ประเทศไทย ยังเจอปัญหาวิกฤต “ขาดแคลนเลือด” อย่างต่อเนื่อง เลือดสำรอง ไม่เพียงพอ

942
views
เลือดสำรอง ไม่เพียงพอ

“เลือด” ไม่พอ ทั่วโลก เนื่องจากจำนวนผู้บริจาค ไม่สมดุลกับความต้องการใช้เลือด โดยเฉพาะในการผ่าตัดใหญ่ หรือการกระตุ้นการทำงานของไขกระดูกเพื่อสร้างเม็ดโลหิต

ขาดแคลนเลือด

ปัจจุบัน ตามไกด์ไลน์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ทุก ๆ 1,000 คน ต้องมีคนบริจาคเลือดราว 10 20 คน และการมีเลือดสำรองที่เพียงพอ จะเป็นตัวชี้วัดว่าระบบสาธารณสุขของประเทศนั้น ๆ มั่นคงเพียงใด

แต่การศึกษาล่าสุด พบว่าจาก 195 ประเทศทั่วโลก มากกว่า 119 ประเทศ มีเลือดสำรองสะสมไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากร โดยส่วนใหญ่เป็นประเทศรายได้ปานกลาง และประเทศรายได้ต่ำ

เมแกน เดลานีย์ นักวิจัยซึ่งศึกษาเรื่องนี้ บอกว่า ต้นตอของปัญหาก็คือ เมื่อระบบ “สาธารณสุข” ในประเทศรายได้ปานกลาง-ต่ำ เหล่านี้ ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น และเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ปัญหาที่ตามมาก็คือ ไม่มี “เลือดสำรอง” เพียงพอ ในการนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

นั่นสะท้อนให้เห็นว่า การทำให้ ดีมานด์ – ซัพพลาย ของระบบสาธารณสุขสมดุล ไม่ได้มีแค่เรื่องงบประมาณ หรือเรื่องกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องทำให้จำนวนเลือดสำรอง มีเพียงพอ จากการกระตุ้นให้ประชากร “บริจาคเลือด” เพิ่ม รวมถึงพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ให้เอื้อกับการบริจาคเลือด และจัดเก็บเลือดสำรองเพิ่มเติมด้วย

ขาดแคลนเลือด

ทั้งหมดนี้ สะท้อนชัดว่า “ความเหลื่อมล้ำ” ทางรายได้ นอกจากจะส่งผลกระทบกับปัญหาเศรษฐกิจแล้ว ก็ส่งผลกับปัญหาสาธารณสุขอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะในประเทศที่ประชาชนต้องหาเช้ากินค่ำ มีรายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย การจะให้คนไปบริจาคเลือดสม่ำเสมอ ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ทั้งนี้ สาเหตุของการให้เลือด และถ่ายเลือด แตกต่างกันอย่างชัดเจน ในแต่ละกลุ่มประเทศ โดยประเทศรายได้สูง พบว่า สาเหตุใหญ่ มาจากการ “บาดเจ็บ” ซึ่งทำให้เสียเลือด และการเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ

ขณะที่โรคทางเดินหายใจ (เช่น วัณโรค) และการขาดสารอาหาร เป็นสาเหตุที่พบบ่อยสำหรับการถ่ายเลือด และให้เลือด ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ

ทีมนักวิจัยยังพบอีกว่า ในประเทศรายได้สูงนั้น มีเลือดสำรอง เพียงพอต่อความต้องการ แต่ในประเทศรายได้ต่ำนั้น เลือดสำรองไม่เพียงพออย่างชัดเจน แม้ประเทศเหล่านี้ จะมี “ความต้องการ” เลือดไม่เท่ากับประเทศรายได้สูงก็ตาม

สำหรับ 119 ประเทศที่มีเลือดไม่เพียงพอนั้น พบว่าเป็นประเทศในกลุ่ม ซับ-ซาฮารา ในแอฟริกา ประเทศหมู่เกาะในกลุ่มโอเชียเนีย ประเทศในเอเชียใต้ และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามลำดับ

ขาดแคลนเลือด

แต่ถึงกระนั้นเองเมื่อพิจารณาส่วนประกอบของเลือดสำรอง ซึ่งประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และพลาสม่า ก็ไม่เพียงพออยู่ดี หากต้องเข้าสู่กระบวนการ “ให้เลือด”

ประมาณการณ์ว่า ส่วนประกอบจากเลือดเหล่านี้ จะได้ประมาณ 1.5 ยูนิต จากการบริจาค โดยหากต้องการได้เลือดสำรอง และส่วนประกอบ ตามความต้องการ มากกว่า 40 ประเทศ จะต้องการ “ผู้บริจาค” เลือดมากขึ้นเป็น 30 คน ต่อประชากร 1,000 คน และ 4 ประเทศ ที่ขาดแคลนเลือดอย่างหนัก ต้องการผู้บริจาคเพิ่มเป็น 40 คน ต่อประชากร 1,000 คน สูงกว่า 10-20 คน ตามที่ WHO กำหนดไว้ในตอนแรก

ปัญหาใหญ่อีกอย่างก็คือ การจัดเก็บเลือดที่ปลอดภัย และความต้องการ ที่ “ไม่แน่นอน” ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นเงื่อนไขใหญ่ของระบบสำรองเลือด ในประเทศที่เจริญแล้ว อาจสามารถรับบริจาคได้มากกว่า เพราะมีสถานที่จัดเก็บที่เพียงพอ แต่ประเทศที่รายได้ต่ำ แค่ให้มีโรงพยาบาล มีหน่วยบริการเพียงพอ ก็ยากแล้ว

เช่นเดียวกับความ “ไม่แน่นอน” โดยเฉพาะเมื่อเกิดโรคระบาด เกิดอุบัติเหตุใหญ่ หรือเกิด “อุบัติภัย” ที่ต้องการเลือดสำรองเป็นจำนวนมาก ก็อาจเปลี่ยนความต้องการของบางประเทศ จากที่มีเลือดสำรองปริมาณที่พอเหมาะ เป็น “ขาดแคลน” ได้ เช่นเดียวกัน

ขาดแคลนเลือด

เพราะฉะนั้น การจัดการธนาคารเลือด และระบบสำรองเลือด ควรจะเป็น “เสาหลัก” อีกอย่าง ในการจัดการกับปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก เพิ่มเติมจากเรื่องงบประมาณ และระบบบริการ เพื่อเป็นหลักประกันว่า จะไม่มีผู้ป่วยคนใด ต้องป่วยหนักขึ้น หรือต้องเสียชีวิต เพราะเลือดสำรองไม่เพียงพอ

สำหรับประเทศไทย ยังพบปัญหา “ขาดแคลนเลือด” อย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายในแต่ละวัน สภากาชาดไทย ต้องการเลือดมากกว่า 2,000 2,500 ยูนิต ต่อวัน (ประมาณ 7.3 แสน 9.1 แสนยูนิต ต่อปี) แต่ข้อมูลเมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา สภากาชาดไทย สามารถรับบริจาคได้เฉลี่ย 1,500 1,700 ยูนิตต่อวันเท่านั้น ทำให้โรงพยาบาลใหญ่หลายแห่ง จำเป็นต้องเลื่อนการผ่าตัดใหญ่ผู้ป่วย เนื่องจากเลือดสำรองไม่เพียงพอ

อ่านต้นฉบับ

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร