1) คำตอบของคำถามว่า “เราพึ่งพาคนอื่นได้แค่ไหน ในชีวิตเรา?” คำตอบคือ ไม่ได้ เราพึ่งไม่ได้ เพราะคนที่คิดจะรอพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา และไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง ไม่สามารถใช้ชีวิตของตัวเองได้โดยอิสระ จะไม่มีวันก้าวข้ามผ่านปัญหาใดๆด้วยตนเองได้ ก็ย่อมไม่สามารถใช้ชีวิตได้เลย
2) อาจจะมีบางช่วงเวลา ที่เราร้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่นได้บ้าง แต่ไม่ใช่ตลอดเวลา และไม่สามารถจะรอคอยความหวังการหยิบยื่นความช่วยเหลือจากใครได้ขนาดนั้น เพราะทุกคนต่างมีชีวิตเป็นของตนเอง ที่ต้องดิ้นรน และเอาตัวรอด จะหวังให้ใครมาคอยดูแลเรา ให้เราได้พึ่งพาตลอดเวลานั้นเป็นไปได้ยาก
3) คนที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบผิดๆ ที่มี attachment style ลักษณะ insecure ต้องการ support และความช่วยเหลือจากผู้อื่นตลอดเวลา ไม่สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง เพราะไม่เชื่อมั่นในตัวเอง จากการถูกสปอยล์ให้ตัวเองต้องมีใครคอยเคียงข้างให้การดูแลอยู่เสมอ จนไม่อาจที่จะเอาตัวรอดหรือผ่านปัญหาต่างๆไปเองได้ นี่ก็เป็นจุดบกพร่องที่มาจากการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว
4) ลักษณะความผูกพันแบบหมกมุ่น (Preoccupied) เป็นรูปแบบที่มองตนเองทางลบ และมองผู้อื่นทางบวก บุคคลจะมีความรู้สึกลึกๆ ว่าตนเองไม่มีคุณค่า จึงต้องการที่จะยืนยันคุณค่าของตนเองด้วยการพยายามอย่างมากที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้อื่น และหากผู้อื่นไม่เข้าใกล้หรือใกล้ชิดเพียงพอ บุคคลจะมีความเศร้าและหดหูอย่างมาก
5) คนเรามันต้องมีวันหดหู่เศร้าหมองที่ต้องการที่ปรึกษา ต้องการใครสักคนมาให้กำลังใจเรา ให้ความรักกับเรา แต่พอถึงเวลาหนึ่ง มันจะเป็นเหมือนบทพิสูจน์ชีวิตเรา ว่าตัวเราจะผ่านเรื่องต่างๆเหล่านี้ที่หนักหนาไปด้วยตัวเองได้หรือไม่ บททดสอบชีวิตมันเป็นเหมือนสิ่งที่สะท้อนความแข็งแรงของตัวเราเองทางจิตวิทยา ว่าเราจะสามารถแก้ปัญหา และเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่างๆอย่างไร ในวันที่ไม่มีใครมาคอยช่วยเราเลย
6) เรารอคนอื่นไม่ได้ทั้งชีวิต สุดท้าย เราต้องตัดสินใจทุกๆเรื่องเอง เราเป็นผู้ให้คำตอบกับทางเดินต่างๆในชีวิตของเราเองทั้งหมด เลือกเองเป็น เจ็บเอง เรียนรู้เอง และเติบโตด้วยตัวเอง คนที่รอคนอื่นมาช่วยตลอดเวลา คุณจะไม่มีวันเติบโต ไม่มีวันก้าวหน้า และไม่มีวันไหนที่ประสบความสำเร็จได้ยั่งยืน เพราะคุณไม่เคยทำมันด้วยตนเองจริงๆ
7) อย่ารอให้ใรมาบอกว่าเราต้องใช้ชีวิตแบบไหน ชีวิตของเรา เราบอกตัวเองว่าเราอยากเป็นใคร อยากใช้ชีวิตอย่างไร ความสุขของเราคืออะไร และเราจะผ่านทุกเรื่องไปได้ด้วยตัวเองเสมอ ถ้าเราเชื่อในคุณค่าของตัวเรา และเจ้าของชีวิตเราก็คือเรา เราพลาดผิด ล้มลุกคลุกคลาน และพัฒนาได้ ก็ด้วยตัวเราเอง ไม่ใช่คนอื่นมาสั่งให้เราเดิน หรืออุ้มเราอยู่ตลอดเวลา
ชีวิตนี้ อย่าหวังพึ่งพาคนอื่น มากเกินไป
ที่มา – ThinkTalkLoud @tootsyreview
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..
เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..
วันไหว้พระจันทร์ 🌙 ภาษาจีน คือ "中秋节" (จงชิวเจี๋ย) ส่วนวันไหว้พระจันทร์ภาษาอังกฤษ คือ Moon Festival หรือ Mid-Autumn Festival (เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง) เทศกาลไหว้พระจันทร์… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.