สัมมาสติ คือการให้จิตรู้อยู่กับปัจจุบัน อยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ ไม่ไปอยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่ไปอยู่ที่อื่น อยู่ที่นี่ แต่ถ้าจิตไม่มีสติ ก็จะคิดไปเรื่อยเปื่อย คิดไปได้หมด เมื่อกี้ไปไหนมา เดี๋ยวจะไปที่ไหนต่อ เมื่อวานนี้ไปทำอะไรมา เมื่อเช้านี้ได้ยินคนนั้นพูดอะไร ทำให้ไม่พออกไม่พอใจ ก็เก็บเอามาคิด
เก็บเอามาโกรธอยู่ในจิตอยู่ในใจ เพราะขาดสติคอยดูแลรักษาจิตใจ ถ้ามีสติแล้วจะต้องรู้ทันทีว่า ขณะนี้เราอยู่ที่ไหน อยู่ในปัจจุบันหรือไม่ หรือเถลไถลไปที่อื่นแล้ว ถ้ารู้ด้วยสติก็ดึงกลับมา ถ้ารู้ไม่ทัน ก็ต้องผูกจิตไว้กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เช่นพุทโธๆๆ ก็บริกรรมพุทโธๆๆไปเรื่อยๆ ตลอดทั้งวันทั้งคืน ไม่คิดเรื่องอะไรทั้งสิ้นถ้าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคิด
ถ้าเป็นพระก็จะไม่ค่อยมีเรื่องที่จะต้องคิด จึงควบคุมจิตให้อยู่กับพุทโธๆๆได้ตลอดเวลา ถึงแม้ในขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะกวาดถูศาลา ออกบิณฑบาต ขบฉันก็พุทโธๆๆไปเรื่อยๆ ไม่ไปคิดเรื่องอื่น ให้มีสติอยู่กับพุทโธๆๆไป ถ้ามีสติอยู่กับพุทโธๆๆไปเรื่อยๆ ต่อไปจิตก็จะเป็นสมาธิขึ้นมา จิตจะตั้งมั่น จะไม่ลอยไปลอยมา ที่ลอยไปลอยมาเพราะเป็นเหมือนนุ่น มีลมพัดมานิดเดียว ก็จะปลิวไปทันที จิตที่ไม่มีสมาธิจะเบาเหมือนนุ่น ไม่ได้เบาเพราะปราศจากกิเลสตัณหา เบาเพราะขาดความหนักแน่น เวลามีอารมณ์อะไรมากระทบ มาสัมผัส ก็ลอยไปแล้ว พอคิดเรื่องอะไรขึ้นมาปั๊บ ก็จะไหลตามไปทันที
ถ้าจิตหนักแน่นด้วยสมาธิ จะไม่ไปง่ายๆ เพราะมีสติคอยดึงเอาไว้ ไม่ให้ไป ยกเว้นเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องคิด เพราะชีวิตของคนเรายังมีภารกิจการงาน ต้องทำงานทำการ ต้องออกบิณฑบาต ต้องรับประทานอาหาร ต้องทำภารกิจต่างๆ ก็ต้องคิดในเรื่องที่จำเป็น อย่างนี้ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร
แต่ถ้าไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ จิตก็จะไหลไปตามอารมณ์ต่างๆที่มากระทบ ทำให้ว้าวุ่นขุ่นมัวอยู่ตลอดเวลา เพราะไปแบกเอาเรื่องราวต่างๆเข้ามาในจิตในใจนั่นเอง แทนที่จะปล่อยให้ผ่านไป กลับไปดึงกลับมา เช่นเวลาได้ยินคำพูดที่ไม่ถูกอกถูกใจ ทั้งๆที่พูดไปตั้งแต่เมื่อเช้านี้แล้ว หลายชั่วโมงผ่านไปแล้ว ก็ยังเอามาคิดอยู่ภายในใจ ทุกครั้งที่คิดก็เกิดความหงุดหงิดใจ เกิดความไม่พอใจขึ้นมา แล้วก็ไม่รู้จักวิธีทำให้ความคิดนั้นหายไป ซึ่งง่ายนิดเดียวก็คือไม่ไปคิดถึงเรื่องนั้นเท่านั้นเอง แต่ก็อดคิดไม่ได้ เพราะไม่เคยฝึกจิตนั่นเอง ไม่เคยควบคุมจิตให้อยู่ตามคำสั่ง จิตจะไปตามคำสั่งของเขา อยากจะคิดอะไรก็จะคิด ส่วนใหญ่ก็ชอบคิดในเรื่องที่ทำให้เกิดความทุกข์นั่นแหละ เรื่องที่ไม่ควรคิดแต่ก็อดคิดไม่ได้
ถ้าได้ฝึกทำสมาธิอยู่เรื่อยๆ ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา เวลาคิดถึงเรื่องที่สร้างความทุกข์ขึ้นมา ถ้าเคยบริกรรมพุทโธๆๆ ก็บริกรรมพุทโธๆๆไป ความคิดอื่นก็ไม่สามารถแทรกเข้ามาได้ เมื่อเข้ามาไม่ได้ ก็จะไม่รบกวนใจ การปฏิบัติของสายปฏิบัติ จึงเน้นไปที่สติเป็นหลัก ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามควรจะมีสติ มีความรู้สึกตัว รู้อยู่เสมอว่ากำลังทำอะไรอยู่ กาย วาจาใจ กำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด ถ้ามีสติแล้ว จะทำอะไรก็ไม่พลาด พระทางสายปฏิบัติ
เวลาทำงานกันจะทำกันอย่างรวดเร็ว แต่จะไม่ค่อยพลาดพลั้งเผลอกันเท่าไหร่ เช่นจะไม่มีเสียงดัง ทำอะไรจะเงียบ แต่ถ้าเป็นฆราวาสแล้ว ทำอะไรก็จะอึกทึกครึกโครมไปหมด เพราะทำโดยปราศจากสตินั่นเอง มีสติเหมือนกันแต่ไม่เข้มข้นพอที่จะเฝ้าดูทุกขณะจิตว่า กำลังเคลื่อนไหวไปทางไหน เช่นเวลาเช็ดช้อนเช็ดจาน ไม่รู้ว่าตอนที่วางจานวางช้อนนั้น วางอย่างไร แรงหรือค่อย เพราะสติไม่ละเอียดถึงขนาดนั้น
แต่ผู้ปฏิบัติจะมีสติละเอียดเข้าไปทุกขณะเลย ขณะหยิบช้อนขึ้นมาเช็ด ขณะที่จะวางช้อนลงไป จะมีเสียงไม่มีเสียง จะมีสติรู้อยู่ตลอดเวลา การทำงานของพระปฏิบัติจึงทำได้อย่างรวดเร็วและเงียบสงบ ไม่มีเสียง เวลาคนไม่มีสติเข้ามาในสังคมนั้น จะเปิดเผยตัวเองทันทีเลย ทำอะไรก็ดังโครมครามๆไปหมด เปิดปิดประตู เปิดปิดหน้าต่าง ก็เป็นเสียงดังไปหมด เพราะไม่เคยฝึกสติให้มีความละเอียดถึงขนาดนั้น แต่ถ้าได้เคยอยู่ในสำนักปฏิบัติแล้ว จะระมัดระวังมากเรื่องเสียง
เพราะถือว่าการกระทำต่างๆต้องเงียบ ต้องสงบ เป็นการฝึกสติไปในตัว หลักของการปฏิบัติไม่ได้ต้องการความเงียบเป็นผล แต่ต้องการสติ ต้องการสมาธิเป็นหลัก การทำงานต่างๆก็เพื่อฝึกสติ ฝึกจิตเป็นหลัก เพราะเมื่อสามารถควบคุมจิตใจให้เป็นไปตามคำสั่งได้แล้ว ก็จะสามารถระงับการกระทำของจิตในทางที่ไม่ดีได้ เช่นเวลาเกิดตัณหาขึ้นมา ก็สามารถระงับดับมันได้.
กัณฑ์ที่ ๒๒๗ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๘ (จุลธรรมนำใจ ๑)
“หัวใจของคำสอน”
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
เปิดผลสำรวจผักและผลไม้ทั้งหมด 15 ชนิด ที่มีสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน จากห้างสรรพสินค้า 5 แห่ง ตลาดสด 12 จังหวัด ในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาพบ "กะเพรา" มีสารพิษตกค้างมากสุด 94% รองลงมา… อ่านเพิ่มเติม..
การล้างพิษ (Detox) เป็นกระบวนการที่ช่วยกำจัดสารพิษหรือสิ่งสกปรกที่สะสมในร่างกายออกไป อาหารจัดได้ว่าเป็นยาที่ดีที่สุด อาหารบางประเภทสามารถช่วยในกระบวนการนี้ได้ดี โดยมีคุณสมบัติในการขับสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อไปนี้คือ 10 อาหารที่ช่วยในการล้างพิษ: 1. มะนาว มะนาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินซีที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญในการขับสารพิษออกจากร่างกาย… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.