☆ สาระ-น่ารู้

ศรัทธา เชื่อมั่น ไม่สงสัย สัจจะองค์เทพฯ ภาระ “คนมีองค์เทพ” ที่ได้รับมอบหมาย

มนุษย์เมื่อรู้ว่าจำเป็นต้องรับขันธ์ เพื่อยอมอุทิศตนเป็นร่างให้กับองค์เทพแต่ละองค์นั้น ก็จำเป็นต้องทราบว่า ควรจะปฏิบัติตนอย่างไรจึงสมควรแก่ภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังเช่น

1. การปฏิบัติตัว คือการทำตนเองให้เป็นนักบุญ หมั่นแสวงหาบุญกุศลเหมือนการสร้างสั่งสมบารมีให้มากที่สุด เช่น การไหว้พระสวดมนต์ ทำบุญใส่บาตร ถือศีล กินเจ สมาธิภาวนา

2. การปรนนิบัติ คือการใช้หนี้ใช้สิน อันเกิดจากชาตินี้และชาติที่ผ่านมา รู้จักกตัญญูและกตเวที เช่น การปรนนิบัติ บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ เป็นต้น

3. การโปรดสัตว์ คือการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ หรือสัตว์โลกทั้งหลายให้พ้นทุกข์ เท่าที่จะสามารถทำได้ รู้จักมีเมตตาธรรมนั่นเอง

ส่วนสิ่งที่มนุษย์จะได้รับตอบแทนจากองค์เทพนั้น ขึ้นอยู่กับการอธิษฐานขอในตอนครอบขันธ์ ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมไม่เกินกฏแห่งกรรม

ลักษณะของชั้นเทพ

ลักษณะของจิตวิญญาณในระดับต่าง ๆ ที่ลงมาประทับทรงหรือเข้าทรงมนุษย์นั้น หากเรารู้จักสังเกตุให้ดี ก็พอจะแยกได้ว่า เป็นเทพหรือเป็นผี โดยอาศัยหลักพิจารณาโดยสังเขปดังนี้

1. ประทับทรงจากส่วนล่าง จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากปลายเท้าขึ้นมา มักจะเป็นพวกสัมภเวสี หรือ วิญญาณมนุษย์ที่ตายไปแล้ว

2. ประทับทรงจากด้านหลัง จิตวิญญาณใดประทับทรงจากด้านหลัง มักจะเป็นวิญญาณทั่วไปที่มีฤทธิ์อำนาจ ซึ่งมักจะเรียกขานกันว่า เจ้าพ่อ เจ้าแม่ เจ้าปู่ ฯลฯ

3. ประทับทรงจากด้านหน้า จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากด้านหน้า มักจะเป็นวิญญาณของมนุษย์ที่ไปเกิดเป็น เทวดาชั้นจาตุมฯ ที่อยู่ใกล้ชิดมนุษย์

4. ประทับทรงจากทางบ่า จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากทางบ่า มักจะเป็นเทพหรือดาบสที่มีฤทธิ์ ในระดับกลาง ๆ

5. ประทับทรงจากกลางกระหม่อม จิตวิญญาณใดที่ประทับทรงจากส่วนศรีษะหรือกระหม่อม มักจะเป็นเทพในระดับสูง


ภาพ – fb พระแม่ศรีมหาอุมาเทวีชลบุรี ศรัทธาธรรม ศรัทธาเทพ

admin

Recent Posts

จากความเชื่อ “เปรต” ผีที่หิวโหย 12 ตระกูล 21 จำพวก

เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..

2 weeks ago

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.