“ถ้ำฝ่ามือแดง” แหล่งภาพเขียนสีพบใหม่ ในตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
วันนี้ (29 พ.ย.2565) เพจเฟซบุ๊ก สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี กระทรวงวัฒนธรรม เผยข่าวองค์ความรู้ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี “ถ้ำฝ่ามือแดง” แหล่งภาพเขียนสีพบใหม่ ในตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
แหล่งภาพเขียนสีที่พบใหม่ชาวบ้านเรียกกันในชื่อ “ถ้ำฝ่ามือแดง” ตั้งอยู่บริเวณบ้านห้วยเหว่อ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากชายแดนไทย-ลาวประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ เมตร สภาพพื้นที่เป็นลานหินทรายสลับสูงต่ำ บริเวณที่พบภาพเขียนสีมีลักษณะเป็นหินทรายขนาดใหญ่ วางซ้อนทับกัน ขนาดเพิงหินยาว ๑๐.๓๐ เมตร สูง ๒.๔๑ เมตร วางตัวยาวในแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก หันหน้าไปทางทิศใต้ บริเวณด้านทิศใต้ของเพิงหินเป็นจุดที่พบภาพเขียนสี
ภาพเขียนสีที่พบนั้นแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่มตามตำแหน่งที่พบ
กลุ่มที่ ๑ บริเวณผนังเพิงหินด้านนอก พบภาพเขียนสีจำนวน ๖ ภาพ ประกอบด้วยภาพสัตว์และภาพมือ เขียนด้วยสีแดงน้ำหมาก มีการใช้เทคนิคการเขียนสีหลายรูปแบบ เช่น การระบายทึบ การเขียนเฉพาะเส้นกรอบ การเขียนเส้นกรอบแล้วระบายทึบ และการทาสีลงบนฝ่ามือแล้ววางทาบลงไปบนแผ่นหิน
กลุ่มที่ ๒ บริเวณผนังเพิงหินด้านใน ทิศตะวันตก พบภาพเขียนสีจำนวน ๔ ภาพ เป็นภาพสัตว์ ภาพมือ และบางภาพยังไม่สามารถจัดจำแนกได้ว่าเป็นภาพอะไร เขียนด้วยสีแดงน้ำหมาก ใช้เทคนิคแบบระบายทึบและการทาสีลงบนฝ่ามือแล้วทาบลงบนแผ่นหิน
กลุ่มที่ ๓ บริเวณผนังหินด้านใน ทิศตะวันออก พบภาพเขียนสีจำนวน ๔ ภาพ วาดเป็นรูปสัตว์ บางภาพไม่สามารถจัดจำแนกได้ เขียนสีด้วยสีแดงน้ำหมาก ใช้เทคนิคการระบายทึบ การเขียนเส้นกรอบแล้วระบายทึบ
จากการศึกษาพบว่าการเขียน “ภาพสัตว์” เป็นภาพที่พบมากที่สุด โดยพบถึง ๙ ภาพจากทั้งหมด ๑๔ ภาพ ส่วนภาพมือนั้นพบเป็นจำนวน ๒ ภาพ อีก ๓ ภาพ ไม่สามารถจัดจำแนกได้ว่าเป็นภาพอะไร
โดยทั่วไปรูปแบบภาพเขียนสีสามารถจัดจำแนกได้ออกได้หลายรูปแบบ เช่น ภาพเสมือนจริงเลียนแบบธรรมชาติ (the naturalistically imitative form expression) ภาพนามธรรม (abstract) ภาพคตินิยม (idealism) และภาพสัญลักษณ์ (symbol)สำหรับภาพเขียนสีที่พบที่แหล่งโบราณคดีนี้จัดเป็นกลุ่มภาพเสมือนจริง วาดภาพเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ภาพสัตว์ และภาพสัญลักษณ์ เช่น ภาพมือ สำหรับการแปลความภาพเขียนสีนั้นยังไม่สรุปความหมายได้อย่างแน่ชัด แต่อาจกล่าวได้ว่าการพบภาพสัตว์อาจสะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่บริเวณนี้ ที่จะพบสัตว์เหล่านี้ได้ ส่วนภาพมือนั้นน่าจะเป็นสัญลักษณ์แทนตัวคนในอดีต
ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าตำแหน่งที่พบภาพมือนั้นจะประทับใกล้กับภาพสัตว์ ซึ่งคล้ายกับภาพมือที่พบที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่จะประทับไว้กับภาพสัตว์ขนาดเล็กและใหญ่ ซึ่งอาจมีความหมายสื่อถึงพิธีกรรมการล่าสัตว์หรือจับสัตว์
จากลักษณะภาพเขียนสี อาจกำหนดอายุเชิงเทียบในเบื้องต้นได้ว่าอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว ๓,๐๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว
ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..
ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.