พระศิวะ พระเป็นเจ้าสูงสุดในคติของลัทธิไศวะ บูชาอย่างไร พร้อมเคล็ดลับการขอพร

#โอมสำเร็จ!! ‘โอม นะมัส ศิวายะ'(สามจบ) คาถาบทสวดมนต์บูชาพระศิวะ เทพเจ้าฮินดูองค์สำคัญ ถือเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุดในคติของลัทธิไศวะ

พระศิวะ ทรงให้การคุ้มครองแก่ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้อุทิศตนเพื่อสังคม ผู้ที่หมั่นทำบุญทำทาน ผู้ที่ปฏิบัติโยคะเพื่อความหลุดพ้น ทรงพอพระทัยผู้บำเพ็ญตบะด้วยความพากเพียร พระองค์ทรงพาเหล่าสรรพสัตว์ข้ามไปสู่ภพที่ปราศจากซึ่งกิเลสตัณหา

การปฏิบัติการบูชาและตั้งจิตระลึกถึงพระศิวะ จะช่วยให้พ้นจากกิเลส พ้นจากการยึดติดในอบายมุข สิ่งมัวเมาทั้งหมด ทรงประทานสติปัญญาในการดำรงชีวิตร่วมกับสัตว์โลก ประทานอำนาจเหนือศัตรู ทรงบันดาลพรให้ประสบความสำเร็จในกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนประทานการหยั่งรู้ในพลังลึกลับ พระองค์มีอำนาจสูงสุดในการควบคุมเหล่าภูติให้กระทำสิ่งต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้บูชาพระองค์อย่างเคร่งครัด

การบูชาพระศิวะ

โต๊ะ หรือแท่นบูชา สามารถประดิษฐานร่วมกับเทพองค์อื่นๆได้ เช่น พระพรหม พระวิษณุ ศิวลึงค์ หรือครอบครัวของพระองค์ คือ พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา พระพิฆเนศ พระขันทกุมาร

ควรปูโต๊ะหรือแท่นบูชาด้วย ผ้าสีขาว สีแดง สีเงิน โดยเฉพาะ ผ้าพิมพ์ลายหนังเสือ (หนังเสือเทียม) ท่านจะโปรดมาก แท่นหรือโต๊ะควรเป็นลายไม้ธรรมชาติ หรือทาสีด้วย สีดำสนิท สีแดง สีเงิน โดยไม่มีลายสีทอง (พระองค์ไม่โปรดสัญลักษณ์ที่สื่อถึงทองคำ เนื่องจากพระองค์ปฏิบัติโยคะอย่างสูงสุด มีความสมถะ เรียบง่าย)

เครื่องสังเวย ของถวาย

▪︎ น้ำดื่ม นมสด (จืดหรือหวาน ไม่ปรุงแต่งกลิ่นหรือสี)
▪︎ ดอกไม้ สามารถใช้ดอกดาวเรือง ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกไม้ป่าต่างๆ ทุกสี ทุกพันธุ์
▪︎ กำยาน กลิ่นจันทน์ กลิ่นดอกบัว กลิ่นสมุนไพรและพรรณไม้ต่างๆ
▪︎ ผลไม้ ควรถวายผลไม้ที่มีกลิ่นหอมโชยอ่อนๆ รสชาติอ่อนๆ ไม่เปรี้ยวจัด ไม่หวานจัด หรือขมจัดเกินไป
ผลไม้ไม่ควรปอกเป็นคำๆ ควรถวายทั้งเปลือก หรือเป็นลูกๆ เช่น กล้วยทั้งหวี (แต่มะพร้าวจะต้องผ่าหรือเทใส่แก้ว)
▪︎ ขนม เช่นเดียวกับเทพทุกองค์ คือ ถวายขนมรสหวาน มีกลิ่นหอม ห้ามถวายอาหารคาวและเนื้อสัตว์
▪︎ ธัญพืช เช่น งา ลูกเดือย ข้าวตอก ใบมะตูม หญ้าคา เผือก มัน ถั่วฝัก เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าว เมล็ดบัว พริกไทย เครื่องเทศต่างๆ

คาถาบทสวดมนต์บูชาพระศิวะ

โอม นะมัส ศิวายะ (สามจบ)

บทสรรเสริญ

โอม กระปูระเคารัม กรุณาวะตารัม
สัมสาระสารัม ภุชะเคน ทระหารัม
สะทาวะสันตัม หะริทะยาระวินเท
ภะวัมภะวาณิ สะหิตัม นะมามิ

ขอขอบคุณเนื้อหาโดย
สยามคเณศดอทคอม

admin

Recent Posts

ผักหวานป่า อาหารสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการสูง

ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..

4 weeks ago

เพิ่มวันหยุดอีก 3 วัน ปี 68-69 เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน

ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

คืบหน้า การเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2568

ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ปฏิทินวันพระ พ.ศ. 2568/2025 (ปีมะโรง – ปีมะเส็ง)

วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

สูตรก่อนนอน ช่วยให้หลับสนิท ตื่นมาสดชื่น

10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

10 จังหวัดที่มี วัด เยอะที่สุดในประเทศไทย

พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.