บ้านตระ (เมืองลับแลแห่งเทือกเขาบรรทัด)
“ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านตระ และการตั้งถิ่นฐาน”
บ้านตระ เป็นชุมชนเก่าแก่มากว่า 300 ปี เป็นเขตรอยต่อ 3 จังหวัด ระหว่าง ตรัง พัทลุง และสตูล เป็นเส้นทางการค้าโบราณในยุคสมัยอยุธยาตอนกลาง เดิม มีชื่อเรียกว่าบ้านสระ และในตระ มีผู้ปกครองคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าเมืองปะเหลียน ซึ่งเป็น เมืองขึ้นของเมืองพัทลุง คือหมื่นเสนาะคีรี หรือ ”ทวดเล็ก” มีหน้าที่ดูแลบ้านตระและบ้านหัวช้าง หมื่นเสนาะคีรี หรือทวดเล็ก เสียชีวิตและฝังศพที่บ้านตระมีสุสาน(กุโบร์) ของท่านจนถึงปัจจุบัน
• ต่อมาพ.ศ.2435 ในสมัยรัชกาลท่ี 5 ทางราชการมีนโยบายจัดเก็บภาษี รัชชูปการหรือภาษี 4 บาท จากผู้ชายที่มีครอบครัวแล้ว นโยบายนี้สร้างความเดือนร้อนให้แก่ชาวบ้านจานวนมากเนื่องจากไม่มีการสะสม เงินตรานอกจากคนที่ค้าขายเท่านั้น จึงทาให้เกิดโจรปล้นทรัพย์สินและขโมยวัวควายมากข้ึนในหลายพื้นที่ นอกจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจแล้ว นโยบายการเมืองการปกครองต้องผูกขาดอานาจรัฐไว้ท่ี ส่วนกลางอีกด้วย
• พ.ศ. 2457 บ้านตระมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายมูสา การะนิล ชาวบ้านประมาณ 100 ครัวเรือน นับ ถือศาสนาอิสลาม การปกครองจึงได้นำหลักการของศาสนามาใช้ในการปกครองด้วย ในช่วงการปกครองนี้ มี เหตุการณ์สาคัญๆ 2 เหตุการณ์ คือมีโจรจากพัทลุงเข้ามาปล้นทรัพย์สินของชาวบ้านตระอยู่บ่อยๆและ เกิดโรคไข้น้าหรือไข้ทรพิษระบาดทาให้ชาวบ้านตระเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานชั่วคราวในหลายอำเภอของจังหวัดตรัง พัทลุง และสตูล
• ต่อมา พ.ศ. 2466 ผู้ใหญ่มูสา การะนิล ล้มป่วยจากไข้น้ำและได้เสียชีวิต ศพของนายมูสาได้ฝังไว้ที่ กุโบร์ในบ้าน ที่บ้านตระ เมื่อนายมูสาเสียชีวิต นายอำเภอทุ่งหว้าได้แต่งตั้ง “นายระหมาน กะปุก” เป็น ผู้ใหญ่บ้านคนต่อมา โดยกำนันตาบลทุ่งหว้าเป็นผู้เสนอช่ือ
โรคไข้น้ำยังคงระบาดและโจรชุกชุม ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านจึงลงความเห็นว่าควรอพยพไปตั้งชุมชน ใหม่ที่บ้านลำแครง (อยู่ในพื้นท่ีหมู่ที่ 6 ตำบลปะเหลียน จังหวัดตรัง) และบ้านควนไม้ดำ (อยู่ในพื้นท่ีหมู่ท่ี 2 ตำบลปะเหลียน จังหวัดตรัง) แต่ชาวบ้านจำนวนหนึ่งยังคงยืนยันท่ีจะอยู่บ้านตระเหมือนเดิม ในส่วนคนที่ย้าย ไปอยู่บ้านลำแครงและบ้านควนไม้ดำยังคงทากินในที่ดินบ้านตระตามเดิม
• ในช่วง พ.ศ.2508 – พ.ศ.2513 เจ้าหน้าที่เริ่มเข้ามาสำรวจพื้นที่สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่บ้าน ตระ บริเวณคลองตระ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำละงู ทำให้ชาวบ้านบางส่วนก็มีรายได้เพิ่มเติมจากการรับจ้างแบกท่อ เหล็กและเครื่องปั่นไฟขึ้นไปบนบ้านตระ ระยะทางในการแบกเหล็กประมาณ 25 กิโลเมตร จากบ้านผู้ใหญ่ หลุบ ชูอ่อน ถึงบริเวณท่ีจะวัดน้ำ ชาวบ้านได้รับค่าจ้างแบกเหล็กกิโลกรัมละ 3 บาท
• ต่อมา พ.ศ.2514 ได้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐกับประชาชน ประชาชนจำนวนหนึ่งได้ เข้าป่าจัดตั้งกองกาลังเพื่อต่อสู้กับรัฐบาล เรียกว่า “กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ” (ท.ป.ท.) หลังจากนั้น ท.ป.ท. ได้ขยายฐานทัพมาในเขตป่าเทือกเขาบรรทัด และเข้ามาตั้งฐานทัพระดับกองพันในป่า บริเวณบ้านตระ การสารวจพื้นที่เพื่อสร้างเขื่อนก็ยุติลงในช่วงนี้
• หลังจากน้ัน พ.ศ. 2516-พ.ศ. 2518 ราชการได้เข้ามาปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างหนัก ทำให้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องอพยพออกจากหมู่บ้านโดยย้ายไปอยู่ในพื้นท่ีอำเภอปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง และในพื้นที่อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
• หลังจากนั้น พ.ศ.2534 ชาวบ้านได้ร่วมกันพัฒนาเส้นทางจากบริเวณควรเณรมีขึ้นไปบ้านตระ โดยใช้จอบขุดเพื่อให้สามารถนาผลผลิตทางการเกษตรไปขายได้สะดวกข้ึน
• ในปีเดียวกัน “นายชวน หลีกภัย ” ได้เข้ามาดูสภาพพื้นที่บ้านตระ ในขณะนั้นนายชวนเป็นรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลกรมป่าไม้ ซึ่ง “นายผ่อง เฮ่งลี้ ” เป็นอธิบดีกรม หลังจากนั้น 3 เดือนก็มี นโยบายอพยพชาวบ้านตระออกจากพื้นที่ โดยจะจัดท่ีอยู่ใหม่ให้ ในพื้นที่อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล และ ในพื้นที่อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง เม่ือชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปดูพื้นที่ก็พบว่าไม่ใช่ที่ดินว่างเปล่า แต่เป็นท่ีทำ กินของชาวบ้านในพื้นท่ีดังกล่าว ชาวบ้านตระส่วนหนึ่งจึงไม่เห็นด้วยกับการอพยพ
• ช่วง พ.ศ. 2535-2537 ราชการยังคงผลักดันให้ชาวบ้านอพยพออกจากพื้นที่ เจ้าหน้าท่ีป่าไม้ขึ้นมา สำรวจจำนวนชาวบ้านและจานวนอาสิน เพื่อเตรียมอพยพ โดยจะจ่ายค่าชดเชยอาสินและจัดหาท่ีอยู่ให้ใหม่ มีการกาหนดค่าชดเชย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่
1) ทากินในพื้นที่อาศัยในพื้นที่ จะจ่ายค่าชดเชยไร่ละ 30,000 บาท
2) ทากินในพื้นที่ อาศัยนอกพื้นที่ จะจ่ายค่าชดเชยไร่ละ 5,000 บาท เม่ือทางราชการเรียกประชุม ชาวบ้านที่บริเวณน้าตกโตนเต๊ะ ก็มีชาวบ้านเข้าร่วมประมาณ 700 คน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีมติอพยพออก จากบ้านตระ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณประมาณ 72 ล้านบาทเพื่อจ่ายค่าชดเชยให้ชาวบ้าน แต่ในช่วงนั้นไม่มีงบประมาณ จึงไม่ได้อพยพชาวบ้านออกจากพื้นท่ี
• พ.ศ.2545 ชาวบ้านตระจึงจัดต้ังองค์กรข้ึนเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและสร้างความมั่นคงให้ชุมชน ชาว บ้านตระเป็นสมาชิกเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ต่อมาเปลี่ยนช่ือเป็นเครือข่ายปฏิรูปท่ีดิน เทือกเขาบรรทัดบ้านตระ
• พ.ศ. 2551-พ.ศ.2553 ร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด และเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่ง ประเทศไทยเจรจากับรัฐบาลภายใต้ คณะกรรมการอานวยการแก้ปัญหาเครือข่ายปฏิรูปท่ีดินแห่งประเทศ ไทย พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลรับรองพื้นที่นาร่องโฉนดชุมชน จานวน 75 ครัวเรือน ประมาณ 340 คน มีเนื้อท่ี 3,000 ไร่
#อยู่บ้านเราไม่ขึ้นเขาก็ลงเล
ขอบคุณภาพ/ข้อมูล : อยู่บ้านเรา ไม่ขึ้นเขา ก็ลงเล