อันตรายหน้าฝน เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยง “โรคไข้ดิน”

214
views
โรคไข้ดิน

 อันตรายหน้าฝน เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยง “โรคไข้ดิน”

กรมควบคุมโรค เตือน!! เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยงโรคไข้ดิน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน แนะสวมรองเท้าบูท ล้างเท้าบ่อย ๆ “โรคไข้ดิน” เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตเลี่ยงสัมผัสดินและน้ำเมื่อมีบาดแผล”

กรมควบคุมโรค เตือน!! เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยงโรคไข้ดิน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน แนะสวมรองเท้าบูท ล้างเท้าบ่อย ๆ “โรคไข้ดิน” เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตเลี่ยงสัมผัสดินและน้ำเมื่อมีบาดแผล”


“โรคไข้ดิน” หรือ “โรคเมลิออยโดสิส” เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “เบอร์โคเดอเรีย สูโดมัลลิอาย (Burkholderia pseudomallei)” โดยพบเชื้อในดินและน้ำทั่วไปในประเทศไทย เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ

1.การสัมผัสน้ำหรือดินที่มีเชื้อปนเปื้อน
2.ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
3.สูดหายใจเอาฝุ่นจากดินที่มีเชื้อเจือปนอยู่เข้าไป หลังติดเชื้อ 1 – 21 วัน จะมีอาการป่วย แต่บางรายอาจนานเป็นปี ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับและภูมิต้านทานของแต่ละคน

อาการของโรคนี้ไม่มีลักษณะเฉพาะ จะมีความคล้ายโรคติดเชื้ออื่น ๆ เช่น มีไข้สูง มีฝีที่ผิวหนัง ปวดท้อง ปวดข้อปวดกระดูก มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ บางรายพบอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยาก ต้องตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษา

โรคไข้ดิน

วิธีการป้องกันโรคดังกล่าวสามารถทำได้ โดย

1) ผู้ที่มีบาดแผลให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลนหรือสัมผัสดินและน้ำโดยตรงหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน หากจำเป็นขอให้สวมรองเท้ำบูท ถุงมือยาง กางเกงขายาวหรือชุดลุยน้ำ หมั่นล้างมือ ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่บ่อย ๆ และอาบน้ำทันทีหลังจากลุยน้ำ
2) หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรปิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ หมั่นทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อและหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลจะแห้งสนิท
3) หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการเดินลุยน้ำให้แพทย์ทราบด้วย

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ที่มา : กรมควบคุมโรค

 
ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร