◎ สาระธรรม

ชีวิตจริง!! เพราะอะไร “คนที่ไม่มีลูกเรียกว่าเป็นคนมีบุญ”

ถาม : คือตัวลูกเองไม่มีลูกเป็นของตัวเอง ที่เป็นแบบนี้เป็นเพราะลูกไม่มีบุญใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ : มีบุญสิ คนไม่มีลูกจะไปไม่มีบุญได้ยังไง คนมีลูกหน่ะเป็นคนมีกรรม ถามคนมีลูกเขาดูสิ

ถาม : ทำไมคนที่มีลูกถึงมีกรรมละครับ

พระอาจารย์ : เพราะว่าเลี้ยงลูกมันทุกข์ไง เดี๋ยวลูกก็ดื้อลูกก็ไม่เชื่อฟัง ทำอะไรก็ไม่เชื่อฟัง หรือลูกไปทำอะไรให้เกิดความเสียหายขึ้นมา พ่อแม่ก็ต้องทุกข์ ลูกไปทำร้ายข้าวของของคนอื่น พ่อแม่ก็ต้องมารับผิดชอบมาจ่ายค่าเสียหายต่างๆ งั้นเลี้ยงลูกมันไม่ใช่เป็นของสนุก ต้องหาเงินหาทองมาให้มีใช้อยู่ตลอดเวลา ลูกนี่ไม่ต้องหาเลยใช่ไหม

อยากจะได้เงินอะไรก็แบมืออย่างเดียวขออย่างเดียว พ่อแม่นี่กว่าจะหาเงินมาได้สักบาทนี่ต้องเหนื่อยยาก ถ้าไม่มีลูกก็ไม่ต้องมาหาเงินมาเลี้ยงลูกให้เหนื่อยยาก เนี่ยเขาถึงเรียกว่าเป็นทุกข์ คนที่ไม่มีลูกหน่ะเรียกว่าเป็นคนมีบุญ เราอย่าไปมีลูกล่ะเข้าใจไหม เราเป็นลูกก็ได้แต่อย่าไปมีลูกก็แล้วกัน โตไปก็บวช บวชแล้วสบายไม่ต้องมาเลี้ยงลูกให้ทุกข์

ถาม : ถ้ามีคนสองคน คนหนึ่งมีลูกแล้วอีกคนนึงไม่มีลูก คนที่มีลูกเขาก็เลี้ยงลูกไปด้วยความทุกข์แล้วก็แก่ไปทั้งคู่ แล้วตอนบั้นปลายชีวิตคนที่มีลูกเขาได้ลูกดีก็จะดูแลพ่อแม่ยามเจ็บไข้ได้ป่วย แต่คนที่ไม่มีลูกก็ไม่มีคนดูแล แล้วใครจะมีกรรมมากกว่ากันคะ

พระอาจารย์ : คนที่ไม่มีลูกหน่ะสบาย เพราะจะได้พึ่งตนเองได้ จะรู้จักพึ่งตนเอง ถ้าพึ่งไม่ได้ก็ตาย ก็ไม่เป็นไรยังไงก็ต้องตายอยู่ดี แล้วก็โอกาสที่จะได้ลูกดีมันก็มีน้อยมากโอกาสได้ลูกไม่ดีมันจะมีมากกว่า แล้วจะมาเสียอกเสียใจมากกว่าคนที่ไม่มีลูก คนที่ไม่มีลูกเขาก็ต้องเตรียมตัวพึ่งตัวเขาเอง เมื่อเขาไม่มีใครมาพึ่งแล้วเขาอยู่กันได้ เขาก็พร้อมที่จะตาย

อย่างเป็นพระนี่ก็ไม่มีลูกใช่ไหม ก็เตรียมตัวเตรียมใจตายอยู่เรื่อยๆ ถึงเวลาตายก็ตาย ลูกศิษย์มันจะดูแลหรือไม่ดูแลก็ช่วยไม่ได้ มันก็บังคับให้เราต้องพึ่งตัวเอง.

ธรรมะบนเขา
วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๙
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

admin

Recent Posts

จากความเชื่อ “เปรต” ผีที่หิวโหย 12 ตระกูล 21 จำพวก

เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..

2 weeks ago

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.