อ.ชุม ไชยคีรี เขาชัยสน จ.พัทลุง – ต้นตระกูลไชยคีรีคือ “ขุนไชยคีรี” นักรบคนสำคัญของเมืองพัทลุงในอดีต ขุนไชยคีรีเป็นศิษย์เขาอ้อที่มีวิชาอาคมขลังคนหนึ่ง อาจารย์ชุมเป็นหลานทวดของขุนไชยคีรี เหตุที่ชื่อว่า “ชุม” ก็เพราะท่านเกิดในระหว่างที่พ่อของท่านกำลังร่วมการประชุมผู้หลักผู้ใหญ่ของ เขาชัยสน พระอาจารย์คง วัดไชยมงคล ซึ่งมีความสนิมสนมชอบพอกับพ่อของอาจารย์ชุมจึงตั้งชื่อท่านว่า “ชุม”
อาจารย์ชุมได้เรียนวิชาอาคมจากพ่อของท่านตั้งแต่ยังเด็กๆ ท่านสนใจในวิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย เมื่ออายุได้เพียง 5 ขวบ ก็สามารถภาวนาคาถาแค่สองคำ สะกดงูพิษทุกชนิดไม่ให้อ้าปากขบกัดได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ แม้สุนัขก็เช่นกัน อาจารย์ชุมได้เรียนวิชาอาคมจากพ่อของท่านตั้งแต่ยังเด็กๆ ท่านเรียนวิชาได้เร็ว ทำอะไรก็ขลัง
มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาคมจนได้รับความเชื่อถือจากชาวบ้าน เมื่ออาจารย์ชุม อายุได้ 7 ขวบ ก็เคยเอามือปิดปากกระบอกปืนของเพื่อนบิดาที่มาเยี่ยมบ้าน ท่องคาถาเพียง 11 ตัว ยังเป็นเหตุให้ปืนยาวเหล่านั้นถึงกับระเบิดเมื่อนำไปยิง
เมื่ออายุครบบวชก็ได้ไปบวชที่วัดไชยมงคลกับพระอาจารย์คง อาจารย์ชุมหลังจากบวชแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรม จนต่อมาท่านได้ไปที่พัทลุง ท่านจึงไปขออยู่ร่วมสำนักเขาอ้อ ฝากตัวเป็นศิษย์อาจารย์เอียด วัดดอนศาลา โดยมีขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นผู้รับรองความประพฤติ
อาจารย์ชุมได้รวบรวมตำราเขาอ้อที่กระจัดกระจายไปอยู่ยังที่ต่างๆ ในระหว่างบวชท่านได้รู้จักกับหลวงพ่อคง วัดบ้านสวนและมีความเคารพซึ่งกันและกัน
ต่อมาอาจารย์ชุมบวชอยู่ 15 พรรษา ลาสิกขาบทเมื่ออายุ 35 ปี และได้แต่งงานมีครอบครัว แต่ก็ยังคงติดต่อกับหลวงพ่อคง วัดบ้านสวนอย่างสม่ำเสมอ ท่านได้มีส่วนร่วมในการสร้างวัตถุมงคลของเขาอ้อหลายครั้ง และได้รับการยกย่องว่าเป็นฆราวาสผู้มีอาคมขลังมากผู้หนึ่ง ในบั้นปลายชีวิตของท่าน ท่านย้ายครอบครัวมาอยู่กรุงเทพ และอยู่มาจนเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2525
ภายหลังตัดสินใจอยู่ครองเพศบรรพชิตต่อไปแล้ว พระภิกษุชุมก็ได้เข้าศึกษาทางด้านปริยัติเรียนนักธรรม จนสอบได้นักธรรมชั้นเอกและต่อมาได้เป็นนักเทศที่มีชื่อเสียงมาก เพราะมีสำนวนการเทศน์ที่น่าสนใจ ชื่อเสียงของพระอาจารย์โด่งดังไปถึงจังหวัดพัทลุงถูก นิมนต์ให้ไปเทศน์อยู่บ่อยๆ
มีหลายครั้งที่พระอาจารย์ชุมได้ไปเทศน์ละแวะอำเภอควนขนุน จึงได้ติดตามความเคลื่อนไหวของสำนักเขาอ้อ ซึ่งอาจารย์ชุมทราบดีว่าตัวท่านเป็นเชื้อสายของสำนักนั้น แต่ตอนนั้นสำนักเขาอ้อกำลังเข้าสู่ภาวะทรุดโทรม ด้วยเหตุผลหนุนส่งหลายประการสำคัญที่สุดเลยก็คือบทบาทของวัดถูกลดลงเรียกได้ว่ากำลังเข้าสู่ยุคหัวเลี้ยวหัวตอในการเปลี่ยนค่านิยม และที่สำคัญเหตุผลหนุนนำอีกอย่างก็คือ ศิษย์ของสำนักเขาอ้อหลายคนไปมีชื่อเสียงทางด้านโจรผู้ร้าย เรื่องราวของสำนักเขาอ้อกำลังจะถูกลืม
ด้วยจิตสำนึกที่ว่าตนคือเลือดเนื้อเชื้อไขของสำนักที่ยิ่งใหญ่ในอดีตแห่งนี้ พระอาจารย์ชุมจึงได้เริ่มศึกษาค้นคว้าและรวบรวมตำคาสำคัญๆ ของสำนักเขาอ้อ ซึ่งตอนนั้นกระจัดกระจายออกไปนอกสำนักมากไปอยู่ตามบ้านเรื่อนลูกศิษย์บ้าง ถูกเก็บไว้อย่างไม่ค่อยเห็นค่า
อาจารย์ชุมตระหนักดีว่าหากปล่อยให้เหตุการณ์ดำเนินต่อไปเช่นนั้น เรื่องราวสำนักเขาอ้อต้องสูญหายไปแน่นอน ท่านจึงได้เริ่มรวบรวมและนำตำราต่างๆ มาเรียบเรียงใหม่ เพื่อจะจารึกเรื่องราวของสำนักเขาอ้อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงต่อไปได้
ก็อย่างที่เรียนไปตั้งแต่ต้นแล้ว พระอาจารย์ชุมเป็นคนที่ค่อนข้างจะหัวดื้อไม่ค่อยเชื่ออะไรง่ายๆ แม้ท่านตัดสินใจเรียนไสยศษสตร์แม้เห็นผลแล้วครั้นคิด จะรวบรวมวิชาต่างๆ ของสำนักเขาอ้อให้เป็นที่เป็นทาง ท่านก็เลยต้องไปเรียนเองก่อนเรียกได้ว่าเรียนให้รู้ก่อนจึงจะเขียนตำราและทำอะไรอื่นได้ ท่านจึงได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์เอียด ปทุมสโรที่วัดดอนศาลา
แต่ตอนนั้นพระอาจารย์ชุมกำลังโด่งดังในฐษนะพระนักเทศ น์เป็นพระหนุ่มที่มีเสน่ห์มากบรรดาผู้แวดล้อมนั้นมีทั้งหญิงและชาย พระอาจารย์เอียด เห็นว่าไม่สู้จะเหมาะสมนักท่านจึงเฉยๆ ไม่ตอบรับเจตนารมณ์ของพระอาจารย์ชุม
พอดีระหว่างนั้น ทางสำนักเขาอ้อได้จัดพิธีกรรมสำคัญขึ้นอย่างหนึ่งซึ่งขาดหายไปนานแล้ว ใครได้ร่วมพิธีนั้นถือว่าเป็นโอกาสดีที่สุด เป็นมงคลอย่างยิ่งแก่ชีวิต ด้วยความตั้งใจจริงของพระอาจารย์ชุมจึงได้ติดต่อขอเป็นศิษย์สำนักเขาอ้อในโอกาสนั้นแต่ก็ติดปัญหาที่พระอาจารย์เอียดได้ตั้งข้อสังเกตุไว้
บังเอิญว่าตอนนั้นพระอาจารย์ชุมได้ รู้จักกับศิษย์เอกของพระอาจารย์เอียดคนหนึ่ง คือขุนพันธรักษ์ราชเดช จึงได้เข้าทางขุนพันธ์
ตัวขุนพันธรักษ์ราชเดชเองเห็นความตั้งใจของพระอาจารย์ชุม และทราบว่าท่านผู้นี้สติปัญญาดีหากได้มาช่วยกันงานฟื้นฟูสำนักเขาอ้อคงจะไปได้อย่างดี ท่านจึงได้เข้ารับรองกับพระอาจารย์เอียดว่าท่านพระอาจารย์ชุมมีคุณสมบัติพอที่จะเป็นศิษย์สำนักเขาอ้อได้ความเคลือบแคลงที่พระอาจารย์เอียดมีนั้น ไม่มีมูลความจริง และพระอาจารย์ชุมก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามแนวทางของสำนักเขาอ้ออย่างไม่มีเงื่นไข
พระอาจารย์เอียดเห็นความตั้งใจของพระอาจารย์ชุม จึงได้รับไว้และให้เข้าร่วมพิธีมหาว่าน มหายันต์ ซึ่งนับว่า การตัดสินใจครั้งนั้นของพระอาจารย์เอียดส่งผลดีต่อสำนักเขาอ้อไม่น้อย นับเป็นการตัดสินใจที่ไม่ผิดพลาด เมื่อได้เข้าเป็นศิษย์สำนักเขาอ้อแล้ว พระอาจารย์ชุมก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่
เนื่องจากท่านรวบรวมตำราต่างๆ ของสำนักเขาอ้อไว้มาก จึงได้ศึกษาจากตำราต่างๆเหล่านั้น มีอะไรติดขัดก็ศึกษากับพระอาจารย์เอียดบ้าง พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโมบ้างรวมตลอดถึงท่านอื่นๆที่เชี่ยวชาญในวิชานั้นๆ ทำให้การศึกษาของท่านก้าวหน้าไปอย่างดี
เพียงไม่นานท่านก็เป็นผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญในวิทยาการต่างๆ ของสำนักเขาอ้อในระหว่างที่มาศึกษาอยู่ในสำนักเขาอ้อโดยผ่านทางวัดดอนศาลานั้น พระอาจารย์ชุมก็ไปสนิทสนมกับศิษย์เอกของพระอาจารย์เอียดอีกรูปหนึ่ง คือ พระอาจารย์คง สิริมโต เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนท่านทั้งสองไปมาหาสู่กันอย่างใกล้ชิด
จึงได้มีโอกาศทำพิธีร่วมกันหลายครั้งและต่างยอมรับใน วิชาของกันและกัน พระอาจารย์ชุมครองเพศบรรพชิตมาได้ 15 พรรษา เมื่อมีอายุได้ประมาณ 35 ปีท่านก็ตัดสินใจลาสิกขาแต่การลาสิขาของท่านนั้นลาสิกขาเพียงกาย ในใจยังเป็นนักบวชเต็มตัวเพียงแต่เปลี่ยนมาถือศีล 5 แทนพระวินัยเท่านั้น
ภายหลังลาสิขาแล้ว อาจารย์ชุมก็ได้พบรักกับหญิงสาวชาวพัทลุงคนหนึ่ง คือนางสาวบุญสืบ ซึ่งเป็นธิดาของสมุหบัญชีอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ภายหลังจากดูใจกันระยะหนึ่งทั้งคู่ก็ตัดสินใจร่วมชีวิตคู่ และครองรักกันมาตลอด จนอาจารย์ชุมเสียชีวิตไปในปี พ.ศ. 2525 มีบุตรธิดาด้วยกัน5 คน
แม้ว่าลาสิกขาแล้วอาจารย์ชุมก็ยังไม่ละความสนใจในเรื่องไสยเวท ท่านยังศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง เขียนตำราต่างๆ อย่างต่อเนื่องเรียกว่าขณะนั้นไม่มีใครมีความรู้ในเรื่ื่องสำนักเขาอ้อไปมากกว่าท่านผู้นี้ ท่านจึงได้รับการยอมรับในฐานะนักวิชาการของสำนักเขาอ้อ
ลาสิกขาแล้วอาจารย์ชุมยังไปมาหาสู่พระอาจารย์คงอย่าง ต่อเนื่องได้เข้าไปช่วยในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในฐษนะศิษย์ฆรวาส เพราะตอนนั้นศิษย์สายบรรพชิตที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ค ือพระอาจารย์คง ท่านทั้งสองทำงานคู่กันมาเหมือนกับบรรพบุรุษรุ่นก่อนๆ ของสำนัก เหมือนกับที่อาจารย์นำเคยช่วยพระอาจารย์เอียด
และเนื่องจากตอนนั้นทางบ้านเมืองกำลังเข้าสู่ภาวะการ เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในทางความมั่นคงท่านทั้งสองจึงได้ เข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประเทศชาติ เป็นต้นว่าได้สร้างวัตถุมงคลแจกทหารที่ออกไปสู้รบให้โอวาทเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่นักรบ ทำแบบเดียวกับที่บรรพบุรุษของอาจารย์ชุมคือขุนไชยคีรี เคยทำในการช่วยพระมหาช่วย เมื่อคราวต้านทัพพม่า เพียงอาจารย์ชุมไม่ได้ออกต้านศึกด้วยตัวเอง แต่ทำทุกอย่างเพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารหาญ
อาจารย์ชุมและภรรยาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินที่พัทลุงหลายปี ต่อมาก็ได้ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯโดยครั้งแรกมาอยู่ภายใต้การช่วยเหลือของบรรดาศิษย์จา รย์ชุม จนต่อมาท่านก็ได้สร้างบ้านเรื่อนเป็นของตัวเอง และอยู่กรุงเทพฯเรื่อยมาจนกระทั่งเสียชีวิต
อาจารย์ชุมแม้ครองเพศฆรวาสแล้วท่านก็ไม่ละทิ้งวิถีชีวิตของนักบวชเรียกว่าท่านคงปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ประกอบพิธีกรรมต่างๆเป็นภาระใหญ่ ส่วนการทำมาหาเลี้ยงครอบคร้วส่วนใหญ่ก็เป็นหน้าที่ของภรรยา ภายใต้การช่วยเหลือของบรรดาศิษย์ อาจารย์ชุมมักหาโอกาสออกไปปฏิบัติธรรมตามป่าเขาลำเนาถ้ำอยู่เสมอๆ นอกจากนั้นก็ทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ของสำนักเขาอ้อแก่บรรดาศิษย์ที่สนใจ
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
เผยแผ่บารมี และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์