พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ รถทุกคันต้องทำ เบิกอะไรได้บ้าง สูงสุด 3 แสนบาท

2178
views

รถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ และเป็นสิ่งที่ต้องทำทุกปีตามกฎหมายกำหนด ซึ่ง พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองและชดเชยค่าเบิกจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และในกรณีเกิดอุบัติเหตุมีคนเจ็บ หรือเสียชีวิตสามารถเบิกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ส่วนรายละเอียดจะมีอะไรบ้างตามมาดูกันเลย

ต่อภาษีรถยนต์

ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. (ไม่มีคู่กรณี)

ส่วนนี้เรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ หรือค่าทำศพในกรณีเสียชีวิต ที่ไม่ต้องรอการพิสูจน์ โดยบริษัทจะชดเชยแก่ผู้ประสบภัยหรือทายาท (หากเสียชีวิต) ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ได้รับคำร้อง

1.กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน

2. กรณีเกิดความเสียหายต่อร่างกายเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จะได้รับค่าความเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท/คน ซึ่งได้แก่ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว เสียอวัยวะอื่นใด จิตพิการอย่างติดตัว พิการอย่างถาวร

ขับรถเกียร์ออโต้

3.กรณีบาดเจ็บแล้วได้รับค่ายเสียหายเบื้องต้นทั้งข้อ 1 และ 2 รวมกันไม่เกิน 65,000 บาท/คน

4.กรณีเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพจำนวน 35,000 บาท/คน

5.กรณีเสียชีวิตหลังจากการรักษาพยาบาลจะจ่ายตามข้อ 1 ด้วย แต่รวมกันไม่เกิน เกิน 65,000 บาท/คน

ค่าเสียหายเบื้องต้น (มีคู่กรณี)

รถเฉี่ยวชน

สำหรับความเสียหายตั้งแต่ 2 คันขึ้นไป (เฉี่ยวชน) ทำให้ผู้ขับขี่ หรือผู้ที่โดยสารมากับรถได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต บริษัทประกันของแต่ละคันจะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่รถที่ได้ทำประกันไว้ แต่หากผู้ประสบอุบัติเหตุไม่ได้อยู่ในรถคันคันใดคันหนึ่ง ให้บริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายในอัตราส่วนที่เท่ากัน

การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบอุบัติเหตุต้องยื่นเรื่องภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ โดยมีเอกสารประกอบดังนี้

1.กรณีบาดเจ็บ
1.1 ใบสร็จรับเงินจากโรงพยาบาล หรือใบแจ้งหนี้
1.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้

ขับขี่รถยนต์

2.กรณีเสียชีวิต
2.1 สำเนามรณบัตร
2.2 สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
2.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้

เงินชดเชย (ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น)

บาดเจ็บ

 

บริษัทจะชดใช้เงินเพื่อทดแทนความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต ของผู้ทำ พ.ร.บ.และผู้ทำประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฏหมายต่อผู้ได้ประสบอุบัติเหตุ มีดังนี้

1.ผู้ได้ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่สูญเสียอวัยวะจะได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท/คน

2.กรณีเกิดความเสียหายต่อร่างกายเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง จะได้รับเงินเต็มจำนวนของการคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท/คนได้แก่ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว เสียอวัยวะอื่นใด จิตพิการอย่างติดตัว พิการอย่างถาวร

3. กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินเต็มจำนวนของการคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท/คน

4.กรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในฐานะเป็นคนไข้ในจะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 20 วัน (เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นจากการคุ้มครองดังกล่าว)

พ.ร.บ ต่อภาษีรถยนต์

รถทุกคันต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ และเป็นสิ่งที่ต้องทำทุกปีตามกฎหมายกำหนด ซึ่งพ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองและชดเชยค่าเบิกจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หากไม่มี พ.ร.บ. ก็ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และอาจะมีโทษปรับถึง 10,000 บาท

และภาษีรถยนต์เป็นการเสียภาษีประจำปี เพื่อให้หน่วยรัฐนำไปพัฒนาและปรับปรุงท้องถนน หากไม่ต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนรถ พร้อมถูกเรียกเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลัง และถ้าไม่มีเมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจมีโทษปรับ 400 – 1,000 บาทเลยนะ รู้แบบนี้แล้วอย่าละเลยการต่อพ.ร.บ. และเสียภาษีรถยนต์กัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : (คปภ.)

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร