สิ่งที่ต้องระมัดระวังสำหรับคฤหัสถ์ คือ ความอยากได้ ความอยากมี อยากเป็น ทำให้ไม่รู้จักพอ เช่น อยากได้ของที่เกินฐานะ ทำให้ต้องไปกู้ยืมจนเป็นหนี้เกินตัว ทำให้ต้องดิ้นรน เป็นทุกข์หรือเกิดการทุจริตได้
ในทางธรรม กิเลส คือ สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองและความทุกข์ เป็นความอยากได้ อยากมีที่เกิดจากโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ซึ่งเมื่อกิเลสเกิดขึ้นย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง
โดยวิธีเดียวที่จะละกิเลสได้ ก็คือการการรักษาศีล การทำสมาธิตั้งจิตให้สงบ และการเจริญพุทธิปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาสมถะกรรมฐาน แต่ถ้าไม่นับวิธีทางธรรม วิธีการเหล่านี้ก็ช่วยหักห้ามใจไม่ให้เกิดกิเลสได้เช่นกัน
1. ยอมรับความจริง
อย่างที่บอกว่าไม่แปลกที่คนเราจะมีความอยากได้ อยากมี อยากเป็น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ปล่อยให้ความอยากเหล่านี้มาครอบงำจิตใจ จนทำในสิ่งที่ไม่ควรหรือทำร้ายตัวเองและคนอื่น ซึ่งวิธีหนึ่งที่ช่วยระงับความอยากลงได้ก็คือการทำใจและยอมรับความจริง โดยเฉพาะถ้าความอยากนั้น ๆ เป็นสิ่งที่ไกลเกินฝัน วิธีนี้ช่วยได้ดีที่สุด
2. คิด ทบทวน ใคร่ครวญ
ตามหลักแล้วปุถุชนคนธรรมดาอย่างเรา ๆ มักไม่มีวิธีจัดการกับความอยากที่เกิดขึ้นในจิตใจได้ แต่สิ่งที่ช่วยให้ความอยากเหล่านี้บรรเทาลงได้ก็คือการคิด ใคร่ครวญ และทบทวนย้ำ ๆ กับตัวเอง ถามตัวเองว่าความอยากที่เกิดขึ้น เป็นแค่ความต้องการหรือเป็นความจำเป็น ไม่แน่ว่าคำตอบที่ได้ อาจทำให้คุณค้นพบสัจธรรมที่ซ่อนอยู่ภายในตัวคุณก็ได้
3. เปลี่ยนความอยากเป็นเป้าหมาย
ใคร ๆ ก็มีความต้องการ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ในสิ่งที่ต้องการ บางคนอยากได้แต่ไม่ทำอะไร แค่ฝันก็พอใจแล้ว บางคนอยากได้จนไปทำร้ายคนอื่น ขณะที่บางคนเปลี่ยนความอยากเป็นเป้าหมาย ใช้ความทะเยอทะยานเป็นแรงขับเคลื่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่ง ๆ นั้น และสุดท้ายก็ไม่ใช่แค่ความอยากอีกต่อไป
4. ทางสายกลางช่วยได้
จริง ๆ แล้ว ทางสายกลางคือหนทางแห่งการดับทุกข์ที่แท้จริง แต่น่าแปลกที่คนเรามักไม่ชอบเดินทางนี้ กลับชอบที่จะเบ้ไปเบ้มาให้ตกหลุมตกบ่อกลายเป็นความทุกข์ เกิดเป็นความโลภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นขึ้นในจิตใจ เพราะฉะนั้นถ้าอยากหักห้ามใจ ระงับความอยาก การไม่ยึดติดกับใครหรืออะไรก็ช่วยได้เช่นกัน
ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ ทำให้ไม่รู้จักพอ ควรเตือนตนไว้เสมอในความพอดี มีเศรษฐกิจพอเพียง คือ เพียงพอในการดำรงชีวิตด้วยสุจริตเลี้ยงสังขารนี้เพื่อศึกษาธรรมะ เจริญปัญญา สะสมความเห็นถูก มากขึ้นๆเพื่อละกิเลส และเพื่อถึงที่สุด คือ ความหลุดพ้น ไม่ต้องเกิดอีก
เรียบเรียง
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..
เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.