จิตวิทยาที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกเหยื่อ
มิจฉาชีพนั้นมีการใช้วิธีการหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อ จนทำให้เหยื่อเกิดความเสียหายทั้งในโลกออนไลน์ และออฟไลน์ โดยมิจฉาชีพจะใช้จิตวิทยา 2 ข้อ ในการหลอกลวงเหยื่อ ดังนี้
1. การอ้างอำนาจ โดยมิจฉาชีพจะอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมไปถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่เฉพาะ เพราะตำแหน่งที่กล่าวมานั้นมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับจากสังคม มิจฉาชีพจึงเลือกตำแหน่งเหล่านี้มาแอบอ้างเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และสร้างความหวาดกลัวหากฟังโดยขาดการไตร่ตรองให้ดี
2. สร้างความกดดัน หรือการตอบแทนด้วยรางวัล โดยมิจฉาชีพจะเล่นกับความรู้สึกของผู้ที่กำลังจะตกเป็นเหยื่อ เช่น การหลอกให้เหยื่อโอนเงินเพื่อจัดการปัญหาบางอย่าง หรือการหลอกเหยื่อว่าได้รับรางวัลที่แต่ต้องมีข้อแลกเปลี่ยน โดยจะจำกัดเวลาในการตัดสินใจ เพื่อบังคับให้โอนเงิน โดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว
และนี่คือ หลักจิตวิทยาที่มิจฉาชีพนั้นใช้จนเหยื่อรู้สึกหวาดกลัวจนตกเป็นเหยื่อได้ สิ่งสำคัญที่จะทำให้เรารอดจากการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพคือ การมีสติรู้ตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมใด ๆ หรือเวลาที่ต้องคุยกับคนแปลกหน้าทั้งในโลกออนไลน์ หรือออฟไลน์ก็ตาม
ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)