องค์การยูเนสโก (UNESCO) เตรียมยก ‘ประเพณีสงกรานต์ไทย’ (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อพิจารณาในที่ประชุม ให้เป็น “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ”ภายในเดือนธันวาคม 2566 นี้
UNESCO Enlists Songkran in Thailand To Consider As the World’s Intangible Cultural Heritage คุณค่าแห่งวัฒนธรรมไทยระบือไกลไปทั่วโลก “ประเพณีสงกรานต์” จ่อขึ้นเป็นมรดกโลก : ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ชิ้นที่ 4 ของไทย
ต่อจาก โขน (ขึ้นทะเบียนในปี 2561)
นวดไทย (ขึ้นทะเบียนในปี 2562)
และโนรา (ขึ้นทะเบียนในปี 2564)
โดย องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้นำ “ประเพณีสงกรานต์” (Songkran in Thailand, Traditional Thai New Year Festival) เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อการพิจารณาในที่ประชุมในช่วงปลายปี 2566 ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage – ICH) รอติดตามกันต่อไป
สำหรับประเพณีสงกรานต์ของไทย เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยที่สืบเนื่องมาแต่โบราณ งดงาม และมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม จนเป็นที่รู้จักของชาวโลก ประกอบด้วย
1. การสรงน้ำพระ ทั้งที่บ้าน และที่วัด เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงการทำบุญตักบาตรไหว้พระ
2. การรดน้ำให้กันและกัน เป็นการอวยพรปีใหม่
3. การรดน้ำผู้ใหญ่ เป็นการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ ที่เคารพ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์
4. การดำหัว เป็นพิธีสงกรานต์ทางภาคเหนือ โดยจะคล้ายกับการรดน้ำผู้ใหญ่ในภาคกลาง เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่
5. การขนทรายเข้าวัด มีความเชื่อว่า เพื่อความเป็นมงคล ให้มีความสุขความเจริญ
6. การละเล่นกีฬาพื้นบ้าน รวมไปถึงวัฒนธรรมในเรื่องของอาหารการกิน
ทั้งนี้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage – ICH) ไม่ใช่มรดกโลก (World Heritage site) แต่เทียบเท่า “มรดกโลก” เนื่องจากองค์การ UNESCO ได้ระบุไว้ว่า “มรดกโลก” ใช้เรียกเฉพาะสถานที่เท่านั้น เช่น แหล่งโบราณคดี, อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น
ขณะที่ ‘มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม’ ใช้เรียกเฉพาะหมวดหมู่ในวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน และในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน
ทั้งนี้ ‘มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม’ ของประเทศไทย ยังมีอีกหลายรายการเตรียมพิจารณาลงทะเบียนกับองค์การ UNESCO ได้แก่ มวยไทย, ผีตาโขน, กัญญาไทย, อาหารไทย (ข้าวแกง) และข้าวเหนียวมะม่วง เป็นต้น
ข้อเข่า โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายบานพับ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง หรือออกกำลังกาย การดูแลข้อเข่าอย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันการเสื่อมก่อนวัย และลดปัญหาอาการปวดหรือข้ออักเสบที่อาจเกิดขึ้นได้ อาหารบำรุงข้อเข่าให้เสื่อมช้าลง ปลา ที่มีโอเมก้า 3 เช่น โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น… อ่านเพิ่มเติม..
• ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พระเถระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก คู่กับพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา พระมหาโมคคัลลานะ มีชื่อเดิมว่า "โกลิตะ" เป็นบุตรพราหมณ์ท้ายบ้านผู้หนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์ โกลิตมาณพ เป็นเพื่อนสนิทกับอุปติสสมาณพ หรือ พระสารีบุตร… อ่านเพิ่มเติม..
พระพุทธเจ้าทรงแสดงอุบายแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์ในหมู่บ้านโกลิตคาม ได้ชื่อว่า “โกลิตะ” ตามชื่อของหมู่บ้าน มารดาชื่อโมคคัลลี คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “โมคคัลลานะ” ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายที่รักกันมากับอุปติสสมาณพ (พระสารีบุตร) เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญ ตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย… อ่านเพิ่มเติม..
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด แบบเต็มและแบบย่อทั้ง 7 วัน ตามกำลังวัน สวดก่อนนอนชีวิตราบรื่น ร่มเย็น เสริมสิริมงคล ประโยชน์ของการสวดมนต์ก็คือทำให้จิตใจเราผ่องใส และจิตใจสงบมากขึ้น ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิด คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์… อ่านเพิ่มเติม..
อาการท้องผูก ท้องอืด ถึงแม้จะไม่ส่งผลอันตรายมากถึงชีวิตแต่ก็สร้างความอึดอัดไม่สบายท้อง หรืออาจลุกลามกลายเป็นโรคอันตรายในอนาคตได้ และที่สำคัญอาการเหล่านี้มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง! ผลไม้หลายชนิดอุดมไปด้วยใยอาหาร ทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้น ผลไม้ 9 ชนิดช่วยขับถ่าย กากใยสูง แก้อาการท้องผูกชนิดไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย 1.มะละกอสุก เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงและหาทานง่าย… อ่านเพิ่มเติม..
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.