สิ่งที่ต้องระมัดระวังสำหรับคฤหัสถ์ คือ ความอยากได้ ความอยากมี อยากเป็น ทำให้ไม่รู้จักพอ เช่น อยากได้ของที่เกินฐานะ ทำให้ต้องไปกู้ยืมจนเป็นหนี้เกินตัว ทำให้ต้องดิ้นรน เป็นทุกข์หรือเกิดการทุจริตได้

ในทางธรรม กิเลส คือ สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองและความทุกข์ เป็นความอยากได้ อยากมีที่เกิดจากโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ซึ่งเมื่อกิเลสเกิดขึ้นย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง
โดยวิธีเดียวที่จะละกิเลสได้ ก็คือการการรักษาศีล การทำสมาธิตั้งจิตให้สงบ และการเจริญพุทธิปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาสมถะกรรมฐาน แต่ถ้าไม่นับวิธีทางธรรม วิธีการเหล่านี้ก็ช่วยหักห้ามใจไม่ให้เกิดกิเลสได้เช่นกัน

1. ยอมรับความจริง
อย่างที่บอกว่าไม่แปลกที่คนเราจะมีความอยากได้ อยากมี อยากเป็น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ปล่อยให้ความอยากเหล่านี้มาครอบงำจิตใจ จนทำในสิ่งที่ไม่ควรหรือทำร้ายตัวเองและคนอื่น ซึ่งวิธีหนึ่งที่ช่วยระงับความอยากลงได้ก็คือการทำใจและยอมรับความจริง โดยเฉพาะถ้าความอยากนั้น ๆ เป็นสิ่งที่ไกลเกินฝัน วิธีนี้ช่วยได้ดีที่สุด

2. คิด ทบทวน ใคร่ครวญ
ตามหลักแล้วปุถุชนคนธรรมดาอย่างเรา ๆ มักไม่มีวิธีจัดการกับความอยากที่เกิดขึ้นในจิตใจได้ แต่สิ่งที่ช่วยให้ความอยากเหล่านี้บรรเทาลงได้ก็คือการคิด ใคร่ครวญ และทบทวนย้ำ ๆ กับตัวเอง ถามตัวเองว่าความอยากที่เกิดขึ้น เป็นแค่ความต้องการหรือเป็นความจำเป็น ไม่แน่ว่าคำตอบที่ได้ อาจทำให้คุณค้นพบสัจธรรมที่ซ่อนอยู่ภายในตัวคุณก็ได้
3. เปลี่ยนความอยากเป็นเป้าหมาย
ใคร ๆ ก็มีความต้องการ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ในสิ่งที่ต้องการ บางคนอยากได้แต่ไม่ทำอะไร แค่ฝันก็พอใจแล้ว บางคนอยากได้จนไปทำร้ายคนอื่น ขณะที่บางคนเปลี่ยนความอยากเป็นเป้าหมาย ใช้ความทะเยอทะยานเป็นแรงขับเคลื่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่ง ๆ นั้น และสุดท้ายก็ไม่ใช่แค่ความอยากอีกต่อไป

4. ทางสายกลางช่วยได้
จริง ๆ แล้ว ทางสายกลางคือหนทางแห่งการดับทุกข์ที่แท้จริง แต่น่าแปลกที่คนเรามักไม่ชอบเดินทางนี้ กลับชอบที่จะเบ้ไปเบ้มาให้ตกหลุมตกบ่อกลายเป็นความทุกข์ เกิดเป็นความโลภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นขึ้นในจิตใจ เพราะฉะนั้นถ้าอยากหักห้ามใจ ระงับความอยาก การไม่ยึดติดกับใครหรืออะไรก็ช่วยได้เช่นกัน

ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ ทำให้ไม่รู้จักพอ ควรเตือนตนไว้เสมอในความพอดี มีเศรษฐกิจพอเพียง คือ เพียงพอในการดำรงชีวิตด้วยสุจริตเลี้ยงสังขารนี้เพื่อศึกษาธรรมะ เจริญปัญญา สะสมความเห็นถูก มากขึ้นๆเพื่อละกิเลส และเพื่อถึงที่สุด คือ ความหลุดพ้น ไม่ต้องเกิดอีก
เรียบเรียง
Ⓜ️ เรื่องที่น่าสนใจ |

ความสุขอยู่ที่ใจ รักษาใจให้เป็นสุข ด้วยการยอมรับในทุกสิ่ง ที่สำคัญต้องปล่อยวางให้ได้ ในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าเรื่องจะร้ายแรงและเศร้าโศกเพียงใด หนังสือ Time magazine บอกว่าที่อเมริกา ได้มีงานวิจัยพบว่าคนที่มีความสุขมากที่สุดในโลกก็คือ พระในทางพุทธศาสนา โดยทดสอบด้วยการสแกนสมองของพระที่ ทำสมาธิ และได้ผลลัพธ์ ออกมาว่าเป็นจริง.. หลักความเชื่อของศาสนาพุทธ ก็คือ เหตุที่ทำให้เกิดความสุขนั้นก็คือ อยู่กับปัจจุบันขณะ ปล่อยวางได้ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ควบคุมความอยากที่ไม่มีสิ้นสุด ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ทะเลาะและใช้หลัก เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ให้อภัยตัวเองและผู้อื่น มีจิตใจเมตตากรุณา และเสียสละเพื่อผู้อื่น อริยะสัจ ๔ สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและ บอกไว้ ว่าด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แท้จริงแล้วก็คือ ทางเดินไปหาคำว่า " ความสุข " เพราะถ้าเมื่อไรเราเข้าใจ " ความทุกข์ " ได้แล้ว ความสุขก็จะเกิดขึ้นทันที อุปสรรคของความสุข ก็คือ…

อริยสัจจ์ ความจริงอันสูงสุด ที่มีอยู่ในทุกสรรพชีวิตในสังสารวัฏฏ์ เป็นดั่งปริศนาดำมืดของทุกชีวิตที่เกิดมาบนโลกใบนี้ เมื่อยังไม่ทราบ จึงทำให้ลุ่มหลงไปตามกระแสกิเลส เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอย่างไม่รู้จบสิ้น การเห็นอริยสัจจ์ : การเห็นเกี่ยวกับความจริงของโลกและชีวิตว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เข้าใจแก่นแท้ของชีวิต เป็นความจริงที่มีอยู่คู่โลก แต่ไม่มีใครเห็น จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ คือทั้งรู้ทั้งเห็น แล้วทรงชี้ให้ดู ได้แก่ ๑. ทุกข์ ทั้งหลายจากความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ - ทุกข์กาย คือ ความทุกข์ที่เกิดจากตัวเอง ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความทุกข์ ประเภทนี้ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ - ทุกข์ใจ ความทุกข์ที่เกิดจากเหตุภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เหล่านั้นมาเป็นอารมณ์ เมื่อกระทบแล้วทำให้เกิดอาการทางใจ เช่น น้อยใจ ท้อใจ กลุ้มใจ คร่ำคราญ ร่ำไรรำพัน…

ความเดือนร้อนจากการเป็นหนี้ รู้สึกว่าทำอะไรก็ติดขัดไปหมด จะได้เงินก็มีคนมาตัดหน้า ทำอะไรก็มีคนมาขวางเพราะเราอาจจะเคยโกหก หรือเอาเปรียบใครมา เป็นวิบากกรรม หาได้มาก็มีเรื่องต้องจ่าย ทำอะไรติดขัดไม่ราบรื่น พบกับอุปสรรคต่างๆ ทำอะไรก็ไม่ขึ้น หยิบจับอะไรเป็นเสียหาย ไร้คนช่วยเหลือมองไปทางไหนก็มืดมน ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองใหม่ ซึ่งมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ๑. พ้นกรรมหนี้สินจะทำอย่างไร อยากพ้นกรรมต้องทำที่ต้นเหตุ (กรรมทางโลก) หนี้สิน ถือเป็นผลพวงของกรรมอย่างหนึ่งอันเกิดจากกิเลสความต้องการในทางกามารมณ์ ที่ควบคุมไม่ได้ เพราะความอยากได้ อยากมี อยากเป็นเหมือนดังเช่นผู้อื่นจึงก่อให้เกิดความพยายามตะเกียกตะกายที่จะมีทรัพย์สินให้มากขึ้น โดยที่ไม่ได้สำรวจศักยภาพความสามารถในการหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่าย จึงเกิดแต่ความทุกข์และกลายเป็นหนี้ในที่สุด ๒. “อย่าคิดที่จะเพิ่มหนี้อีก” หากอยากเป็นคนดีก็ต้องหยุดทำความชั่วเสียก่อน อยากหยุดหนี้สินก็ต้องหยุดสร้างหนี้ฉันนั้น ถ้าเป็นหนี้บัตรเครดิตใบหนึ่งด้วยจำนวนเงินที่มากพอแล้ว ก็ไม่ควรไปสร้างหนี้เพิ่มให้กลายเป็นภาระดินพอกหางหมู หากพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นในทางธรรมก็คือ “ลดความอยากลงเสีย” หนี้ก็จะไม่เพิ่มขึ้น ๓. ลดการใช้จ่ายเกินความจำเป็น คนที่ประสบปัญหามีหนี้มากก็เพราะมัวปล่อยจิตใจให้ไหลไปตามความอยากเพราะ “การซื้อหาด้วยอารมณ์” มากกว่า “การซื้อหาด้วยเหตุผล” จึงเป็นเหตุให้เป็นหนี้สินมากมาย ซึ่งเมื่อได้ของสิ่งนั้นมาแล้วก็ใช่ว่าจะได้ใช้สอยอย่างคุ้มค่าตามที่ซื้อไปหรือไม่ ๔. หลีกเลี่ยงการหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จะก่อให้เกิดหนี้ เช่น การใช้บัตรเครดิต เปรียบเหมือนถ้าคุณเป็นจอมยุทธที่ชอบท่องเที่ยวในยุทธภพต้องการเป็นผู้ผดุงความยุติธรรม และให้สัญญากับตนเองว่าจะไม่ฆ่าหรือทำร้ายใคร แต่บังเอิญได้พกกระบี่อย่างดีที่สุดติดตัวไว้อำนวยความสะดวกที่จะสังหารผู้อื่นได้ทุกเมื่อ…