การทำบุญในยุคสมัยก่อน คนรู้จักเพียงการใส่บาตรตอนเช้า สวดมนต์ไหว้พระตอนตื่นนอน และก่อนเข้านอน รวมถึงการไปวัดในวันอาทิตย์
เมื่อยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น องค์ความรู้ต่างๆ ถูกตีแผ่ขยายมากขึ้น รูปแบบการทำบุญจึงถูกพัฒนาและมีความเปลี่ยนแปลงไป
จากใส่บาตรกันเฉพาะส่วนบุคคล หรือเฉพาะครอบครัวตอนเช้า ก็เป็นการใส่บาตรรวมกันเป็นหมู่คณะใหญ่ในอีเวนท์ต่างๆ
จากที่เคยสวดมนต์นั่งสมาธิที่บ้านก็มีค่ายปฏิบัติธรรม สถานปฏิบัติธรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย มีทั้งที่ทำได้ตามหลักที่ถูกต้อง และมีไม่น้อยเช่นกันที่มีการดัดแปลงและเติมแต่งกันไป
รูปแบบการทำบุญ ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ระบุวิธีการทำบุญไว้ ๓ อย่าง เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ได้แก่
๑. ทานมัย ทำความดีด้วยการให้
๒. ศีลมัย ทำความดีด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย
๓. ภาวนามัย ทำความดีด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ
คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาสังคีติสูตร ขยายความเพิ่มอีก ๗ ประการ จึงรวมเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ได้แก่
๔. อปจายนมัย ทำความดีด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
๕. เวยยาวัจจมัย ทำความดีด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้
๖. ปัตติทานมัย ทำความดีด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น ช่วยเหลือแก่สังคมรอบข้าง
๗. ปัตตานุโมทนามัย ทำความดีด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น การยอมรับหรือยินดีในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น เมื่อใครไปทำบุญมาก็รู้สึกชื่นชมยินดีไปด้วย
๘. ธัมมัสสวนมัย ทำความดีด้วยการฟังธรรม จะทำให้เราได้ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ทั้งต่อสติปัญญา และการดำเนินชีวิต
๙. ธัมมเทสนามัย ทำความดีด้วยการสั่งสอนธรรม การให้ธรรมะหรือข้อคิดที่ดีๆ แก่ผู้อื่น
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ทำความดีด้วยการทำความเห็นให้ตรง เหมาะสม การไม่ถือทิฐิ เอาแต่ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่
อปจายนมัยและเวยยาวัจจมัยจัดเข้าในสีลมัย ปัตติทานมัยและปัตตานุโมทนามัยจัดเข้าในทานมัย ธัมมัสสวนมัยและธัมมเทสนามัยจัดเข้าในภาวนามัย ทิฏฐุชุกัมม์ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา
จะเห็นได้ว่าในหลักของการสร้างบุญ การสร้างบุญที่ต้องใช้เงินสร้างมีเพียงรูปแบบเรื่อง ทานเท่านั้น ที่ต้องใช้กำลังทรัพย์หรือสิ่งของ ข้ออื่นๆ ไม่ต้องใช้เงินเลย
อย่างไรก็ตาม การทำบุญด้วยทานก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้บุญในข้ออื่นๆ มีกำลังใจและมีพลังเต็มไปด้วย เพราะคนเราถ้าไม่รู้จักสละออกแล้ว
ทำความดีอะไรก็ทำไม่ขึ้น พระพุทธเจ้าจึงระบุเรื่องการรู้จักให้และสละออกเอาไว้เป็นข้อแรก และอย่าลืมเป็นอันขาดว่า บุญนั้น “วัดด้วยเจตนา” มิใช่ “จำนวนเงิน”
เรียบเรียง ที่มา : ธ.ธรรมรักษ์
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..
เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.