พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สักการะบูชาเสริมชีวิต เจริญก้าวหน้า
วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช”ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน”
วิธีการสักการะบูชา
สำหรับผู้ที่บูชาพระองค์ท่านครั้งแรกให้จุดธูป ๑๖ ดอก ส่วนครั้งต่อไปให้จุด ๙ ดอก โดยว่าคาถาดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ
มะมะ นะโม พุทธายะ” (กล่าว ๓ ครั้ง)
พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง
พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ”
หรือแบบเต็ม “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
อิติปิโส วิเสเสอิอิเสเส พุทธะนาเมอิอิเมนา พุทธะตังโสอิอิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง
พระคาถาอธิษฐานขอพร โดยห้ามบนบานเด็ดขาด
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานังจงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด
ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตาจงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม
ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (๕ จบ)
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ…นามสกุล… ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง… อิติปิโส วิเสเสอิอิเสเส พุทธะ นาเมอิอิเมนา พุทธะตังโสอิอิโสตัง พุทธะปิติอิปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (๓ จบ)
พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.๕ สูงยิ่งๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่งๆ ขึ้น
โดยเครื่องสักการะ คือ ดอกกุหลาบสีชมพู เพราะ ดอกกุหลาบนั้นมีหนามที่แหลมคมและความงดงาม เปรียบดั่งพระปรีชาสามารถและอำนาจในการปกครองประเทศของพระองค์ และยังมีความเมตตากรุณายิ่งอันเป็นความงดงามแก่แผ่นดินไทย
ส่วนสีชมพูนั้นเป็นสีประจำวันอังคารอันเป็นสีของวันพระราชสมภพของพระองค์ท่าน นอกจากนี้ยังนิยม บายศรี หมากพลู บุหรี่ สุรา บรั่นดี หรือไวน์ มาสักการะ รวมถึงนำหญ้าสดใหม่มาให้แก่ม้าพระที่นั่งอีกด้วย
วันที่ควรบูชาคือวันที่ ๒๓ ตุลาคม และยังเลือกบูชาประจำทุกสัปดาห์ได้ในทุกวันอังคารอันเป็นวันพระราชสมภพ หรือวันพฤหัสบดีอันเป็นวันครู หรือบูชาในวันพระก็ได้เช่นกันแต่ต้องยกเว้นเครื่องสักการะที่เป็นอบายมุข จำพวก บุหรี่ และเหล้า