❖ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ

เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง พระภิกษุสงฆ์ หรือประชาชนทั่วไป

โดยกระทรวงนี้ จะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมเป็นตุลากร มีหน้าที่สอบสวนพิจารณาโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทางไสยศาสตร์ เรื่องคุณไสยโดยเฉพาะ โดยจะมีอำนาจหน้าที่พิจารณาความ การถูกกล่าวหาว่าเป็นกระสือกระหัง ทำเวทมนต์อาคม ใส่ว่านยา ทำเสน่ห์ยาแฝด หรือควายธนู โดยผู้เสียหายไม่ถึงตาย หรือคดีพราหมณ์โยคีเป็นโจทก์จำเลยหาความกัน เป็นต้น

ชื่อกระทรวง “แพทยาคม” มาจากคำว่า แพทย + อาคม
คำว่า “แพทย” มีความหมายว่า หมอรักษาโรค
คำว่า “อาคม” มีความหมายว่า เวทมนตร์
รวมกันมีความหมายว่า “หมอรักษาโรคเกี่ยวกับเวทมนตร์”

“กระทรวงแพทยาคม” ไม่ปรากฎแน่ชัดว่าเกิดขึ้นสมัยใด แต่ตามประวัติศาสตร์ถูกกว่าถึงในหลายรัชสมัย เช่น พระเจ้าอู่ทอง พระเจ้าทรงธรรม แต่ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ได้ปรากฏ “กระทรวงแพทยาคม” เพื่อชำระคดีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับคุณไสย เสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปด้วยวิทยาคมเอาไว้

เพิ่มเติมคำว่า “วิทยาคม” มาจาก วิทย + อาคม
คำว่า “วิทย” มีความหมายว่า ความรู้
คำว่า “อาคม” มีความหมายว่า เวทมนตร์
รวมกันมีความหมายว่า “ความรู้เกี่ยวกับเวทมนตร์”
(ส่วน “วิทยาคม” ที่เห็นในชื่อโรงเรียนนั้น คำว่า “อาคม” มีอีกความหมาย คือ การมาถึง ดังนั้น วิทยาคม, พิทยาคม ในชื่อโรงเรียน จึงมีความหมายว่า “การมาถึงของความรู้”)

กลับมาต่อดีกว่า “กระทรวงแพทยาคม” หรือ “ศาลกระทรวงแพทยา” จะมีผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาคมเป็นตุลากร มีหน้าที่สอบสวนพิจารณาโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทางไสยศาสตร์ เรื่องคุณไสยโดยเฉพาะ โดยจะมีอำนาจหน้าที่พิจารณา ความกล่าวหาว่าเป็นกระสือกระหัง ทำเวทมนต์อาคม ใส่ว่านยา ทำเสน่ห์ยาแฝดยาเมา รีดลูก โดยผู้เสียหายไม่ถึงตาย หรือคดีพราหมณ์โยคีเป็นโจทก์จำเลยหาความกัน เป็นต้น ถ้าความเกิดในหัวเมือง “ขุนหมื่นกรมแพทยาหัวเมือง” เป็นผู้พิจารณา

แต่ “กระทรวงแพทยาคม” หรือ “ศาลกระทรวงแพทยา” มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น จนกระทั้งถูกลดบทบาทและอำนาจจาก “ศาลกระทรวงแพทยา” เป็น “ศาลกรมแพทยา” ในรัชสมัยรัชการที่ ๓ ปี ๒๓๘๐ และในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ เกิดการปฏิรูปหลายอย่างในแผ่นดิน หนึ่งในนั้นคือ “การปฏิรูปศาล” เนื่องจากเกิดวิกฤตทางการศาล และท้ายที่สุด “ศาลกรมแพทยา” ถูกยุบลง เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๓๔ เพราะถูกมองว่าล้าหลัง ไม่ทันสมัย ประกอบกับเวลานั้น รัชกาลที่ ๕ มีนโยบายพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมชาติมหาอำนาจ จึงต้องยกเลิกกระทรวงนี้ไปในที่สุด

ที่มา หนังสือเรื่อง “ThaiLand Only เรื่องแบบนี้ มีแต่ไทย ๆ” หน้าที่ ๗๙ พิมพ์ครั้งที่ ๑

admin

Recent Posts

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

3 weeks ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

4 weeks ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ประวัติ ความเป็นมา เทศกาลไหว้พระจันทร์ กับ ตำนาน “ฉางเอ๋อ” เทพธิดาแห่งดวงจันทร์

วันไหว้พระจันทร์ 🌙 ภาษาจีน คือ "中秋节" (จงชิวเจี๋ย) ส่วนวันไหว้พระจันทร์ภาษาอังกฤษ คือ Moon Festival หรือ Mid-Autumn Festival (เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง) เทศกาลไหว้พระจันทร์… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

8 กันยายน วันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day)

8 กันยายน วันการรู้หนังสือสากล องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศให้วันที่ 8 กันยายนของทุกปีเป็นวันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day) เพื่อส่งเสริมความสำคัญของการรู้หนังสือแก่ประชาชน ชุมชนและสังคม ภายใต้แนวคิดว่าด้วยการขจัดการไม่รู้หนังสือของประชากรโลก การรู้หนังสือจะเป็นโอกาสให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเสรี มีชีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากการดำรงชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างมีอิสรภาพ… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

This website uses cookies.