“ เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท กับเรื่อง อริยสัจ น่ะมันเรื่องเดียวกัน ความทุกข์เป็นอย่างนี้ คือไม่น่าปรารถนา อริยสัจก็บอกสั้นๆว่ามันเกิดมาจาก “ตัณหา” แต่ถ้าจะต่อให้ถูกต้อง มันเกิดมาจากกระแสปฏิจจสมุปบาทฝ่ายผิดฝ่ายโง่ มันมีตัณหารวมอยู่ในกระแสนั้นด้วย เมื่อตะกี้ก็พูดแล้ว มีอายตนะ มีวิญญาณ มีผัสสะ มีเวทนา มีตัณหา แล้วจึงมีอุปาทาน มีภพ มีชาติ มันมีตัณหาอยู่เป็นแกนกลางของปฏิจจสมุปบาท
ฉะนั้น อริยสัจ ในส่วนทุกข์กับสมุทัย ก็คือ ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายสมุทยวาร เต็ม เต็มที่, อริยสัจฝ่ายดับทุกข์ ทุกข์กับนิโรธ ก็คือ ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายนิโรธวาร เต็มที่ มีสติคุมอายตนะ มีวิญญาณฉลาด มีผัสสะฉลาด มีเวทนาฉลาด แล้วก็ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดทุกข์ ฝ่ายนี้เรียก ฝ่ายดับทุกข์
ชีวิตเป็นเพียง “กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท”
ที่นี้ ที่จะทําให้เป็นอย่างนั้นได้น่ะ ทําอย่างไร ก็ตอบสั้นๆนี้ ก็ด้วยสติ สัมปชัญญะ ถ้าตอบให้ยาวก็ตอบว่ามี อริยมรรคมีองค์ ๘ มรรคมีองค์ ๘ รวมสติ สัมปชัญญะ ปัญญา สมาธิ อยู่ที่นั่น ก็เรื่องเดียวกันแท้ แต่ว่าพูดกันคนละแง่ พูดกันคนละฝ่าย เพื่อให้มันเข้าใจง่ายไปตามกรณีที่จะต้องพูด ฉะนั้น การรู้เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ก็คือการรู้เรื่องอริยสัจ ฉะนั้นขอให้มองเห็นความสําคัญของเรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องเต็ม เรียกเต็มที่ว่า “อิทัปปัจยตาปฏิจจสมุปบาท”
ไม่เคยมีใครสอนเรื่องนี้แม้ในอินเดีย เขาสอนกันอย่างอื่น ความทุกข์เกิดจากอย่างอื่น เกิดจากพระเป็นเจ้า เกิดจากอะไรก็ไม่รู้ ตามใจเขา แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องความทุกข์มันเกิดมาจากอวิชชา ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท กําจัดอวิชชาเสีย กระแสปฏิจจสมุปบาทฝ่ายที่จะเกิดทุกข์มันก็เป็นไปไม่ได้ มันกลับเกิดฝ่ายที่เป็นวิชชา เป็นความถูกต้อง แล้วมันก็ดับทุกข์ขึ้นมาแทน”
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “ปฏิจจสมุปบาทที่ควรศึกษา” บรรยายเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๓๔
ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..
ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.