ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทางสายกลางเพื่อความดับทุกข์

4778
views
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา

วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบบริบูรณ์

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงแนวทางดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง แนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึง”อริยสัจทั้ง ๔” คือ “อริยมรรคมีองค์ ๘”

โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

พุทธ

เนื้อหาของ”ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”

..ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ คือ ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ การเข้าใจว่า “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” ล้วนแต่ เป็นทุกข์ แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง

ภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุทัย) มีอย่างนี้ คือ ความอยากเกินควร ที่เรียกว่า ทะยานอยาก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ ได้แก่ ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่

ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธ

ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็๋น เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ ดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง มิให้ตัณหาเหลืออยู่ สละตัณหา ปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มีเยื่อใยในตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

ดูกร…ภิกษุทั้งหลาย…ข้อปฏิบัติให้กิเลศหมดไปจากใจนั้นมี ๘ อย่าง คือ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

๑.สัมมาทิฏฐิ…คือ…มีปัญญาชอบ หมายถึง ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยสติและปัญญา

๒. สัมมาสังกัปโป…คือ…มีความดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม ไม่หลุมหลงมัวเมาในสิ่งไม่ดี

๓. สัมมาวาจา…คือ…มีวาจาชอบ หมายถึง มีถ้อยคำที่ดีงาม สุภาพเต็มไปด้วยการให้เกียรติและเป็นถ้อยคำที่สร้างสรรค์ ไม่เพ้อเจ้อไร้สาระ

๔.สัมมากัมมันโต…คือ…มีความประพฤติชอบ หมายถึง การประพฤติดีงาม อยู่ในทำนองคลองธรรม

๕. สัมมาอาชีโว…คือ มีอาชีพที่ชอบ(ธรรม) หมายถึง ประกอบอาชีพที่ดี ไม่คดโกง ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนผู้อื่น

๖. สัมมาวายาโม…คือ…มีความมานะชอบ หมายถึง ความอุตสาหะพยายาม มีความอดทนมีความเพียรต่อการปฏิบัติงาน

๗. สัมมาสติ…คือ…การมีสติที่ชอบ หมายถึง การมีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่เลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัว

๘. สัมมาสมาธิ – การมีสมาธิชอบ หมายถึง การมีเป้าหมายที่ดีในชีวิตโดยไม่มีสิ่งใดที่จะมาทำให้เปลี่ยนแปลงได้ เหล่านี้คือข้อปฏิบัติเพื่อนำจิตใจให้หมดไปจากกิเลส และเป็นการดับทุกข้ได้อย่างแท้จริง

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

พระคาถา “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” นี้นับเป็นพระสูตรบทแรก จึงมีอานิสงส์มาก ท่านใดได้สวดบทธรรมจักรบทนี้เป็นประจำ จะทำให้ชีวิตดี มีความเจริญรุ่งเรืองไม่ว่าจะเป็นกิจการงานแขวงใด และยังเป็นบทสวดที่ปลดเปลื้องทุกข์ภัยต่าง ๆได้อีกด้วย จะมีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามาสู่ตัวผู้สวด จะหยิบจับจะทำอะไรก็สำเร็จง่ายดาย

อีกทั้งยังทำให้ผู้สวดมีอายุยืนยาว มีความสุขกาย สุขใจ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เป็นทางสายเอกสายเดียวที่จะนำพามหาชนไปสู่พระนิพพาน

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร