ชีปะขาว หรือชีผ้าขาว มีมาตั้งแต่อดีตกาล คู่กับแม่ชี ซึ่งแม่ชีหมายถึงโยมผู้หญิงที่ถือศีล 8 แต่ถ้าเป็นผู้ชายจะ ไม่เรียกว่าพ่อชี แต่จะเรียกว่า ชีผ้าขาว หรือชีปะขาว ที่นุ่งขาวห่มขาว
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ชี” ไว้ว่า เป็นชื่อของนักบวชประเภทหนึ่งที่นุ่งขาวห่มขาว เช่น ชีปะขาว หรือ ชีผ้าขาว ฤาษีชีไพ
ชีปะขาว หมายถึง นักบวชผู้นับถือพุทธศาสนาประเภทหนึ่ง ที่นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ไม่อยู่วัด เที่ยวภิกขาจารไปเรื่อยๆ บางคนก็อาศัยอยู่วัดร่วมกับพระภิกษุ และทำกิจกรรมเช่นเดียวกับพระภิกษุ เป็นแต่ว่ายังมิได้บรรพชาอุปสมบทเท่านั้น
ชีปะขาว นัยว่าเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า ชีผ้าขาว หรืออาจเรียกเพี้ยนไปเป็น ชีผ้าขาว ก็ได้
ชีปะขาว เป็นคฤหัสถ์ที่สละเหย้าเรือนมาถือศีลและปฏิบัติตัวเหมือนนักบวช แต่มิใช่บรรพชิต มีความประพฤติสูงกว่าคฤหัสทั่วไป และปกติจะถือเพศนุ่งขาวไปตลอดชีวิต มิใช่บวชชั่วคราวเหมือนชีพราหมณ์
ชีปะขาว ในปัจจุบันหาดูได้ยาก เพราะนิยมบวชเป็นภิกษุสามเณรปฏิบัติธรรม และเป็นบรรพชิตโดยตรง
พระเทพประสิทธิมนต์กล่าวว่า ชีปะขาว หรือชีผ้าขาว มีมาตั้งแต่อดีตกาล คู่กับแม่ชี ซึ่งแม่ชีหมายถึงโยมผู้หญิงที่ถือศีล 8 แต่ถ้าเป็นผู้ชายจะ ไม่เรียกว่าพ่อชี แต่จะเรียกว่า ชีผ้าขาว หรือชีปะขาว ที่นุ่งขาวห่มขาว ซึ่งมี กฤษดาภินิหาร ยกตัวอย่างครั้งหนึ่งในการหล่อพระพุทธรูปพระพุทธชินราช ช่างไม่สามารถหล่อพระได้ มีชีผ้าขาว หรือชีปะขาวดำเนินการสร้างให้สำเร็จ มีความสวยงาม แล้วก็หายตัวไป ซึ่งเป็นตำนวนเล่าขานกันว่าเป็นพระอินทร์ที่แปลงกายลงมาสร้างพระพุทธรูป