สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จัดพิธียกเสาเอกการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานโบสถ์พราหมณ์

ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครศรีธรรมราช รายงานว่า เมื่อวันนี้ (17 ต.ค.62) ที่บริเวณหอพระนารายณ์ และหอพระอิศวร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ได้จัดพิธีบวงสรวงเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ เพื่อยกเสาเอกการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานโบสถ์พราหมณ์
มีนายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธี มีนางเสริมกิจ ชัยมงคล ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ข้าราชการในสังกัดและผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ร่วมในพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคล

โดยกรมศิลปากร ได้จัดสรรงบประมาณ งบเหลือจ่ายปีงบประมาณ 2562 จำนวน 2,560,000 บาท ให้สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เป็นผู้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานโบสถ์พราหมณ์ ด้วยการก่อสร้างโบสถ์ขึ้นมาใหม่ในพื้นที่เดิม ลักษณะรูปทรงตัวอาคารแบบเดิม โดยมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2562 – 21 กันยายน 2563 ใช้ระยะเวลา 210 วัน
สำหรับโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นโบราณสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราชมาแต่โบราณ ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับหอพระอิศวรและเสาชิงช้า จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่า โบสถ์พราหมณ์สร้างขึ้นราวสมัยอยุธยา โดยมีฐานะเป็นเทวสถานประจำเมืองนครศรีธรรมราช

ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมสำคัญของพราหมณ์ โดยเฉพาะพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย ภายในเคยประดิษฐานรูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ที่สำคัญหลายองค์ ได้แก่ พระศิวนาฏราชสำริด พระอุมาสำริด พระวิษณุสำริด พระหริหระสำริด พระคเณศสำริดและหงส์สำริด ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2479 ภายหลังโบสถ์พราหมณ์หลังที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยามีสภาพชำรุดมาก จึงถูกรื้อลงในปี พ.ศ. 2505
ต่อมาในปี 2557 สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการขุดค้นโบราณสถานโบสถ์พราหมณ์เพื่อค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับอาคารเดิม จัดทำแบบบูรณะและอนุรักษ์โบราณสถาน ผลการขุดค้นพบฐานรากของโบสถ์พราหมณ์ตั้งอยู่ห่างจากหอพระอิศวรมาทางทิศใต้ 5 เมตร ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 6.5 เมตร ยาว 22 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีการก่อสร้างซ้อนทับกัน 2 สมัย
โบราณวัตถุที่พบ เช่นชิ้นส่วนหินลักษณะคล้ายศิวลึงค์ ชิ้นส่วนเปลวรัศมีสำริด ชิ้นส่วนพระหัตถ์สำริด ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง สมัยราชวงศ์ชิง และสมัยสาธารณรัฐ(หลังพุทธศตวรรษที่ 25 ) โดยมีการนำตัวอย่างอิฐที่พบไปกำหนดอายุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ด้วยเทคนิคเรืองแสงความร้อน(TL) ได้ค่าอายุประมาณ 450-500 ปีมาแล้ว

สำหรับการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณโบสถ์พราหมณ์ในครั้งนี้ ใช้ข้อมูลหลักฐานจากเอกสาร ภาพถ่ายเก่า และภาพลายเส้น ก่อสร้างเป็นอาคารก่ออิฐเปลือย มีหอประดิษฐานรูปเคารพซึ่งตั้งอยู่ภายในอาคาร สามารถใช้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ได้
Ⓜ️ เรื่องที่น่าสนใจ |

เตรียมสละโสด!งานนี้เนื้อคู่มาแน่ๆ ไหว้ขอพรเรื่องความรัก พระศิวะ หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่าพระอิศวร นั้น นอกจากจะทรงเป็นมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล แล้ว พระองค์ทรงเป็นเทพที่ประทานพรวิเศษให้แก่ผู้หมั่นทำความดีและยึดมั่นในศีลธรรมอย่างสม่ำเสมอ ผู้ใดประพฤติตัวเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้ว ปรารถนาสิ่งวิเศษใดๆ พระองค์ก็มักประทานพรที่ต้องการให้ หอพระอิศวรเป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย บูชาพระอิศวรหรือพระศิวะเป็นใหญ่เหนือเทพองค์อื่น ๆ ในศาสนาฮินดู (พราหมณ์) สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ขององค์พระอิศวร ภายในยังประดิษฐานเทวรูปสำริดอื่น ๆ เช่น พระศิวะนาฏราช (เต้นรำ), พระอุมา, พระคเณศและรูปหงส์ ปัจจุบันเทวรูปได้นำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ที่อยู่ในหอพระอิศวรขณะนี้เป็นเทวรูปจำลองทั้งสิ้น หอพระอิศวรจะสร้างมาแต่ครั้งใดนั้นไม่ปรากฏชัด เข้าใจว่าคงสร้างรุ่นเดียวกับหอพระนารายณ์ ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่เจริญควบคู่มากับการตั้งถิ่นฐานของเมืองนครศรีธรรมราช พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ เทพเจ้า 1 ใน 3 แห่งพระตรีมูรติ เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 อันได้แก่ พระพรหม พระนารายณ์ และพระอิศวรพระนารายณ์ถือเป็นพระผู้สงวนปกป้องรักษาโลก เมื่อเกิดเหตุเภทภัยต่างๆพระนารายณ์จะอวตารลงมาปราบทุกข์เข็ญเสมอ หอพระนารายน์ ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับหอพระอิศวร คนละฟากของถนนราชดำเนินในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเทวสถานของพรามณ์…

"สำนักเขาอ้อ" วัดเขาอ้อ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นแหล่งวิทยาคมทางไสยศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่สมัยโบราณ พระเกจิอาจารย์ผู้สืบต่อวิชาทางไสยศาสตร์ต่างก็เป็นที่พึ่งที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป เช่น พระอาจารย์ทองเฒ่าหรือพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พระครูพิพัฒน์สิริธร (อาจารย์คง) วัดบ้านสวน พระอาจารย์ปาน ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ พระอาจารย์นำ แห่งวัดดอนศาลาศิษย์ฆราวาส และที่เป็นฆราวาสที่คนทั่วไปรู้จักกันดีได้แก่ พลตำรวจตรีขุนพันธ์รักษ์ราชเดช อาจารย์ชุม ไชยคีรี อาจารย์ฉันทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช อาจารย์เปลี่ยน หัทยานนท์ อาจารย์ประจวบ คงเหลือ ฯลฯ ล้วนเป็นศิษย์สำนักพุทธาคมเขาอ้อที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือทั้งสิ้น วัดเขาอ้อหรือสำนักเขาอ้อมีลักษณะคล้ายสำนักทิศาปาโมกข์ของพราหมณ์ หรือฤษีผู้ทรงคุณวิชาที่ถ่ายทอดนอกจากวิชาการปกครองตามตำราธรรมศาสตร์แล้ว พราหมณ์ผู้ทรงคุณวุฒิได้ถ่ายทอดเรื่องพิธีกรรมฤกษ์ยามการจัดทัพตามตำราพิชัยสงครามตลอดจนไสยเวทย์ และการแพทย์ เขาอ้อเป็นแดนศักดิ์สิทธิ์ มีต้นอ้อขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นที่มาของชื่อเขาอ้อ เขาอ้อเคยเป็นถิ่นที่พำนักของพราหมณ์ เดิมเขาอ้อไม่ใช่วัด แต่เป็นที่ปฏิบัติธรรมของพราหมณ์ และดาบส เป็นที่เร้นกายของผู้ทรงศีล เมืองพัทลุงในอดีตเรียกว่าเมือง สทิงปุระตั้งอยู่บนคาบสมุทรสทิงพระ สทิงปุระ…

วันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 และในวันมาฆบูชาของทุกปี จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้บูรณาการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันจัดงานมาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ เนื่องในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเป็นประจำทุกปี จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมการจัดงานมาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจำปี 2563 โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2563 วันนี้ (27 พ.ย.62) ที่ห้องประชุมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุมเพื่อปรึกษาหารือเตรียมการจัดงานมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจำปี 2563 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2563 วันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3…