โอม มหาสิทธิโชคอุดม โอม ปู่เจ้าเขาเขียว มีลูกสาวคนเดียวชื่อนางกวัก.. หากเอ่ยชื่อนางกวัก ไม่ว่าคงก็รู้จัก เรามักจะเห็นนางกวักนั้นอยู่ตามร้านค้าต่างๆ เป็นที่นิยมบูชาของพ่อค้าและแม่ค้ากันมาก ต้นกำเนิดของนางกวักมาจากวรรณคดีเรื่อง “รามเกียรติ์”
เป็นลูกบุญธรรมของปู่เจ้าเขาเขียว เป็นกำพร้ามาตั้งแต่เด็ก มีนิสัยน่ารัก รูปร่างหน้าตาดี ใครเห็นใครก็นิยมชมชอบ
ในเนื้อเรื่องนั้นปู่เจ้าเขาเขียวให้นางกวักไปอยู่กับหญิงที่ชื่อนางศรีประจันต์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่รังเกียจของชาวบ้านเป็นย่างมาก แต่พอนางกวักเข้าไปอยู่ด้วยไม่นาน ก็ทำให้ชาวบ้านนั้นกลับมีใจรักใคร่นางศรีประจันต์ อย่างผิดหูผิดตา
ดังนั้นทำให้คนที่บูชานางกวักนั้นเชื่อว่า นางกวักให้คุณในเรื่องของคามเจริญรุ่งเรืองในบ้านทำให้ครอบครัวอยู่อย่างร่มเย็น ทำให้เป็นที่รักของผู้อื่น หากทำกิจการค้าขายจะช่วยในเรื่องของการเรียกลูกค้า อีกทั้งยังนำพาโชคลาภเข้ามาสู่ตนเองและคนในครอบครัว
การจัดวางนางกวัก โดยส่วนมากร้านค้า มักจะนำไปวางบนหิ้งที่อยู่หน้าร้าน ให้หันหน้าของนางกวักออกหน้าร้าน เพราะจะได้เรียกลูกค้าและโชคลาภ เงินทองเข้ามาในร้าน
หรือไม่ก็ตั้งหิ้งไว้ด้านขวาของประตูให้มือนางกวักอยู่ใกล้ประตูมากที่สุด แต่ควรตั้งหิ้งให้ตำกว่าหิ้งพระ ไม่ควรตั้งหิ้งไว้ต่ำหรือไว้ในที่สกปรกอัปมงคลอย่างเช่นหน้าห้องน้ำ ใต้บันได
การบูชานั้นควรบูชาทุกเช้าก่อนเริ่มเปิดกิจการหรือทำงาน เพื่อให้เป็นสิริมงคล และเป็นการเรียกเงินทองให้ไหลมาเทมา สิ่งที่ใช้บูชานั้นเป็นผลไม้ เครื่องคาวหวาน ดอกไม้สีแดงหรือสีขาวก็ได้
จากนั้นจุดธูป ๙ ดอก พร้อมด้วยเครื่องประดับผู้หญิง อย่างกำไล สร้อย ผ้าแพรหลากสี เป็นต้น จะทำให้อนุภาพของนางกวักนั้นมีมากขึ้น พร้อมทั้งท่องคาถาบูชานางกวักว่า
“โอม มหาสิทธิโชคอุดม โอม ปู่เจ้าเขาเขียว
มีลูกสาวคนเดียวชื่อนางกวัก
ชายเห็นชายรัก หญิงเห็นหญิงทัก รู้จักทั้งตำบลคนรักทั่วหน้า
โอม พวกพานิชชาค้าหัวแหวน พากูไปค้าถือเมือง
ค้าแหวนก็ได้แสนทะนาน สารพัดการได้กำไรคล่องๆ
กูค้าเงินก็เต็มกอง ทองก็เต็มหาบ
กลับมาสามเดือนเป็นเศรษฐี สามปีเป็นเป็นพ่อค้าสำเภา
โอมปู่เจ้าเขาเขียว ประสิทธิ์ให้แก่กูคนเดียวสวาหะ”