☆ สาระ-น่ารู้

14 มิถุนายน “วันผู้บริจาคโลหิตโลก” World Blood Donor Day

โลหิต หรือ เลือด มีความสำคัญในการรักษาผู้ป่วย เพราะในปัจจุบันยังไม่มีใครที่คิดค้นสิ่งที่สามารถใช้แทนโลหิตได้ จึงยังต้องมีการรับบริจาคโลหิต เพื่อนำมาใช้รักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยอยู่ โดยการบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินของร่างกาย ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ให้กับผู้ป่วย เมื่อบริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน ทำให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม หากไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุ โดยการบริจาคโลหิต 1 ถุง สามารถช่วยเหลือผู้คนได้มากถึง 3 ชีวิตเลยทีเดียว

วันผู้บริจาคโลหิตโลก (World Blood Donor Day) ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.คาร์ล ลันด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) แพทย์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1868-1943 ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีดร.คาร์ล ลันด์สไตเนอร์ เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการจำแนกหมู่โลหิต A, B และ O ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญยิ่งต่องานบริการโลหิตทั่วโลก จนได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยา หรือแพทยศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1930 อีกทั้งยังพบว่าการถ่ายเลือดให้กับผู้ที่มีหมู่เลือดเดียวกันไม่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดถูกทำลาย การค้นพบเหล่านี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการต่อยอดในวงการแพทย์มาจนถึงทุกวันนี้ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้อีกเป็นจำนวนมาก

ดังนั้นเพื่อให้ชาวโลกตระหนักและเห็นความสำคัญของการบริจาคโลหิต พร้อมกับเพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้บริจาคโลหิต องค์การอนามัยโลก (WHO), สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ(IFRC), สหพันธ์ผู้บริจาคโลหิตระหว่างประเทศ (FIODS) และสมาคมบริการโลหิตระหว่างประเทศ (ISBT) จึงได้ขอความร่วมมือให้สภากาชาดทั่วโลก จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการขอบคุณผู้บริจาคโลหิตทั่วโลก และส่งเสริมงานบริการโลหิตให้เป็นที่แพร่หลายในวันผู้บริจาคโลหิตโลก 14 มิถุนายนของทุกปี โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี 2547 (ค.ศ. 2004) และจัดกิจกรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 20 แล้ว

โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลสุขภาพ หรือโทร.1719

ที่มาข้อมูล : thaihealth, bangkokpattayahospital

admin

Recent Posts

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

6 days ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

7 days ago

ประวัติ ความเป็นมา เทศกาลไหว้พระจันทร์ กับ ตำนาน “ฉางเอ๋อ” เทพธิดาแห่งดวงจันทร์

วันไหว้พระจันทร์ 🌙 ภาษาจีน คือ "中秋节" (จงชิวเจี๋ย) ส่วนวันไหว้พระจันทร์ภาษาอังกฤษ คือ Moon Festival หรือ Mid-Autumn Festival (เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง) เทศกาลไหว้พระจันทร์… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

8 กันยายน วันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day)

8 กันยายน วันการรู้หนังสือสากล องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศให้วันที่ 8 กันยายนของทุกปีเป็นวันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day) เพื่อส่งเสริมความสำคัญของการรู้หนังสือแก่ประชาชน ชุมชนและสังคม ภายใต้แนวคิดว่าด้วยการขจัดการไม่รู้หนังสือของประชากรโลก การรู้หนังสือจะเป็นโอกาสให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเสรี มีชีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากการดำรงชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างมีอิสรภาพ… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

19 กันยายน’วันพิพิธภัณฑ์ไทย’ Thai Museum Day

วันที่ ๑๙ กันยายน “วันพิพิธภัณฑ์ไทย” มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กำหนดวันที่ ๑๙ กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ 16/05/2538 .... ย้อนไปก่อนที่จะมีพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน พิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2376… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

16 กันยายน วันโอโซนโลก (World Ozone Day)

16 กันยายนของทุกปี วันโอโซนโลก (World Ozone Day) โอโซน เกิดจากการรวมตัวกันของออกซิเจน 3 อะตอม อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น โอโซนมีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นกับตำแหน่งในชั้นบรรยากาศ โอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

This website uses cookies.