติลิมุ้ย ชาวบ้านมักจะไปกราบไหว้ขอให้บุตร หลานสอบเข้าทํางาน มักจะได้ตามที่ขอ มีบ่อน้ํามากถึง ๑๑ บ่อ มีชื่อ เรียกต่างๆ กัน และเป็นสถานที่ร่มรื่น พักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ ศึกษาพันธุ์ไม้หลายชนิด
นอกจากนี้ที่วัดเขาแก้ววิเชียร มีลิงหลายร้อยตัว เป็นลิงฝูง ใหญ่ซึ่งอาศัยร่วมกันในชุมชนบ้านเขาแก้ววิเชียร
การเดินทาง จากนครศรีธรรมราชใช้ทางหลวง หมายเลข ๔๐๘ (นครศรีธรรมราช-สงขลา) เลี้ยวซ้ายบริเวณสามแยกบ้านสระไคร (ประมาณ กม.ที่ ๒๕) ใช้ถนนลาดยางตลอดเส้นทางถึงวัดเขาแก้ววิเชียร ระยะทาง ๘ กิโลเมตร
ศาลเจ้าทวดปากเชียร
ตั้งอยู่ในบริเวณที่ว่าการอําเภอเชียรใหญ่ ด้านทิศตะวันออก ชาว เชียรใหญ่ มีความเชื่อ และศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของทวดปากเชียร มักจะขอให้ทวดปากเชียรช่วยดลบันดาลให้ประสบผลสําเร็จในสิ่งที่หวัง ตามความเชื่อของแต่ละคน และเมื่อประสบผลสําเร็จจะนําเครื่องเซ่นไหว้ ต่างๆ เช่น ธูป ๑๒ ดอก เทียน เหล้า หัวหมู ไก่ หรือหมูย่าง และจุด ประทัด มาทําพิธีเซ่นไหว้เป็นประจํา และจะมีพิธีไหว้ทวดปากเชียรกินเจ ปีละหนึ่งครั้งในช่วงเทศกาลกินเจเพื่อเป็นสิริมงคลของชาวเชียรใหญ่
วัดแม่เจ้าอยู่หัว
เป็นวัดเก่าแก่ริมคลองฆ้อง หมู่ที่ ๓ ตําบลแม่เจ้าอยู่หัว อําเภอ เชียรใหญ่ ริมทางหลวงหมายเลข ๔๐๘ (นครศรีฯ-สงขลา) ภายในวัดมี ป้ันแม่เจ้าอยู่หัว (พระนางเลือดขาว) ซึ่งเป็นพระสนมเอกของพระเจ้า ศรีธรรมโศกราช ประดิษฐานอยู่ ประชาชนมีความเช่ือและศรัทธาในบารมี ของแม่เจ้าอยู่หัว ต่างไปกราบไหว้ ขอให้มีโชคลาภ พ้นทุกข์ภัยต่างๆ
การเดินทาง จากนครศรีธรรมราช ใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๐๘ (นครศรีฯ-สงขลา) ถึงส่ีแยกบ่อล้อ ตรงไปประมาณ ๑ กิโลเมตร
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง
ศูนย์ศิลปาชีพแห่งนี้ จัดตั้งโดยพระ ราชดําริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินีนาถ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ เพื่อทรงช่วย เหลือประชาชนให้มีรายได้จากทอผ้าและ จักสานกระจูดเป็นผลิตภัณฑ์ รูปแบบ ต่างๆ สวยงามมาก สามารถซื้อเป็น ของที่ระลึก ของฝาก ของขวัญ เน่ือง ในโอกาสต่างๆ เป็นที่ประทับใจทั้งผู้ให้ และผู้รับได้
การเดินทาง จากนครศรีธรรมราช ใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๐๘ (นครศรีฯ-สงขลา) ถึงสี่แยกบ่อล้อ เลี้ยวขวาไปใช้ทางหลวงบ่อล้อ-ชะอวด ประมาณ ๑.๕ กม. เลี้ยวซ้ายเข้าศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง ตําบลแม่ เจ้าอยู่หัว อําเภอเชียรใหญ่
จุดชมวิวบนเขาพระบาท
วัดพระพุทธบาท เป็นวัดที่มีความเก่าแก่กว่า ๗๐๐ ปี มี รอยพระพุทธบาทอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะของ ประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงมานานแล้ว ในอดีต พบไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้หายได้ ประชาชนในหลาย พื้นที่เดินทางเข้ามารับการรักษาจํานวนมาก และในบริเวณวัดมีจุดชมวิว
ทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถชมพระอาทิตย์ตกในยามเย็น และชม พระจันทร์ขึ้นได้ซึ่งมีบรรยากาศที่งดงามมาก
การเดินทางโดยรถยนต์ จากนครศรีธรรมราชใช้ทางหลวงหมาย ๔๐๘ (นครศรีฯ-สงขลา) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายวัดแดง-บางปรง ไปประมาณ ๑.๕ กม. แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่วัดพระพุทธบาท
งานแข่งเรือเพรียวชิงถ้วยพระราชทาน
แม่น้ําปากพนังซ่ึงอยู่ในเขตอําเภอเชียรใหญ่ ชาวบ้านได้จัดการแข่ง ขันเรือเพรียวพายจนเกิดงานประเพณีแข่งเรือเพรียว สืบทอดถึงปัจจุบัน โดยมีเรือเพรียว ต้ังแต่ ๑๓ ฝีพาย ถึง ๑๖ ฝีพาย ซึ่ง องค์การบริหารส่วน ตําบลทุกแห่งในอําเภอเชียรใหญ่ เทศบาลตําบลเชียรใหญ่และองค์การ บริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้การสนับสนุน และกราบบังคมทูล ขอรับพระราชทานถ้วยรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ใน ปัจจุบันเป็นงานประเพณีที่ย่ิงใหญ่ กําหนดจัดงานแข่งขันขึ้นในวันท่ี ๓๑ ธันวาคม ถึง ๑ มกราคม ของทุกปี ณ บริเวณริมแม่น้ําปากพนัง หน้าที่ว่าการอําเภอเชียรใหญ่
ตลาดน้ำเชียรใหญ่
ทุกวันเสาร์ ๑๔.๐๐น. เป็นต้นไป เจอกัน ตลาดริมน้ำเชียรใหญ่ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ริมแม่น้ำปากพนัง หน้าที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่ พักผ่อนกับบรรยากาศธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำ ชิมอาหารพื้นบ้านรสชาดอร่อย ร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีชีวิตชุมชนกับการแต่งกายย้อนยุคของแม่ค้าและนักท่องเที่ยว
การเดินทาง : ทางหลวงหมายเลข ๔๐๘ โดยรถตู้โดยสาร,รถสองแถวสายเชียรใหญ่-นครศรีฯ รถสองแถวสายเชียรใหญ่ปากพนัง, เชียรใหญ่-กระบี่