…เนื่องจากท่านพุทธทาสภิกขุ พบว่าตำราธรรมะภาษาไทยนั้นยังอธิบายไว้ไม่เพียงพอสำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจริงๆ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 ท่านพุทธทาสภิกขุจึงเริ่มเขียนหนังสือ ตามรอยพระอรหันต์ โดยมุ่งหวังเพื่อให้เป็นแผนที่สำหรับการเดินทางไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ อันเป็นอุดมคติสูงสุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งคำประณมพจน์และคำประกาศใช้นาม พุทธทาส ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือตามรอยพระอรหันต์นี้ ว่า
พุทฺธสฺสาหํ นิยฺยาเทมิ สรีรญฺชีวิตญฺจิทํ พุทฺธสฺสาหสฺมิ ทาโส ว พุทฺโธ เม สามิกิสฺสโร – อิติ พุทฺธทาโส
ข้าพเจ้ามอบชีวิตและร่างกายนี้ ถวายแด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า เพราะเหตุดังว่ามานี้ ข้าพเจ้าจึงชื่อว่า พุทธทาส
ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงที่มาของนามพุทธทาสไว้ดังนี้
เราเกิดความรู้สึกที่จะรับใช้พระพุทธศาสนาขึ้นมา โดยที่เราเริ่มเข้าใจพระพุทธเจ้าและเริ่มเข้าใจพุทธศาสนา ว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์สูงสุดสำหรับมนุษย์ แต่แล้วมันก็ไม่ค่อยจะได้รู้จักกัน ฉะนั้นจึงอุทิศตั้งจิตว่า เราจะทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา อย่างกับว่ารับใช้พระพุทธองค็ให้สมกับหน้าที่ของพระสาวก ทีนี้ทุกเย็นไม่ว่าวัดไหนเขาก็สวดทำวัตรเย็น ในบททำวัตรเย็นมันก็มีคำชัดเลยว่า “ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า” มันก็ยิ่งเข้ารูปกันกับ เราที่ตั้งใจอยู่ว่าจะรับใช้พระพุทธเจ้า ในฐานะที่เป็นทาส จึงสมกับที่เรียกตัวเองว่า “พุทธทาส”
นี่คือความหมายของคำว่า “พุทธทาส” เกิดขึ้นจากความรู้สึกว่าไม่มีอะไรดีกว่า ชีวิตของเราจะอยู่ต่อไปอีกกี่ปีก็ตามใจ ถ้าจะใช้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด และสูงสุด ก็ควรจะทำงานนี้ คือรับใช้พระพุทธเจ้า ด้วยการทำให้พุทธศาสนาแพร่หลายไป มีประโยชน์แก่คนทุกคนในโลกก็แล้วกัน แล้วอาตมายังคิดด้วยความรู้สึกบริสุทธิ์ใจว่า พุทธบริษัททุกคนเป็นพุทธทาสอยู่แล้วในตัว ไม่ใช่แต่เรา แต่เขาทำงานอย่างพุทธทาสอยู่แล้วทุกคน ช่วยรักษาบำรุงเผยแผ่พระพุทธศาสนา ฉะนั้นเราก็ไม่ยกตัว ไม่อวดดี ไม่จองหองพองขนว่า เป็นพุทธทาสแต่เราคนเดียวเท่านั้น
นายธรรมทาสเขาตั้งชื่อของเขาก่อน ธรรมทาส ทีนี้เราเห็นว่ามันว่างอยู่ตำแหน่งหนึ่ง ก็เลยเห็นว่ามันน่าจะชื่อพุทธทาส แล้วเจ้าคุณวัดสามพระยาสมัยนั้น สมเด็จวัดสามพระยาตอนนี้แหละ ท่านเกิดชอบขึ้นมา ท่านก็เลยใช้ชื่อสังฆทาสอยู่พักหนึ่ง และท่านก็จัดการเรื่องของคณะสงฆ์เป็นการใหญ่ ปฏิรูป ปฏิวัติอะไรกัน ในเรื่องเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ก็เลยใช้ชื่อตัวเองว่าสังฆทาสเลยได้มีครบชุด…
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..
เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.