การบริหารจิต การเจริญสติ…มีอานิสงส์มากกว่าที่คิด

1736
views
การบริหารจิต

การเจริญสติ…มีอานิสงส์มากกว่าที่คิด การบริหารจิต คือ การเจริญสติปัญญา (หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า “การเจริญสติ”) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นในโลกตะวันออกนั้น

ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันทั่วโลก และทางตะวันตกได้ทำการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สามารถพิสูจน์ว่าการบริหารจิตส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงในทางบวกของโครงสร้างสมองซึ่งมีผลต่อการพัฒนาจิตใจให้ดีขึ้นตามไปด้วย ประโยชน์หรืออานิสงส์ที่ได้จากการเจริญสติมีดังนี้

สมาธิ ทุกอย่างก็อยู่ที่ใจ

1. ส่งเสริมให้สุขภาพจิตดี สามารถบริหารจัดการและป้องกันความเครียด และมีความสุขสงบเย็น
2. กระตุ้นให้ความจำดี สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี
3. มีจิตใจที่อิสระ เปิดกว้าง ไม่ยึดติด เป็นกลาง และปลอดจากอคติ

4. มีสมาธิจดจ่อในการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าการทำอะไรพร้อมกันหลายอย่างในเวลาเดียวกัน จะได้ผลงานมาก แต่จริงๆ แล้วกลับได้ผลงานน้อยลง เพราะสมองต้องเสียพลังงานในการปรับความคิดกลับไปกลับมา มิหนำซ้ำยังอาจเกิดความไม่ปลอดภัยเพราะเสียสมาธิ

การบริหารจิต

5. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และให้การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
6. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยให้สามารถป้องกันและบรรเทาโรคทางกายต่างๆ เช่น ไข้หวัด เจ็บคอ โรคเริม แผลร้อนใน โรคภูมิแพ้ ความดันเลือดสูง เบาหวาน มะเร็ง
7. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันชีวิต มีจิตใจเข้มแข็งในการเผชิญกับวิกฤตการณ์ชีวิต (เช่น การสูญเสีย การเจ็บป่วย) โดยการมีสติปัญญารู้เท่าทันตัวเอง ผู้อื่น โลก และชีวิต สามารถยอมรับเหตุร้ายที่เกิดขึ้นอย่างสงบเย็น และมีสติในการจัดการกับปัญหาไปตามเหตุปัจจัยอันควร

8. เสริมสร้างพลังฟื้นตัว เมื่อเกิดปัญหาหรือความทุกข์กาย (เจ็บป่วย) ทุกข์ใจ (การสูญเสีย ความผิดหวัง อกหัก) มีคนรู้จักหลายคนที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง ที่ต้องให้เคมีบำบัด รังสีบำบัด หรือการผ่าตัด สามารถฟื้นตัวได้เร็วและเกิดผลแทรกซ้อนน้อยกว่าที่แพทย์คาดคิด หรือคนที่เกิดความผิดหวัง หรืออกหัก ก็สามารถทำใจให้กลับมาเป็นปกติได้เร็ว

การบริหารจิต

9. ใช้ชีวิตอย่างมีสติกำกับ ไม่ประมาท รู้จักลงมือฝึกฝนปฏิบัติในสิ่งที่ดีต่อชีวิต เช่น การดูแลสุขภาพตนเอง การบริหารกาย บริหารจิต อารมณ์ และปัญญา การพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง

10. นำมาใช้บำบัดโรคทางจิต ในปี 2532 Dr.Jon Kabat–Zinn แห่งมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ ได้นำแนวทางเจริญสติแบบวิถีพุทธไปประยุกต์ในการบำบัดโรคทางจิตอย่างได้ผล ซึ่งเรียกเทคนิคนี้ว่า “Mindfulness-based stress reduction (MBSR)”

และต่อมา Dr.Zindel Segal ได้นำไปดัดแปลงโดยเรียกเทคนิคใหม่นี้ว่า “Mindfulness-based cognitive therapy (MBCT)” ปัจจุบัน เทคนิคเหล่านี้ได้กลายเป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดรักษาโรคทางจิต (เช่น ภาวะซึมเศร้า อารมณ์ 2 ขั้ว โรควิตกกังวล โรคเครียด) และโรคกายที่เกิดจากจิต (เช่น อาการปวดเรื้อรัง โรคสะเก็ดเงิน)

ธรรมทาน

 
ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร