วันออกพรรษา ประเพณีชักพระ “วัดร่อนนา” (พระแม่เศรษฐี) อ.ร่อนพิบูลย์ นครศรีธรรมราช

10468
views
ชักพระวัดร่อนนา

วันออกพรรษา ประเพณีชักพระ วัดร่อนนา (พระแม่เศรษฐี) ประเพณีประจำปี #เรือพระไม่มีล้อ อาศัยความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ ถึงสามารถทำให้เรือพระเคลื่อนไปได้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช สาธุ สาธุ

พระแม่เศรษฐีวัดร่อนนา พระคู่บ้านคู่เมืองเป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ พระที่พึ่งของชาวอำเภอร่อนพิบูลย์และ ชาวนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง โดยแต่ละวันจะมีประชากรทั้งใกล้และไกลเดินทางมากราบไหว้ ขอพรต่อพระแม่เศรษฐี

บางส่วนที่บนบานไว้สำเร็จสมประสงค์จะนำดอกไม้ธูปเทียนปิดทองคำเปลวและจุดลูกประทัดแก้บนจนเสียงดังกระนั่นจนเป็นกิจประจำวันไปเสียแล้วด้วย ส่วนอภินิหารของท่านนั้นชาวร่อนพิบูลย์รู้กันดี

ชักพระวัดร่อนนา

ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง

ชักพระวัดร่อนนา

ประเพณีชักพระเล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนาน ว่า หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี แล้วได้เสร็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นทรงจุติเป็นมหามายาเทพ สถิตอยู่ ณ ดุสิตเทพพิภพตลอดพรรษา

ชักพระวัดร่อนนา

พระพุทธองค์ทรงประกาศพระคุณของมารดาแก่เทวสมาคมและแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา ๗ คัมภีร์ จนพระมหามายาเทพและเทพยดา ในเทวสมาคมบรรลุโสดาบันหมด

ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษา พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษยโลกทางบันไดทิพย์ ที่พระอินทร์นิมิตถวาย บันไดนี้ทอดจากภูเขาสิเนนุราชที่ตั้งสวรรค์ ชั้นดุสิตมายังประตูนครสังกัสสะ ประกอบด้วยบันไดทอง บันไดเงินและบันไดแก้ว

ชักพระวัดร่อนนา

บันไดทองนั้นสำหรับเทพยดา มาส่งเสด็จอยู่เบื้องขวาของพระพุทธองค์ บันไดเงินสำหรับพรหมมาส่งเสด็จอยู่เบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ และบันไดแก้วสำหรับพระพุทธองค์อยู่ตรงกลาง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ประตูนครสังกัสสะตอนเช้าตรู่ของวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษานั้น

พุทธศาสนิกชนที่ทราบกำหนดการเสด็จกลับของพระพุทธองค์จากพระโมคคัลลานได้มารอรับเสด็จ อย่างเนืองแน่นพร้อมกับเตรียมภัตตาหารไปถวายด้วย

แต่เนื่องจากพุทธศาสนิกชนที่มารอรับเสด็จมีเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถจะเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทั่วทุกคน จึงจำเป็นที่ต้องเอาภัตตาหารห่อใบไม้ส่งต่อ ๆ กันเข้าไปถวายส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปมาก ๆ จะส่งต่อ ๆ กันก็ไม่ทันใจ

จึงใช้วิธีห่อภัตตาหารด้วยใบไม้โยนไปบ้าง ปาบ้าง ข้าไปถวายเป็น ที่โกลาหล โดยถือว่าเป็นการถวายที่ตั้งใจด้วยความบริสุทธิ์ด้วยแรงอธิษฐานและอภินิหารแห่งพระพุทธองค์ ภัตตาหารเหล่านั้นไปตกในบาตรของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น

ห่อต้ม

เหตุนี้จึงเกิด ประเพณี “ห่อต้ม” “ห่อปัด” ขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความปิติยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชน ได้อัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้ แล้วแห่แหนกันไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ครั้นเลยพุทธกาลมาแล้วและเมื่อมีพระพุทธรูปขึ้น พุทธศาสนิกชนจึงนำเอาพระพุทธรูปยกแห่แหนสมมติแทนพระพุทธองค์

ชักพระวัดร่อนนา (พระแม่เศรษฐี) อ.ร่อนพิบูลย์ เรือพระที่ไม่มีล้อ ลากไปด้วยความศรัทธา

ภาพ – อดิศักดิ์ เดชสถิตย์

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร