วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ หลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป
โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น “ปาติโมกข์” ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ ๒๐ พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน ๓) หลังจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ หรือจะเรียกว่าเป็นการประกาศตั้งศาสนาก็ได้ (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด ๒๐ พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง “อาณาปาติโมกข์” แทน)
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ : นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
โอวาทปาติโมกข์ หลักปฏิบัติ ในการเผยแผ่ประกาศธรรม พระพุทธเจ้ากี่พระองค์ ตรัสแสดงเหมือนกันหมด
โอวาทปาติโมกข์ หลักปฏิบัติสำหรับพระภิกษุสงฆ์ สำหรับพิชิตความยากลำบาก ในการเผยแผ่ ที่ต้องผจญกับมานะทิฐิ บนหลากหลายความเชื่อ ของบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ทุกยุคทุกสมัย แม้พระภิกษุสงฆ์ ผู้เผยแผ่จะเป็นพระอรหันต์ แล้วก็ตาม ก็ต้องมีหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการ ดังนี้
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา : ความอดทนคือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา : พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นเยี่ยม
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี : ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ : ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
สพฺพปาปสฺส อกรณํ : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
กุสลสฺสูปสมฺปทา : การบำเพ็ญแต่กุศลให้ถึงพร้อม
สจิตฺตปริโยทปนํ : การทำจิตของตนให้ผ่องใส
อนูปวาโท อนูปฆาโต : การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย
ปาติโมกฺเข จ สํวโร : ความสำรวมในปาติโมกข์
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ : ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ : ที่นั่งนอนอันสงัด
อธิจิตฺเต จ อาโยโค : มีความเพียรในอธิจิต
โอวาทปาติโมกข์ หลักธรรมคำสอนที่สำคัญ หรือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ หลักธรรม ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖
โอวาทปาติโมกข์ เป็นเสมือน คาถาศักดิ์สิทธิ์ ที่ได้รับรองจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ประทาน ไว้เหมือนกันหมด เมื่อต้องเผยแผ่ประกาศพระศาสนา ให้มั่นคงและเจริญรุ่งเรือง เป็นที่พึ่งของมนุษย์และเทวดา…
ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..
ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.