ส่องชีวิต ‘ทาก’ ตัวแทนความสมบูรณ์ของผืนป่า

2228
views

‘ทาก’ ตัวแทนความสมบูรณ์ของผืนป่า ยิ่งมีทากมาก สัตว์ใหญ่ก็จะมากตาม เมื่อหน้าฝนเข้ามาเยือนป่าก็กลับมาชุ่มฉ่ำอีกครั้ง การเดินป่าในช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นและความสวยงามและแน่นอนตามพื้นดิน ใบไม้ เราจะสัมผัสได้ถึงสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ออกมาไต่ยั้วเยี้ยเต็มไปหมด นั่นก็คือ…ทาก!!!

ทากดูดเลือด..
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Haemadipsa sylvestris
จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไส้เดือนดินในไฟลัมแอนนีลิดา(Phylum Annelida) สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นถือว่าทากเป็นดัชนีชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า

#ลักษณะทั่วไปของทาก
ทากมีลักษณะคล้ายปลิง โดยทั่วไปลำตัวเป็นปล้องมีเมือกเหนียวหุ้มไว้ไม่ให้ตัวแห้งรูปร่างเรียวยาว ลำตัวด้านหลังจะโค้งนูนเล็กน้อยส่วนด้านท้องจะเรียบ
เหยื่อคือ แว่นดูด (Sucker) ซึ่งมีอยู่ทั้งทางด้านหัวและด้านท้าย แต่ทากสามารถดูดเลือดได้จากทางแว่นดูดด้านหน้าแต่เพียงด้านเดียว ส่วนแว่นดูดทางด้านท้ายทำหน้าที่ยึดเกาะ

#ทากรับรู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหน
จากแรงสั่นสะเทือนจากพื้นดิน เพราะฉะนั้น การชิงเดินเป็นคนแรกๆ อาจจะปลอดภัยกว่าเดินท้ายๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น และค่อยๆ รีดตัวเองเข้าไปอยู่ในรูถุงเท้าได้ เนื่องจากลำตัวของมันเหนียว และ ยืดหยุ่นอย่างมาก จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยการใช้แว่นดูดด้านท้ายยืดเกาะติดกับพื้น เมื่อกล้ามเนื้อตามเส้นรอบวงหดตัว ทากก็จะยืดไปข้างหน้า ใช้แว่นดูดรอบปากยึดเกาะติดกับพื้น และค่อยๆปล่อยแว่นดูดด้านท้ายออกจากที่เกาะ ตอนนี้กล้ามเนื้อตามยาวจะหดตัว ดึงเอาส่วนท้ายของลำตัวไปเกาะข้างหน้าได้ เป็นวิธีกระดื๊บๆไปตามพื้นดิน หรือตามตัวของเหยื่อจนถึงจุดที่มันพอใจถึงจะหยุด

#วิธีการกัดและดูดเลือดของทาก
จะใช้ปากของมันซึ่งอยู่ทางแว่นดูดด้านหน้าเท่านั้น ภายในแว่นดูดด้านหน้าจะมีขากรรไกรที่มีลักษณะเป็นสามแฉก แต่ละแฉกก็จะมีฟันเล็กๆ อยู่มากมาย

ทากจะปล่อยสาร 2 ชนิดเวลากัด
1.สารที่มีองค์ประกอบคล้ายกับฮีสตามีน (Histamine) ที่จะช่วยกระตุ้นหลอดเลือดของเหยื่อให้ขยายตัว

2. สารฮีรูดีน (Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดของเหยื่อไหลไม่หยุด ถึงแม้ว่าทากจะปล่อยตัวหลุดไปแล้ว
ทำไมหน้าแล้งไม่เห็นทาก

เป็นที่สงสัยกันว่าหน้าแล้งแล้วทากจะไปอยู่ที่ไหน..เพราะทากจำเป็นต้องมีผิวหนังที่ชุ่มชื้นตลอดเวลา..ทากจึงไม่สามารถทนทานกับสภาพที่แห้งแล้งได้ เมื่อถึงหน้า แล้ง ทากจะค่อยๆ รวมตัวกันไปอยู่ในที่มีความชื้นสูงเช่น ริมลำธาร แต่tะไม่ลงไปแช่ในน้ำโดยตรง ทากจะใช้วิธีมุดลงไปใต้ดินที่มีความชื้นสูงกว่า..ทากจะอยู่นิ่งๆไม่มีการตอบสนองใดๆ อาจกินเวลาถึง 6 เดือน เพื่อรอให้ฤดูฝนมาเยือนอีกครั้ง

…สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แนะนำวิธีการแก้ปัญหาทากดูดเลือด ซึ่งเมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้ห้ามดึงออก เพราะเลือดจะหยุดยาก จี้ตัวทากด้วยธูปติดไฟหรือไม้ขีดติดไฟ โรยเกลือป่นบนตัวทาก หรือใช้น้ำส้มสายชู เหล้าหรือน้ำมันราดตัวทาก ทากจะหลุดออกมา ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซหรือแผ่นปิดแผลสำเร็จรูป

#ดูดเลือด #ทาก
#ดัชนีชี้ความอุดมสมบูรณ์

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ Khaolak-Lamru National Park

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร