โนรา หรือ มโนราห์ ศาสตร์ศิลป์ถิ่นแดนใต้

4958
views

เทริด ทับทรวง หางหงส์ ปีกเหน่ง เครื่องรูปปัด เหล่านี้คือส่วนหนึ่งในเครื่องกาย ที่เป็นอัตลักษณ์ชัดเจน ของศิลปะการร่ายรำทางภาคใต้ ที่เรียกขานกัน ในนาม “โนรา” หรือ “มโนราห์” ไม่เพียงแค่เครื่องแต่งกายที่มีเอกลักษณ์เท่านั้น บทร้อง ท่ารำของ ศิลปะแขนงนี้ อย่างแตกต่าง กับแขนงอื่นด้วยอัตลักษณ์ที่ชัดเจน

‘โนรา’ หรือ ‘มโนราห์’ เป็นศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนภาคใต้มาช้านาน เป็นการแสดงที่มีแบบแผนในการร่ายรำและขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ฉพาะถิ่น มีดนตรีเป็นลูกคู่ เล่นรับ-ส่งตลอดการแสดง โดยผู้รำโนราจะสวมเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยลูกปัดหลากสี สวมปีกหางคล้ายนก เทริดทรงสูง ต่อเล็บยาวที่ทำด้วยโลหะ การแสดงโนราเป็นที่นิยม และถือปฏิบัติแพร่หลายในชุมชนรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลา และยังได้รับความนิยมไปตลอดสองฟากฝั่งของคาบสมุทรอินโดจีน ทางตอนเหนือมีคณะโนราแสดงขึ้นไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนทางตอนใต้มีคณะโนราสองภาษา ที่ยังคงแสดงอยู่ในเขตสามจังหวัดภาคใต้และมีการแสดงของชุมชนไทย ในรัฐตอนเหนือของสหพันธรัฐมาเลเซีย ได้แก่ กลันตัน เกดาห์ ปะลิส และปีนัง

การแสดงโนรา หรือมโนราห์ ที่เป็นศิลปะการแสดงเก่าแก่จากภาคใต้ของไทย โดย องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศรับรอง ขึ้นทะเบียน โนรา : Nora, Dance Drama in Southern Thailand เป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คือ มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ คือ เป็นการแสดงที่มีการปฏิบัติสืบทอดอยู่ทั่วประเทศ โดยการประกาศครั้งนี้เป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

การประกาศครั้งนี้เป็น “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หรือเรียกอีกชื่อว่า “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” มิได้เรียกว่า “มรดกโลก” แต่อย่างใด เพราะ “มรดกโลก” นั้นหมายถึง สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมไปถึงเมือง

เครดิตรูปภาพ/ข้อมูล: วิกิพีเดีย , TAT : Nakhon Si Thammarat + Phattalung

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร