“เรื่องของดวงจิต” ผู้ที่ไม่มีปัญญา จะเห็นลาภยศสรรเสริญ เห็นความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง แต่ไม่เห็นความทุกข์ที่จะตามมา เวลาที่ต้องสูญเสีย เวลาที่จะต้องพลัดพรากจากลาภยศสรรเสริญ จากรูปเสียงกลิ่นรสต่างๆ ไป
ผู้ที่มีปัญญาก็จะไม่ปรารถนาลาภยศสรรเสริญสุขกัน ผู้ที่มีปัญญาจะปรารถนาแต่ความสงบ ปรารถนาการทำลายความอยาก ไม่ต้องการให้มีความอยากอยู่ภายในใจ พอไม่ทำตามความอยาก ความอยากต่างๆ ก็จะหายไปหมด พอความอยากไม่มีในใจแล้ว พอร่างกายตายไป ก็ไม่ต้องไปมีร่างกายอันใหม่อีกต่อไป
ขณะที่มีร่างกายก็ไม่ทุกข์กับความแก่ของร่างกาย ไม่ทุกข์กับความเจ็บไข้ได้ป่วยของร่างกาย ไม่ทุกข์กับความตายของร่างกาย เพราะไม่มีความอยากไม่แก่อยากไม่เจ็บอยากไม่ตาย มันจะแก่มันจะเจ็บมันจะตาย ก็ไม่เดือดร้อน
นี่แหละคือเรื่องจิตของพวกเรา
ที่พวกเราสามารถที่จะมาพัฒนามาทำให้เป็นจิตที่มีแต่ความสุข เป็นจิตที่ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด เหมือนจิตของพระพุทธเจ้า จิตของพระสาวกทั้งหลาย จิตที่ไม่มาเกิดนี้ท่านเรียกว่า “นิพพาน” จิตที่ไม่มีความอยาก ไม่มีตัวที่จะทำให้เรามาเกิด ไม่มีตัวที่จะมาพาให้พวกเราต้องมาทำบุญทำบาป แล้วก็ทำให้เราต้องไปรับผลบุญผลบาปอย่างที่เราเป็นกันอยู่ในขณะนี้
ถ้าเราพบกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วเรามีศรัทธา มีความเชื่อ แล้วสามารถปฏิบัติตามได้ ทำทาน รักษาศีล ภาวนาได้ ใจของเราต่อไปก็จะเป็นใจที่ปราศจากความอยากต่างๆ เป็นใจที่สะอาดบริสุทธิ์ เป็นใจที่ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
นี่คือเรื่องของดวงจิตดวงใจของพวกเราทุกคนที่ยังเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ ยังต้องไปเป็นดวงวิญญาณชนิดต่างๆ กันอยู่ ถ้าเราไม่อยากที่จะต้องไปเป็นแบบนี้ ก็ขอให้เราเชื่อพระพุทธเจ้า เชื่อพระธรรมคำสอน เชื่อพระอริยสงฆ์สาวก แล้วก็ปฏิบัติตามคำสอน ทำทาน รักษาศีล ภาวนาไป แล้วรับรองได้ว่าเราจะไม่ต้องกลับมาเกิดแก่เจ็บตายกันอีกต่อไป เราจะไม่ต้องไปเกิดเป็นดวงวิญญาณชนิดต่างๆ อีกต่อไป เราจะอยู่ที่นิพพานกับพระพุทธเจ้า กับพระอริยสงฆ์สาวกไปตลอดอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
เพราะใจของพวกเรานี้ไม่มีวันตาย ถ้าใจได้ไปอยู่นิพพานแล้ว ก็จะอยู่นิพพานไปตลอดไม่มีวันสิ้นสุด นิพพานนี้ก็มีแต่ความสุขเพียงอย่างเดียว ที่เรียกว่า “ปรมัง สุขัง” นั่นเอง นี่คือเรื่องของจิตใจของพวกเรากับธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าจิตใจได้มาพบกับธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตใจก็จะได้รับการพัฒนา ได้รับการช่วยเหลือ ให้หลุดออกจากกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด
สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัด ชลบุรี
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..
เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.