◎ สาระธรรม

‘เชื่อมั่นในตน’ เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ

พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา (คำอ่าน : วา-ยะ-เม-เถ-วะ, ปุ-ริ-โส, ยา-วะ, อัด-ถัด-สะ, นิบ-ปะ-ทา) แปลว่า “เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ”

นั้นเป็นจริงยิ่งนัก เพราะเกิดเป็นคนประเสริฐที่สุดแล้ว ประเสริฐทั้งความรู้ ความสามารถ และความคิด สามารถทำอะไร หรือพัฒนาอะไรได้มากมายเหนือกว่าสัตว์ใดๆ ในโลกนี้ ขอเพียงมีความพยายาม (สัมมาวายามะ) และความตั้งใจ (สัมมาสมาธิ) ย่อมประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

ดังนั้น ทุกคนต้องสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง และให้กำลังใจตัวเอง อย่าคิดว่าเราทำไม่ได้ ต้องคิดว่าเราต้องทำให้ได้ ตั้งความหวังและทำความหวังนั้น ให้เป็นความจริง อย่าเกียจคร้าน และอย่ารอคอยโชควาสนาจากใคร โชควาสนาของเรา ก็อยู่ที่ตัวของเรา เริ่มทำเมื่อไร ความสำเร็จก็มีโอกาสเกิดขิ้นเมื่อนั้น จะทำอะไรก็ตาม ต้องใช้ความพยายามและความอดทน เหมือนดังพระมหาชนก ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร ๗ วัน ๗ คืน โดยที่ไม่เห็นฝั่ง แต่ก็ไม่ลดละความพยายาม จนในที่สุดนางมณีเมขลา ได้อุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร ถึงฝั่งสมความปรารถนา

มีบทกลอนบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า ….
เกิดเป็นคนควรหวังอย่ายั้งหยุด
มิรู้สุดสิ้นหวังตั้งมาดหมาย
หวังไว้เถิดหวังยั่งยืนมิคืนคลาย
ปราชญ์ทั้งหลายสมหวังเพราะตั้งใจ

จริงๆ แล้ว คนที่มีความขยัน จะเป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ทำด้วยตนเอง ต่างจากคนที่ขี้เกียจ จะคอยพึ่งแต่คนอื่น จะคอยแต่โชควาสนา มีคนบอกว่า เทวดาไม่ชอบช่วยคนขี้เกียจ จะช่วยและส่งเสริมคนที่ขยัน เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะคนขยันอยู่ที่ไหน ก็มีคนสนับสนุน ชื่นชม สุภาษิตจีนกล่าวไว้ว่า “ระยะทางหมื่นลี้ ต้องเริ่มที่ก้าวแรกเสมอ” เกิดเป็นคน ต้องคิดไว้เสมอว่า ชีวิตคือการต่อสู้ จงต่อสู้ด้วยจิตใจที่ทรนง เข้มแข็ง กล้าหาญ หากล้ม ก็ต้องลุกขึ้นสู้ต่อไป เพื่อทำความฝันให้เป็นความจริง

ธรรมภาษิตสอนใจ

admin

Recent Posts

จากความเชื่อ “เปรต” ผีที่หิวโหย 12 ตระกูล 21 จำพวก

เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.