รู้ทัน โรคในหน้าฝน ภัยร้ายใกล้ตัวเด็กที่ผู้ปกครองควรเฝ้าระวัง

3748
views

“ช่วงหน้าฝน” อากาศก็จะเริ่มเย็นลง และมีความชื้นสูงขึ้น ส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคติดต่อก็เพิ่มมากขึ้น เพราะเชื้อโรคหลายชนิดเติบโตอย่างรวดเร็วและเมื่ออากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราลดลง ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ดี ส่งผลให้เกิดโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ระบบภูมิต้านทานในร่างกายยังไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่ และหากเกิดการติดเชื้อก็อาจทำให้ป่วยได้ง่ายขึ้น โรคที่มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝน ได้แก่

โรคไข้หวัดใหญ่ Influenza

เป็นกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส“อินฟลูเอนซ่าไวรัส (Influenza virus)” ที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือละอองเสมหะที่กระจายอยู่ในอากาศจากการไอ จาม ของผู้ป่วย เด็กเล็กและเด็กวัยเรียน เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ง่าย เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ

สาเหตุ : ติดเชื้อจากการสุดหายใจ สัมผัสสารค้ดหลั่งน้ำมูกหรือน้ำลาย
อาการ : ไข้สูง ไอน้ำมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยคล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย
การป้องกัน : ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย และป้องกันการติดเชื้อด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ในเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ควรให้หยุดพักรักษาตัว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ

โรคไข้ไวรัส RSV

RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง การระบาดของเชื้อนี้มักพบในฤดูฝนและฤดูหนาวในประเทศไทย

สาเหตุ : ติดเชื้อไวรัสผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งน้ำมูกหรือน้ำลาย
อาการ : ไอ น้ำบุกไหล คัดจมูก รับประทานอาหารได้น้อย หายใจเสียงดังหรือหายใจลำบากได้ หากอาการรุนแรงมากขึ้น
การป้องกัน : ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV แต่เราสามารถป้องกัน โดยการล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และน้ำสะอาด ควรสอนให้เด็กๆล้างมืออย่างถูกต้อง และรักษาสุขอนามัย หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด และรักษาสุขอนามัยอย่างสม่ำเสมอ

โรคมือเท้าปาก

เป็นโรคที่มาจากการเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส เช่น คอกซากีไวรัส เอ 16 (coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71) ซึ่งตัวเอนเทอโรไวรัส 71 เรียกสั้นๆ ว่าเชื้อ อีวี 71 เป็นเชื้อที่รุนแรงที่สุด สามารถติดต่อโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วยโดยตรงหรือทางอ้อม เช่น ผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งจะพบมากในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี

สาเหตุ : เกิดจากเชื่อเอ็นเทอโรไวร้ส ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
อาการ : มีตุ่มนุน แดง หรือเป็นตุ่มน้ำใส พบมากบนฝ่ามือ ฝ่าเท้ารวมทั้งที่เบ่าและกัน มีไข้สูงเจ็บตุ่มแผลในปาก
การป้องกัน : หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและงดใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น เด็กควรมีกระติกน้ำหรือแก้วส่วนตัวสำหรับใช้ที่โรงเรียน รวมถึงการฝึกให้เด็กใช้ช้อนกลาง สำหรับเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี อาจพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากตามคำแนะนำของแพทย์

โรคไข้เลือดออก

เป็นโรคเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบการระบาดสูงในช่วงฤดูฝน เพราะมีบริเวณน้ำขังอันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งยุงลายจะออกหากินกัดคนในเวลากลางวัน เมื่อยุงลายตัวเมียดูดเลือดจากผู้ป่วยที่มีเชื้อเดงกี่เข้าไป เชื้อไวรัสเดงกี่ในยุงจะเพิ่มจำนวน และกระจายเชื้อเข้าไปสู่ต่อมน้ำลายของยุงเตรียมพร้อมที่จะปล่อยเชื้อให้กับคนที่ถูกกัดครั้งต่อไปได้ตลอดอายุของยุง ซึ่งอยู่ได้นาน 1-2 เดือน

สาเหตุ : ติดเชื่อไวร์สเดงก็ มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
อาการ : มีไข้สูง หน้าแดงผิดุปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้องที่ชายโครงขวา
การป้องกัน : ระวังอย่าให้ยุงกัด และคอยตรวจสอบพื้นที่น้ำขังเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณที่พักอาศัยและสถานศึกษา นอกจากนี้ ผู้ปกครองอาจพิจารณาให้เด็กเข้ารับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตามคำแนะนำของแพทย์

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร