๑๐ ตำนานและความเชื่อโบราณ “วันลอยกระทง”

วันลอยกระทง (Loy Krathong Festival)เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของไทย ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย วันลอยกระทงเป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ แต่ในอีกความหมายก็หมายถึงการบูชารอยพระพุทธบาทได้อีกเช่นกัน แต่โดยส่วนมากแล้วเราจะได้ยินกันว่าเป็นการขอขมาจากพระแม่คงคา แสดงความรู้สำนึกบุญคุณของแหล่งน้ำที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต มีความเชื่อมาตั้งแต่ไหนแต่ไรด้วยกระทงที่มีการปักดอกไม้ ธูป เทียน ลงไปนั่นเอง

โดยส่วนมากแล้วในวันลอยกระทงก็จะเป็นวันที่เรานำกระทงที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติมาลอยในแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อเป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา ในสิ่งที่เราทำไม่ดีต่อแม่น้ำลงไป แต่เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า วันลอยกระทงนั้นมีความเชื่อและความสำคัญอย่างไรบ้างต่อมนุษย์

1. เพื่อบูชาและขอขมาพระแม่คงคา

เนื่องจากมนุษย์เรานั้นได้มีการนำน้ำมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้ในการอาบ ดื่ม และยังรวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในแม่น้ำด้วย ดังนั้นจึงได้กำหนดให้วันลอยกระทงเป็นวันที่มนุษย์ทุกคนจะได้บูชาและขอขมาพระแม่คงคาที่ได้นำน้ำมาใช้ประโยชน์ และยังเป็นการสอนให้รู้ถึงคุณค่าของการใช้น้ำอย่างประหยัดอีกด้วย

2. ตัดผม เล็บ ลงไปในกระทงด้วย

อีกหนึ่งความเชื่อในวันลอยกระทงที่มีมาอย่างยาวนานก็คือ การตัดเล็บ ตัดเส้นผม หรือใส่เงิน (ใช้เป็นเงินเหรียญ) ลงไปในกระทงด้วยตอนลอย เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ลอยความทุกข์ออกไปจากตัวเรา ลอยความโศกเศร้าออกไป ให้มีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามา และยังรวมถึงการลอยเอาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ออกไปด้วย เพื่อเป็นการเริ่มต้นใหม่ในปีต่อไป

4. เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์

มนุษย์ทุกคนเชื่อว่าเรามีเทวดาประจำตัว ที่คอยปกปักรักษาให้รอดพ้นจากอันตรายต่าง ๆ เมื่อถึงวันลอยกระทงจึงได้ทำการขอขมาและขอบคุณที่ท่านคอยดูแลเรามาตลอด เพื่อเป็นการรับพลังดี ๆ เข้ามา ทิ้งเอาความไม่ดีออกไปให้หมด

5. เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท

พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย โดยมีประวัติความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทนี้ว่า ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับพญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธเจ้าจึงทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการะบูชา

6. การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต

สำหรับความเชื่อนี้ เป็นความเชื่อของชาวไทยทางภาคเหนือที่มีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ซึ่งตามตำนานได้เล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพระยามารได้สำเร็จ

7. เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า เสด็จกลับจากเทวโลก

ในวันลอยกระทงยังมีความเชื่ออีกด้วยว่า เพื่อเป็นการต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา และความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณว่าการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลายได้พร้อมใจกันทำการสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)

8. เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์

ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า พระจุฬามณีตามปกติมีเทวดาเหาะมาบูชาเป็นประจำ และยังรวมถึงพระศรีอริยเมตไตรยเทวโพธิสัตว์ ที่ในอนาคตจะลงมาจุติยังโลกมนุษย์และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งก็ได้เสด็จมาไหว้ด้วย ดังนั้นการลอยกระทงจึงเป็นการบูชาพระจุฬามณีและพระศรีอริยไตรยเทวโพธิสัตว์ด้วย

9. พิธีการอาบน้ำเพ็ญ เวลากลางคืน

ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 หรือในคืนวันลอยกระทง จะมีพิธีที่เรียกว่าการอาบน้ำเพ็ญในช่วงเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเป็นช่งที่พระจะนทร์อยู่กึ่งกลางพอดี และเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้อาบน้ำเพ็ญในคืนนี้จะได้รับความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ทำให้มีความสุขในการดำเนินชีวิต

10. เป็นการระลึกถึงบรรพบุรุณ

นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า การลอยกระทงเป็นการระลึกถึงและส่งของให้กับบรรพบุรุณที่ได้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย ผ่านการลอยกระทงและสิ่งของต่าง ๆ ที่ถูกใส่ลงไปในกระทงนั่นเอง

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, https://archive.clib.psu.ac.th

admin

Recent Posts

ผักหวานป่า อาหารสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการสูง

ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..

4 weeks ago

เพิ่มวันหยุดอีก 3 วัน ปี 68-69 เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน

ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

คืบหน้า การเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2568

ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ปฏิทินวันพระ พ.ศ. 2568/2025 (ปีมะโรง – ปีมะเส็ง)

วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

สูตรก่อนนอน ช่วยให้หลับสนิท ตื่นมาสดชื่น

10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

10 จังหวัดที่มี วัด เยอะที่สุดในประเทศไทย

พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.