เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม ความว่า
“ บัดนี้ บรรลุอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ วาระเถลิงศกเช่นนี้ ช่วยเตือนใจให้เราทั้งหลาย ได้ทบทวนถึงอายุช่วงหนึ่งปีที่ล่วงไป ว่า ได้คิด พูด และทำสิ่งใดไว้บ้าง ถ้าเป็นสิ่งดีงาม ก็จะได้เร่งเพิ่มพูนให้ทวียิ่งๆขึ้น และในขณะเดียวกัน ถ้ายังมีสิ่งใดบกพร่อง ก็จะได้ระมัดระวัง ตั้งตน และตั้งใจกันใหม่ ที่จะไม่ก่อโทษ กระทำผิด ให้ซ้ำรอยเดิมอีกในปีนี้
ตลอดปีที่ผ่านมา สถานการณ์ของโลกผันผวนปรวนแปรไปมาก บังเกิดความยากลำบากกันทั่วหน้า เหตุการณ์ร้ายนานา ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ภัยสงคราม ทุพภิกขภัย โรคระบาด และภัยธรรมชาติต่างๆ กลับปรากฏขึ้นทั่วทุกหัวระแหง อันที่จริง มนุษย์ผู้ฉลาด ย่อมจักสามารถเข้าใจได้ถึงธรรมดาของ “โลก” ซึ่งตามศัพท์แปลว่า สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรม เพราะฉะนั้น สิ่งใดชำรุดทรุดโทรม สิ่งนั้นจึงเป็นสภาวะปรกติแห่งโลก เมื่อคิดได้เช่นนี้ ก็ย่อมเห็นกระจ่างถึงสัจธรรมว่า โลกกับความทุกข์ มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน ถ้าเช่นนั้นแล้วเราจะทำอย่างไรดี ให้ยังสามารถดำรงตนอยู่อย่างมีความสุข บนโลกที่ชำรุดทรุดโทรมนี้ คำตอบก็คือ ทุกคนจำเป็นต้องฝึกฝนอบรมจิตใจ ให้มีสมาธิจดจ่อแน่วแน่ต่อคุณความดี อย่าปล่อยให้ลุกลี้ลุกลน เร่าร้อน วิ่งวนอยู่ในวงจรกิเลสตัณหา ขอให้ฝึกหัดใช้สมาธิภาวนานั้น เป็นอุปกรณ์เพิ่มพลังความสงบนิ่งในจิต ให้บังเกิดความร่มเย็นในชีวิตยิ่งขึ้นเป็นลำดับไป
ณ โอกาสเถลิงศกใหม่ จึงขอเชิญชวนทุกท่าน หันมาเอาใจใส่ในการเจริญจิตภาวนาให้เป็นปรกติในชีวิตประจำวัน จงหมั่นฝึกใจให้เข้มแข็งด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตา กรุณา ขยัน อดทน สดชื่น เบิกบานผ่องใส เป็นต้น เพื่อให้ความฟุ้งซ่าน ซัดส่าย เร่าร้อน ทุรนทุราย จะได้ค่อยๆสงบระงับลงบ้าง แม้ชั่วครู่ชั่วคราวก็ยังดี ครั้นเมื่อท่านได้ลิ้มรสความสบาย จากภาวะจิตใจที่สงบ ก็ย่อมจะมีแรงบันดาลใจ ในการฝึกฝนอบรมตน ให้อาจหาญด้วยคุณธรรมอันสูงยิ่งๆ ขึ้นไป หากทำได้เช่นนี้ ท่านย่อมจะประสบความสุขอย่างแท้จริง สมด้วยพระพุทธภาษิต ที่ว่า “จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ” แปลความว่า “จิตที่ฝึกแล้ว นำความสุขมาให้” ทุกประการ
ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และคุณความดีที่ทุกท่านร่วมกันบำเพ็ญ เป็นเครื่องจรรโลงสันติสุขสู่ประเทศชาติและประชาชน ดลความโสมนัสพระราชหฤทัย ให้บังเกิดในสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าทั้งสองพระองค์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อจักได้ทรงเพียบเพ็ญด้วยพระบารมีธรรม และขอปวงประชาชาติไทย จงสำเร็จสมมโนรถในสรรพกิจ อันถึงพร้อมด้วยสุจริตธรรม นำความผาสุกเกษมศานต์มาสู่พี่น้องร่วมชาติ ตลอดพุทธศักราช ๒๕๖๗ นี้ โดยทั่วหน้ากัน เทอญ ”
สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..
เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..
วันไหว้พระจันทร์ 🌙 ภาษาจีน คือ "中秋节" (จงชิวเจี๋ย) ส่วนวันไหว้พระจันทร์ภาษาอังกฤษ คือ Moon Festival หรือ Mid-Autumn Festival (เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง) เทศกาลไหว้พระจันทร์… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.