
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT ชวนชมปรากฏการณ์ ‘Super Full Moon’ “ซูเปอร์ฟูลมูน” หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะประมาณ 357,358 กิโลเมตร ในคืน วันออกพรรษา 17 ตุลาคม 2567 เวลาประมาณ 18:28 น. นี้ แนะ จุดสังเกตการณ์หลัก 5 แห่ง เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และสงขลา
ภาพ : wallo69ส่งผลให้คืนดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เริ่มสังเกตการณ์ได้ช่วงค่ำ ทางทิศตะวันออก จากนั้นชมความสวยงามได้ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

NARIT เตรียมจัดสังเกตการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืนวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ชวนดูดาวชมจันทร์คืนออกพรรษา 5 จุดสังเกตการณ์หลัก ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และสงขลา พร้อมร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลฮาโลวีนในเดือนตุลาคม ชวนแต่งกายธีม Halloween ร่วมงาน เวลา 18:00 – 22:00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
Ⓜ️ เรื่องที่น่าสนใจ |

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมปรากฏการณ์ คืนวันที่ 30 ถึงเช้าวันที่ 31 สิงหาคม 2566 “ซูเปอร์บลูมูน” ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี มีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334 กิโลเมตร และในคืนดังกล่าวยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน หรือ บลูมูน (Blue Moon) ในคืนดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และความสว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 15% เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงจันทร์ในครั้งนี้ คือช่วงเย็นวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:09 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า ของวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ดูได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ ยังมีดาวเสาร์ปรากฏสว่างเคียงข้างดวงจันทร์อีกด้วย NARIT เตรียมจัดสังเกตการณ์ “ซูเปอร์บลูมูน” ในคืนวันที่…

เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า 3 พ.ย.นี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ชวนคนไทยส่องดาวพฤหัสบดีผ่านกล้องโทรทรรศน์หอดูดาวทั้ง 5 แห่งของ NARIT ที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา และขอนแก่น โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ปรากฎการณ์ ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Jupiter Opposition) หมายถึงตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 595 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์กาลิเลียน ทั้ง 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด…

เวลาหัวค่ำของวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2564 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา จะเกิดจันทรุปราคาซึ่งเป็นผลจากดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงาโลก ประเทศไทยสามารถสังเกตเห็นได้ทั่วทุกภาค โดยจันทรุปราคากำลังดำเนินอยู่ขณะดวงจันทร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออก และส่วนใหญ่ของประเทศเห็นได้ในช่วงที่เป็นจันทรุปราคาบางส่วนเท่านั้น ไม่เห็นในช่วงที่เป็นจันทรุปราคาเต็มดวง เนื่องจากจันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดลงก่อนดวงจันทร์ขึ้น ทั้งนี้ ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลา 15.47 น. จากนั้นค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่เงามืดของโลก เกิดเป็นจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 16.44 น. และเข้าสู่จันทรุปราคาเต็มดวงตั้งแต่เวลา 18.11-18.25 น. แต่ในวันดังกล่าวในประเทศไทยดวงจันทร์จะโผล่พ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.38 น. ทำให้ผู้สังเกตในไทยมีโอกาสมองเห็นเป็นเพียง "จันทรุปราคาบางส่วน" เท่านั้น สำหรับผู้สนใจสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 18.38 น. เป็นต้นไป จะมองเห็นดวงจันทร์ปรากฏเว้าแหว่งบางส่วนและค่อยๆ ออกจากเงามืดของโลก จนกระทั่งเข้าสู่เงามัวหมดทั้งดวงในเวลา 19.52 น. เปลี่ยนเป็นจันทรุปราคาเงามัวที่สังเกตได้ยาก เนื่องจากความสว่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสุดท้ายดวงจันทร์จะพ้นจากเงามัวของโลกเวลา 20.49 น. ถือว่าสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้โดยสมบูรณ์ ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์…