☆ สาระ-น่ารู้

ทำความรู้จัก”ไข้เลือดออกอีโบลา” โรคระบาดร้าย อันตรายถึงชีวิต!!

โรคอีโบลา (Ebola Haemorrhagic Fever) จัดอยู่ในกลุ่มโรคชนิดเดียวกับ โรคไข้เลือดออก อันเกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคไข้เลือดออกอีโบลา เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลา อยู่ในตระกูล Filoviridaeซึ่งในปัจจุบันไวรัสในกลุ่มอีโบลา แบ่งออกได้เป็น 6 species ได้แก่ Bombaliebolavirus, Bundibugyoebolavirus, Reston ebolavirus, Sudan ebolavirus, Tai Forest ebolavirusและ Zaire ebolavirus ซึ่งพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง ร้อยละ 50-90 โดยสายพันธุ์ Reston ebolavirus มีรายงานพบในประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้เกิดโรครุนแรงในลิง พบการติดต่อสู่คนโดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของลิงที่ติดเชื้อ

อีโบลาจัดเป็นโรคประจำถิ่นในทวีปแอฟริกา มักพบการระบาดในประเทศคองโก ยูกันดา และกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก โดยเชื้ออีโบลา จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของเชื้อกลุ่มที่ 4 ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงต่อบุคคลและชุมชน ก่อโรคร้ายแรงในคนและสัตว์ที่สามารถแพร่ไปยังบุคคลอื่นหรือสัตว์อื่นโดยทางตรงหรือทางอ้อม และเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการป้องกันหรือรักษาแบบได้ผล

การติดต่อของโรคนี้ สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คน จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง และเนื้อเยื่อจากอวัยวะของผู้ป่วยที่แสดงอาการหรือผู้เสียชีวิต หรือจากการสัมผัสสิ่งของที่มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่ง โดยเชื้อจะเข้าสู้ร่างกายผ่านเยื่อบุ เช่น ตา จมูก ปาก และผิวหนัง โดยผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ระยะเริ่มมีไข้ และตลอดระยะที่มีอาการ

❗สังเกตอาการเสี่ยงของโรคไข้เลือดออกอีโบลา ❗
การติดเชื้อมีระยะฟักตัวตั้งแต่ 2-21 วัน พบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยอาการเบื้องต้น ได้แก่
▪︎ มีไข้สูง
▪︎ รู้สึกอ่อนเพลีย
▪︎ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
▪︎ ไอ เจ็บคอ

รายที่มีอาการรุนแรงจะมีผื่นนูนแดงตามตัว และมีอาการเลือดออกทั้งภายในและภายนอกร่างกาย มักพบภายใน 7 วันหลังจากเริ่มแสดงอาการ จะพบอาการที่ระบบประสาทส่วนกลาง และภาวะอวัยวะภายในล้มเหลว ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงประมาณ 50 – 80%

หากสงสัยว่าเข้าข่ายติดเชื้อ สามารถส่งตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้ดังนี้
เมื่อพบผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลา ให้สถานพยาบาลแจ้งกับกองระบาดวิทยา หรือ สำนักงาน ป้องกันและควบคุมโรค หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อดำเนินการสอบสวนโรคและวางแผนการเก็บตัวอย่าง สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจได้หลังจากมีอาการ 3-10 วัน การเก็บตัวอย่างและการนำส่งตัวอย่างต้องปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ และขนส่งแบบแช่เย็น (Ice pack) โดยการประสานกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการรับตัวอย่างส่งตรวจ สอบถามการส่งตัวอย่าง โทร.02-9511485, 02-9510000-11, 02-5899850-8 ต่อ 99248, 99614

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

admin

Recent Posts

เตือน!! ลงน้ำทะเล ระมัดระวัง!🪼 “แมงกะพรุนหัวขวด” พิษร้ายแรงถึงชีวิต”

เตือน ระวัง!🪼 “แมงกะพรุนหัวขวด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช เตือนนักท่องเที่ยวที่ลงน้ำทะเล ระมัดระวังแมงกะพรุนพิษ หลังศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน เตือนพบแมงกะพรุนหัวขวด ที่หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีพิษร้ายแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ แพทย์หญิงดารินดา… อ่านเพิ่มเติม..

3 days ago

ฤกษ์ดี ยามดี ประจำเดือนกันยายน 2567

ฤกษ์ดี ยามดี ประจำเดือนกันยายน 2567 วันธงชัย คือ วันแห่งชัยชนะ ถือเป็นวันดีที่สุด ยามที่ดีที่สุดของเดือน เหมาะแก่การทำมงคลต่างๆ ที่จะให้ผลสำเร็จสูงสุด มีชัยชนะเป็นมิ่งขวัญของหมู่คณะ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ ออกรถยนต์ใหม่ ย้ายที่ทำงานใหม่… อ่านเพิ่มเติม..

4 days ago

พริกหวาน อร่อยดี มีประโยชน์มากมาย เด็กกินได้ผู้ใหญ่กินดี!

พริกหวาน, พริกหยวกสีแดง เหลืองและเขียว, พริกแอปเปิล, หรือพริกยักษ์ (อังกฤษ: bell pepper, sweet pepper หรือ capsicum) เป็นผักที่มีทั้งรสหวานและสีสันสวยงาม เหมาะกับนำมาทำอาหารเพื่อรับประทานอีกหนึ่งชนิด อีกทั้งยังโภชนาการสูงมีสรรพคุณช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้นได้!… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

อันตรายหน้าฝน เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยง “โรคไข้ดิน”

 อันตรายหน้าฝน เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยง “โรคไข้ดิน” กรมควบคุมโรค เตือน!! เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน เสี่ยงโรคไข้ดิน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน แนะสวมรองเท้าบูท ล้างเท้าบ่อย ๆ “โรคไข้ดิน”… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

10 อันดับอาหารที่กินแล้วต้านมะเร็ง

โรคมะเร็งคือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกายมนุษย์ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกจุด และพร้อมเข้าทำลายระบบต่าง ๆ ของร่างกาย พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ อาหารที่เราใช้ในการบริโภคในแต่ละมื้อนั้น คุณทราบหรือไม่ว่าบางมื้อที่คุณทานไปนั้นก็มีตัวยาในอาหารที่ช่วยป้องกันและยับยั้งโรคบางชนิดได้ อย่างเช่น ผัก ผลไม้ และธัญญาหารต่างๆ 10… อ่านเพิ่มเติม..

2 weeks ago

ชีวิตนี้สั้นนัก

ชีวิตนี้สั้นนัก เมื่อเทียบกับอดีต และอนาคต . . . . . . . . . พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า "อัปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุธีรา… อ่านเพิ่มเติม..

3 weeks ago

This website uses cookies.