ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พ่อท่านคล้ายจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน “ขอให้เป็นสุข เป็นสุข” ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย
คนที่ไปนมัสการ”พ่อท่านคล้าย”หวังที่จะได้วัตถุมงคล พระเครื่อง บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด
“ชานหมากพ่อท่านคล้าย” นี่คือวัตถุมงคลของพ่อท่านคล้ายที่คนเฒ่าคนแก่ในอดีตต่างเสาะหามาติดตัว เพื่อความเป็นสิริมงคล คุ้มครองตัวและบ้านเรือน เพื่อกันคุณไสย และถือเป็นตัวแทนของพ่อท่านคล้ายที่ตนเคารพนับถืออย่างสูง ว่ากันว่าต่างหวงแหนมากกว่าพระเครื่องเสียอีก เอาเงินมาแลกบางคนยังไม่ยอมแลก
บางท่านต้องไปนั่งรอเป็นวันๆ เพื่อที่จะรอให้พ่อท่านคล้ายได้ฉันหมาก เพื่อหวังขอชานหมากที่ออกจากปากของพ่อท่าน สมัยนั้นเขาเล่ากันว่า กระโถนบ้วนน้ำหมากของพ่อท่านคล้าย แทบจะไม่เปื้อนน้ำหมากเลย เพราะญาติโยมต่างมาขอก่อนที่พ่อท่านจะบ้วนหมากลงกระโถน
พ่อท่านคล้ายพ่อท่านคล้าย ชานหมากพ่อท่านคล้าย จะแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด ด้วยกันคือ
๑. ชานหมาก ที่พ่อท่านคล้าย เคี้ยวแล้วคาย จะมีลักษณะเป็นชานหมากจริง ๆ โดยจะมีส่วนผสมของปูนกินหมาก เนื้อหมาก และอาจมียาเส้นผสมอยู่ด้วย ชานหมากแบบนี้ เมื่อกาลเวลาผ่านไป จะจับตัว มีลักษณะแข็ง แห้ง และอาจจะกลายเป็นหินไปเลยครับ วัตถุมงคลชิ้นนี้ ได้คายออกจากปากพ่อท่าน ใครได้รับกับมือ ต่างหวงแหนกันสุดๆ
๒. ลูกอมชานหมากผสมปรอท เมื่อญาติโยมต้องการบูชาชานหมากของพ่อท่านเป็นจำนวนมากขึ้น และพ่อท่านไม่สามารถนั่งเคี้ยวหมาก แล้วคายได้ทันตามความต้องการของชาวบ้าน พ่อท่านจึงให้เด็กวัด ไปซื้อปรอทในตลาดจันดี ใส่ถุงมา ช่วงแรกๆนั้นพ่อท่านทำเอง โดยตำว่านชานหมาก แล้วเทผงปรอท ลงในมือ แล้วบด คลึงให้เป็นลูกกลมๆ แล้วตากแดด ปลุกเสก แล้วแจกจ่าย ต่อมาความต้องการมีมาก โดยเฉพาะในเวลามีงานบุญ ชาวบ้านนับพัน ต่างแห่มาขอลูกอมชานหมาก จึงไม่พอต่อความต้องการ พ่อท่านคล้าย จึงให้ลูกศิษย์ ตำว่านชานหมาก ผสมกับผงปรอท รวมทั้งเส้นเกศาของหลวงพ่อ คลึงเป็นลูกกลม ๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วเข้าพิธีปลุกเสก ก่อนแจกจ่าย นับว่าเป็นวัตถุมงคล สายเครื่องราง ของพ่อท่านคล้าย ที่เสาะแสวงหากันมานาน
๓. ลูกอมชานหมากแบบธรรมดา ส่วนผสมจะมีเนื้อว่านชานหมาก ผสมกับว่าน ๑๐๘ เนื้อผิวลูกอมจะมีลักษณะคล้ำ ดำอมแดง แต่ไม่ได้ผสมปรอท โดยจะมีลักษณะเล็กกว่าลูกอมผสมปรอท ความนิยม ไม่แตกต่างกับเนื้อผสมปรอท เนื่องจาก เนื้อว่านนี้ ต่อมาได้เอาสูตรผสม ไปจัดทำเป็นพระรุ่น สข.๑ และพระชานหมากรุ่นต่าง ๆ ของพ่อท่านคล้ายนั่นเอง
ชานหมาก หากนึกถึงลูกอมชานหมาก ในบรรดาพระเกจิที่มีชื่อเสียงด้านนี้ ผ่อมหนีไม่พ้น ชานหมากของหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน ผู้เป็นอริยสงฆ์แห่งเมืองนครศรีฯ ประสบการณ์วัตถุมงคลของท่านเป็นที่เล่าลือกันมากนาน ว่ามากด้วยปาฏิหาริย์อย่างเข้มขลัง ไม่ว่าจะเป็นด้านเมตตา มหาเสน่ห์ เจรจาค้าขาย พ่อค้าแม่ค้า ต่างชอบใจ ค้าขายดีนัก ทั้งพวกนายหน้า ค้าประกัน ก็มีประสบการณ์กันมากมาย ยังแถมแคล้วคลาด ป้องกันภัย ไสยเวท วิชามนต์ดำ ภุติผีปีศาจ อาถรรพ์ เสริมโชคลาภ บารมี ก็ไม่เป็นรองใครๆ พุทธคุณครอบจักรวาล
คาถาแคล้วคลาด : พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน
พุทธังแคล้วคลาด พระพุทธเจ้าย่างบาท อิติปิ โส ภะคะวา
ธรรมมังแคล้วคลาด พระพุทธเจ้าย่างบาท อิติปิ โส ภะคะวา
สังฆังแคล้วคลาด พระพุทธเจ้าย่างบาท อิติปิโส ภะคะวา ฯ|
ขอขอบคุณเจ้าของภาพ และเนื้อหาข้อมูล – เผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนคุณครูบาอาจารย์