ผักแพว สมุนไพรพื้นบ้าน ผักเครื่องเคียงคุณภาพสูง มีวิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียมสูง

ผักแพว หรือ ผักไผ่ ( Persicaria odorata) เป็นผักพื้นบ้านจำพวกพืชล้มลุกที่มีลักษณะใบเรียวยาวและมีกลิ่นแรงชนิดหนึ่ง ผักแพวเป็นผักที่อยู่ในวงศ์ POLYGONACEAE มีลักษณะลำต้นคล้ายต้นไผ่ มีข้อตามต้นเหมือนเป็นปล่องไผ่ มีใบยาวรี ปลายแหลมเหมือนใบไผ่

ภาพ-บ้านสวนคุณเล็ก

ผักแพว นิยมนำมาเป็นผักเครื่องเคียงของแหนมเนือง ลองไปดูกันค่ะว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง บอกเลยว่า เป็นผักพื้นบ้านของดีต่อสุขภาพ อีกหนึ่งอย่างที่ไม่ควรพลาด

ผักแพว – พืชล้มลุกมากประโยชน์

ผักแพว มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ตามชื่อเรียกท้องถิ่น เช่น จันทน์โฉม, จันทน์แดง, ผักไผ่น้ำ, ผักแพ้ว, ผักแพรว, ผักแจว อย่าง จ.นครราชสีมา เรียกว่า พริกม้า พริกม่า, ผักไผ่ จ. ทางภาคเหนือ เรียก ผักไผ่
1. อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย รักษาโรคหวัด
3. ช่วยทำให้เจริญอาหาร เลือดลมในร่างกายไหลเวียนดี
4. ช่วยให้ขับถ่ายดี ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
5. รักษาโรคปอด หอบหืด อาการไอ
6. ป้องกันโรคหัวใจ ต่อต้านมะเร็ง
7. บำรุงประสาท
8. รักษาโรคตับแข็ง ลดอาการอักเสบ
9. อุดมไปด้วยเส้นใยและวิตามิน ต้องทานไม่น้อยกว่า 3 ขีด จะเป็นผักสมุนไพรลดความอ้วนได้โดยไม่ขาดสารอาหาร
10. มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้ดี
11. ติดอันดับ 8 ของผักที่มีวิตามินซีสูงสุด (มีวิตามินซี 115 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม)
12. มีแคลเซียมสูงถึง 390 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้
13. ติด 1 ใน 5 อันดับของผักที่มีธาตุเหล็กสูง

นอกจากนำมาทานเป็นเครื่องเคียงแหนมเนืองแล้วยังใช้แกล้มอาหารที่มีรสจัด เป็นเครื่องเคียงของอาหารอีสาน อาหารเหนือ ก็ได้เช่นกัน หรือจะใช้ประกอบอาหารโดยหันเป็นฝอย ๆ ประกอบพวก ตำซั่ว ก้อยกุ้งสด ข้าวยำ แกงส้ม และยังสามารถช่วยดับกลิ่นของเนื้อสัตว์หรือกลิ่นคาวปลาได้ดีด้วย

admin

Recent Posts

ผักหวานป่า อาหารสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการสูง

ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

เพิ่มวันหยุดอีก 3 วัน ปี 68-69 เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน

ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

คืบหน้า การเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2568

ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ปฏิทินวันพระ พ.ศ. 2568/2025 (ปีมะโรง – ปีมะเส็ง)

วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

สูตรก่อนนอน ช่วยให้หลับสนิท ตื่นมาสดชื่น

10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

10 จังหวัดที่มี วัด เยอะที่สุดในประเทศไทย

พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.