งานประเพณีลากพระและแข่งขันเรือเพรียว ปี ๒๕๖๓ “อารยธรรมแห่งสายน้ำ เอกลักษณ์งามเมืองปากพนัง” ณ ศาลาประชาสันต์ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช วันที่ ๑-๕ ตุลาคม ๒๕๖๓
นายสมศักดิ์ กล้าสุคนธ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองปากพนัง เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 1-5 ตุลาคม 2563 นี้ เทศบาลเมืองปากพนังร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ กำหนดจัดงานประเพณีลากพระและแข่งขันเรือเพรียวชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2563 ที่บริเวณศาลาประชาสันต์ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
งานประเพณีลากพระและแข่งขันเรือเพรียวชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2563 ในระหว่างวันที่ 1-5 ตุลาคม ณ บริเวณศาลาประชาสันต์ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช.
เทศบาลเมืองปากพนัง ยังคงอนุรักษ์และสืบสานประเพณีลากพระทางน้ำเอาไว้เป็นอย่างดี และเนื่องจากในปัจจุบันการคมนาคมทางบกสะดวกมากขึ้น ทำให้วัดต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่ อ.ปากพนังและใกล้เคียงกันมาลากพระทางบก แต่ก็ยังคงมีการลากพระทางน้ำแบบดั่งเดิมควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งยังจัดให้เป็นงานที่มีความยิ่งใหญ่มากยิ่งขึ้น
การจัดงานประเพณีลากพระ หรือ “ชักเรือพร” เมืองปากพนังมีมาตั้งแต่สมัยใดยังไม่แน่ชัด แต่มีหลักฐานว่าในปีพ.ศ.1272 มีประเพณีนี้ปรากฏอยู่ และสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ เป็นงานบุญและงานสนุกสนานของชาวบ้าน โดยถือเอาเทศกาลออกพรรษาเป็นช่วงเวลาจัดงาน
ปัจจุบันรูปแบบของการจัดงานอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามความเหมาะสมแห่งยุคสมัย มีการ “คาดเรือพระ” ซึ่งหมายถึงนำเรือมาเทียบเคียงกันประมาณ 2 ลำ หรือ 3 ลำ โดยยึดโยงเพื่อไม่ให้แยกออกจากกันได้ แล้วสร้างเป็นบุษบก หรือที่เรียกกันว่า “นมพระ” (นม คือ พนม) มีการตกแต่งแข่งขันกัน เพื่อความสวยงาม
อีกทั้งยังมีการอัญเชิญ”พระลาก”ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำวัดแต่ละแห่ง มาประดิษฐานบนบุษบกกลางลำเรือและในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 และในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะช่วยกันลากพระทางน้ำไปทางปากแม่น้ำปากพนัง
ซึ่งจะมีเรือแจวและเรือพายของชาวบ้านจำนวนมากพายมาในแม่น้ำปากพนัง เพื่อร่วมกิจกรรม “ซัดหลุด” (คือการขุดเอาโคลนปากอ่าวแม่น้ำปากพนังใส่เรือแล้วปาใส่กัน) อย่างสนุกสนาน
จะเป็นคนรู้จักกันหรือไม่รู้จักกันก็ตามแต่จะไม่มีการถือโทษโกรธเคืองกัน นนใกล้เที่ยงพระฉันเพลในเรือพระ และตกบ่ายชาวบ้านก็จะลากจูงเรือพระกลับวัด เมื่อเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมชาวบ้านก็จะช่วยกันแกะหรือรื้อเครื่องประกอบเรือเพื่อเก็บไว้ใช้งานในปีต่อไป
จวบจนถึงปัจจุบันเทศบาลเมืองปากพนัง ยังคงอนุรักษ์และสืบสานประเพณีลากพระทางน้ำเอาไว้เป็นอย่างดี
นับเป็นงานประเพณีบุญช่วงออกพรรษา ที่สำคัญและยิ่งใหญ่ทั้งการ “ลากพระบกและลากพระน้ำ”ที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งในเมืองไทย
ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..
ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.