อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ้าง “สุทธิพร” ผู้พิทักษ์ช้างป่าทำงานต่อ หลังเกษียณ
วันที่ 2 ตุลาคม 2566 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยกรณีที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีข้าราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ เกษียณอายุราชการ เมื่อเดือนกันยายน 2566 จำนวน 6 คน รวมทั้ง นายสุทธิพร สินค้า พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายอนุรักษ์ที่ดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวจากช้างป่า นั้น
ล่าสุดนายชัยยา ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้เห็นว่า นายสุทธิพร มีความสามารถความเข้าใจที่สื่อสารกับช้างป่าได้ดี ขณะที่คนอื่นไม่สามารถทำได้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความปลอดภัยจากช้างป่าที่ออกมาหากินบนถนนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จึงได้ให้ นายสุทธิพร อยู่ช่วยอุทยานฯ เขาใหญ่ต่อไป ในตำแหน่ง TOR ตามอัตราเงินเดือนที่กำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
นายสุทธิพร สินค้า ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่มีชื่อเสียงในโลกโซเชียล
หลังจากที่มีคลิปช้างป่าเขาใหญ่เผยแพร่ในโลกออนไลน์หลายคลิปจนกลายเป็นที่โด่งดัง จนได้ชื่อว่า “มือปราบช้างป่าเขาใหญ่” เนื่องจากมีความคุ้นเคยกับช้างป่า มีเพียงกระบองไฟที่ถือในมือ และช้างป่าจำเสียงได้ และไม่กลัวช้างป่า จนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ นายสุทธิพร เข้ามาทำงานตำแหน่งพนักงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ต่อมาได้บรรจุตำแหน่ง พนักงานราชการ ทำงานผูกพันกับช้างป่ามานาน 20 ปี เกี่ยวกับภารกิจ “ช้าง” ดูแลตั้งแต่กู้ภัย การจราจร และการผลักดัน ดูแลช้างป่า
โดยการทำงานในกลุ่มจะมีประมาณ 5 คน มี สุทธิพร เป็นตัวหลัก เป็นด่านหน้า เมื่อมีได้รับแจ้ง หากเกินความสามารถ ก็จะขอกำลังเสริมจากกลุ่มเพื่อมาทำการช่วยเหลือ โดยเมื่อสิ้นเดือน กันยายน 2566 ได้เกษียณอายุราชการ หลังจากครบอายุ 60 ปี
นายอรรถพล เจริญชันษา กล่าวเพิ่มเติมว่า นายสุทธิพร สินค้า นับเป็นเจ้าหน้าที่ ที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมไปด้วยการอนุรักษ์อย่างแท้จริงเพราะการทำหน้าที่บริการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวทุกวัน และการติดตาม ดูแลช้างป่าออกมาหากินบนถนนในหลายจุดทุกวันนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีความชำนาญและความความเสียสละอย่างมาก การที่จะทำให้ช้างเชื่อฟัง และไม่เข้าทำร้ายเมื่ออยู่ใกล้ นับเป็นเรื่องดีที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้มีการจ้างให้นายสุทธิพร ได้ช่วยเหลืองานต่อ เพราะถือว่าเป็นแบบอย่างให้แก่เจ้าหน้าที่ท่านอื่น ๆ ต่อไป
เครดิต:ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด แบบเต็มและแบบย่อทั้ง 7 วัน ตามกำลังวัน สวดก่อนนอนชีวิตราบรื่น ร่มเย็น เสริมสิริมงคล ประโยชน์ของการสวดมนต์ก็คือทำให้จิตใจเราผ่องใส และจิตใจสงบมากขึ้น ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิด คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์… อ่านเพิ่มเติม..
อาการท้องผูก ท้องอืด ถึงแม้จะไม่ส่งผลอันตรายมากถึงชีวิตแต่ก็สร้างความอึดอัดไม่สบายท้อง หรืออาจลุกลามกลายเป็นโรคอันตรายในอนาคตได้ และที่สำคัญอาการเหล่านี้มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง! ผลไม้หลายชนิดอุดมไปด้วยใยอาหาร ทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้น ผลไม้ 9 ชนิดช่วยขับถ่าย กากใยสูง แก้อาการท้องผูกชนิดไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย 1.มะละกอสุก เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงและหาทานง่าย… อ่านเพิ่มเติม..
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.