ทาน.. แปลว่าการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนกลับ แต่เป็นการให้เพื่อปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข การที่คนเราต้องให้ทานกับผู้อื่นก็เพราะ…
โดยปกติธรรมชาติแล้วจิตของมนุษย์เราทุกคนมีความยึดมั่นหวงแหน ตระหนี่ในสิ่งที่ตนเองครอบครอง และ มีความอยากจะครอบครองสิ่งที่ตนเองยังไม่มี เมื่อจิตไม่มีการควบคุม ก็มีโอกาสที่จะนำไปสู่การกระทำที่ก่อให้เกิดการเบียดเบียนซึ่งกันและกันกลายเป็น “กรรม” ขึ้นมาอีก
ผู้ที่ต้องการจะหนีพ้นกรรมให้ได้จึงต้องหมั่นทำทานให้ได้ก่อน และทานที่ควรฝึกให้ก่อนอย่างอื่นเลยก็คือ “อภัยทาน”
อภัยทานก็คือการยกโทษให้ เป็นการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษถึงแม้การให้อภัยจะเป็นการกระทำที่ไม่สามารถทำได้ไม่ง่ายนักสำหรับบางคนที่ไม่เคยฝึกอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย
เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก ทานชนิดนี้เป็นการให้ด้วยใจ ไม่ต้องใช้วัตถุใดๆ หรือต้องทำอะไรให้ยุ่งยากทั้งสิ้น
ตัวอย่างเช่น เวลาที่เราขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้นรถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้ต้องเข้ามาเบียดแย่งกันขึ้นไปข้างหน้า ทั้งๆ ที่คนๆนั้นยืนอยู่ข้างหลังการกระทำนี้แม้จะไม่สมควร อาจทำให้จิตเกิดความโกรธขึ้นมา
ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าจะโกรธน้อยหรือโกรธมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา
เป็นเรื่องเล็กน้อยที่ควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางครั้งที่ไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกรธแล้วจะหายโกรธไปเอง
อาการโกรธแล้วหายโกรธเอง กับอาการโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้ได้อภัยแล้วนั้น ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดาในทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ
ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการอบรมหรือบริหารจิตให้มีพลังเข้มแข็งแต่อย่างใด ต่างกับอาการโกรธแล้วหายโกรธได้เพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น
เมื่อเรามีจิตเป็นอภัยทานอยู่ได้ตลอดเวลา การกระทำทานอย่างอื่นก็ยิ่งเป็นเรื่องง่าย เพราะความโลภความตระหนี่สามารถละได้ง่ายกว่าความโกรธ และเคียดแค้น จิตก็จะยิ่งมีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น ทีนี้การให้ทานที่เป็นวัตถุทานก็จะมีผลอานิสงส์สูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน
การสร้างบุญด้วยจิตแห่งอภัยทาน
ในการทำทานตามหลักของพระพุทธศาสนานั้นมีข้อกำหนดอยู่ ๓ ประการใหญ่ที่จะก่อให้เกิดพลังบุญได้มากที่สุดขึ้นอยู่กับองก์ ๓ ประการคือ
๑.๑ วัตถุทานบริสุทธิ์ คือ เป็นของที่หามาได้จากน้ำพักน้ำแรงของเราเอง เกิดจากการทำมาหากินอย่างสุจริต คำว่าสุจริตก็คือ สุ+ จริต อันหมายถึงความคิดดีไม่ได้ไปฉ้อโกงใครมาจะเป็นบาทฐานกำลังที่ ๑ที่จะทำให้ทานนั้นมีพลังสูง และมีผลมากกว่าสิ่งที่ได้มาโดยการเบียดเบียนแย่งชิงกันมาเพื่อนำมาทำบุญ
เคล็ดสำคัญก็คือ หากวัตถุทานที่จะนำไปทำบุญนั้นได้ทำขึ้น หรือได้มาด้วยจิตที่ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขเช่น การทำกับข้าวใส่บาตรพระด้วยมือของตนเอง ตั้งใจปรุงอย่างเต็มที่สุดฝีมือให้อาหารสะอาดสดใหม่และมีคุณค่าทางโภชนาการวัตถุทานนั้นก็ยิ่งส่งผลบุญให้เกิดแก่ตนเองมากยิ่งขึ้น และก่อประโยชน์กับผู้รับทานอย่างเต็มที่ด้วย
ทานอีกประการหนึ่งที่มีความบริสุทธิ์มากและมีพลังมากยิ่งๆขึ้นไปกว่าวัตถุทาน ก็คือ การให้ ธรรมทาน นั้นแหละจะเป็นทานที่มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่และช่วยคลายกรรมหนักให้เป็นเบาได้เร็ว
เพราะธรรมทานเป็นความรู้ความเข้าใจในความเป็นจริง เสมือนการสอนและบอกผู้อื่นไปด้วยว่า การสร้างความทุกข์ความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นนั้นจะ มีผลเสียหายหลายอย่าง จึงทำให้ตัวของผู้สร้างกรรมต้องติดหนี้ และต้องทนทุกข์ทรมานมากมาย
หากได้ให้ธรรมทานแก่ผู้อื่น ก็เท่ากับการที่เราได้ใช้วิธีการ ให้ผู้อื่นได้เกิดความเข้าใจและปรับความคิดให้กลายเป็นสัมมาทิฐิ มองเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงว่า ทุกอย่างมันไม่เที่ยงไม่ทนไม่แท้ ได้แสงแห่งธรรมนำทางก็จะปล่อยมือละวางจากสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
๑.๒ เจตนาการให้บริสุทธิ์ เจตนาการให้ก็คือ ความปรารถนาที่ต้องการให้คนที่ติดค้างกรรมกับเรา คือเหล่าเจ้ากรรมนายเวรให้เขามีความสุข และพ้นจากสภาพทุกข์ทรมาน ไม่ใช่เพื่อต้องการให้เราได้เสพสุขและหวังในผลแห่งทานนั้น ว่าเราทำทานแล้วจะรวย จะได้ลาภ
ซึ่งหากตั้งเจตนาไว้ผิดๆ เช่นนี้ก็เปรียบเหมือนการให้ของแล้วเสียดายอยากเก็บไว้ ผู้รับย่อมคลางแคลงใจในเจตนา จะกินก็กินได้ไม่อิ่ม ใช้ก็ใช้ได้ไม่สะดวกผลแห่งทานนั้นก็ไม่ค่อยมีประโยชน์อันใดก่อให้เกิดขึ้นมากนัก
๑.๓ ผู้รับทานนั้นบริสุทธิ์ ผู้รับทานนั้นเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญ เปรียบเหมือนผู้เป็นบุรุษไปรษณีย์คอยรับและส่งบุญกุศลให้กับเจ้าหนี้ของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งผู้รับมีความบริสุทธิ์มากเท่าใดผลบุญกุศลก็มีโอกาสถึงมือเจ้าหนี้ของเรามากและให้ผลมากเท่านั้น เพราะเราฝากบุญส่งถูกคน
ในทางกลับกันถ้าเราฝากจดหมายไปกับ คนที่ไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์ จดหมายนั้นก็คงถึงช้ามาก หรืออาจไม่ถึงเลยก็ว่าได้
จากหนังสือเรื่อง เคล็ดวิชาศักดิ์สิทธิ์ ๗ พ้นเวร พ้นกรรม รวยฉับพลันต้องทำอย่างไร โดย อมตะ เทพรักษา
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..
เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.