☆ สาระ-น่ารู้

อันตรายหน้าฝน เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยง “โรคไข้ดิน”

 อันตรายหน้าฝน เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยง “โรคไข้ดิน”

กรมควบคุมโรค เตือน!! เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยงโรคไข้ดิน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน แนะสวมรองเท้าบูท ล้างเท้าบ่อย ๆ “โรคไข้ดิน” เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตเลี่ยงสัมผัสดินและน้ำเมื่อมีบาดแผล”

กรมควบคุมโรค เตือน!! เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยงโรคไข้ดิน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน แนะสวมรองเท้าบูท ล้างเท้าบ่อย ๆ “โรคไข้ดิน” เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตเลี่ยงสัมผัสดินและน้ำเมื่อมีบาดแผล”


“โรคไข้ดิน” หรือ “โรคเมลิออยโดสิส” เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “เบอร์โคเดอเรีย สูโดมัลลิอาย (Burkholderia pseudomallei)” โดยพบเชื้อในดินและน้ำทั่วไปในประเทศไทย เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ

1.การสัมผัสน้ำหรือดินที่มีเชื้อปนเปื้อน
2.ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
3.สูดหายใจเอาฝุ่นจากดินที่มีเชื้อเจือปนอยู่เข้าไป หลังติดเชื้อ 1 – 21 วัน จะมีอาการป่วย แต่บางรายอาจนานเป็นปี ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับและภูมิต้านทานของแต่ละคน

อาการของโรคนี้ไม่มีลักษณะเฉพาะ จะมีความคล้ายโรคติดเชื้ออื่น ๆ เช่น มีไข้สูง มีฝีที่ผิวหนัง ปวดท้อง ปวดข้อปวดกระดูก มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ บางรายพบอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยาก ต้องตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษา

วิธีการป้องกันโรคดังกล่าวสามารถทำได้ โดย

1) ผู้ที่มีบาดแผลให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลนหรือสัมผัสดินและน้ำโดยตรงหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน หากจำเป็นขอให้สวมรองเท้ำบูท ถุงมือยาง กางเกงขายาวหรือชุดลุยน้ำ หมั่นล้างมือ ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่บ่อย ๆ และอาบน้ำทันทีหลังจากลุยน้ำ
2) หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรปิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ หมั่นทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อและหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลจะแห้งสนิท
3) หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการเดินลุยน้ำให้แพทย์ทราบด้วย

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ที่มา : กรมควบคุมโรค

admin

Recent Posts

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

6 days ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

7 days ago

ประวัติ ความเป็นมา เทศกาลไหว้พระจันทร์ กับ ตำนาน “ฉางเอ๋อ” เทพธิดาแห่งดวงจันทร์

วันไหว้พระจันทร์ 🌙 ภาษาจีน คือ "中秋节" (จงชิวเจี๋ย) ส่วนวันไหว้พระจันทร์ภาษาอังกฤษ คือ Moon Festival หรือ Mid-Autumn Festival (เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง) เทศกาลไหว้พระจันทร์… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

8 กันยายน วันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day)

8 กันยายน วันการรู้หนังสือสากล องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศให้วันที่ 8 กันยายนของทุกปีเป็นวันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day) เพื่อส่งเสริมความสำคัญของการรู้หนังสือแก่ประชาชน ชุมชนและสังคม ภายใต้แนวคิดว่าด้วยการขจัดการไม่รู้หนังสือของประชากรโลก การรู้หนังสือจะเป็นโอกาสให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเสรี มีชีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากการดำรงชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างมีอิสรภาพ… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

19 กันยายน’วันพิพิธภัณฑ์ไทย’ Thai Museum Day

วันที่ ๑๙ กันยายน “วันพิพิธภัณฑ์ไทย” มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กำหนดวันที่ ๑๙ กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ 16/05/2538 .... ย้อนไปก่อนที่จะมีพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน พิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2376… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

16 กันยายน วันโอโซนโลก (World Ozone Day)

16 กันยายนของทุกปี วันโอโซนโลก (World Ozone Day) โอโซน เกิดจากการรวมตัวกันของออกซิเจน 3 อะตอม อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น โอโซนมีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นกับตำแหน่งในชั้นบรรยากาศ โอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

This website uses cookies.