ความรู้สึก “ตอนใกล้ตาย” จะเป็นอย่างไร จะเจ็บปวดทรมานมากน้อยแค่ไหน?

ความรู้สึกเวลาใกล้ตายจะเป็นอย่างไร จะเจ็บปวดทรมานมากน้อยแค่ไหน ใครยังไม่เคยตายก็คงตอบไม่ได้ แต่เมื่อตายแล้วจะกลับมาตอบได้อย่างไร

ตอนใกล้ตาย” มันมีความรู้สึกอย่างไร?
คุณหัชชา ณ บางช้าง เคยค้นคว้าเรื่องนี้มาเขียนใน “ภาวะหลังตาย” และเล่าว่า “กระบวนการตาย” ในระยะต่าง ๆ นั้นเป็นเช่นไร
ท่านบอกว่ามันมี 4 ขั้นตอนอย่างนี้

๑. ระยะแรก เป็นระยะที่ธาตุดินเริ่มสลายตัว
กลายเป็นน้ำ ผู้ตายจะรู้สึกอ่อนระโหย
ไม่มีแรง การมองเห็นต่าง ๆ เริ่มเสื่อม
มองอะไร ๆ ก็ไม่ชัด ทุกอย่างดูมัว ไปหมด
ทุกอย่างที่เห็น เหมือนมองไปกลางถนน
ขณะแดดจัดๆภาพต่างๆจะเต้นระยิบระยับ
เต็มไปหมด

๒. ระยะที่น้ำจะกลายเป็นไฟ ช่วงนั้น
น้ำในร่างกายเริ่มแห้งลง จะรู้สึก ชา ๆ ตื้อ ๆ
เริ่มหมดความรู้สึก ไล่จากปลายเท้าขึ้นมา
ประสาทหูเริ่มไม่รับรู้คือเริ่มไม่ได้ยินเสียง
อะไร มองไปทางไหนก็เห็นแต่ควัน

๓. ระยะนี้ไฟเปลี่ยนเป็นลม
หูจะไม่ได้ยินอะไรอีกเลย รู้สึกหนาว
จับใจ ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ หยุดหมด
ลมหายใจอ่อนลงเรื่อย ๆ
จมูกเริ่มไม่รับความรู้สึกเรื่องกลิ่น

๔. ระยะนี้ ธาตุลมจะเปลี่ยนเป็นอากาศธาตุ
ตอนนี้ เจตสิกทุกอย่าง รวมทั้งการหายใจ
จะหยุดหมดพลังงานทั้งหลายที่เคย
ไหลเวียนอยู่ในร่างกายจะไหลกลับคืนไปสู่
ระบบประสาทส่วนกลางหมด ลิ้นแข็ง
ไม่รับรู้เรื่องรสชาติใดๆความรู้สึกสัมผัส
หมดไป ความรู้สึกอยากโน่น อยากนี่ต่าง ๆ
ที่เคยมีก็หมดไป มีความรู้สึกเหมือน
อยู่กับแสงเทียนที่กำลังลุกโพลงอยู่เท่านั้น
ท่านบอกว่าตอนนี้แหละที่แพทย์จะประกาศว่า
ผู้ป่วยในความดูแล “ถึงแก่กรรม” แล้ว (clinical death)
นั่นก็คือจุดที่ “เวทนา” ทั้งหมดดับไป สมองและระบบไหลเวียนต่าง ๆ ของร่างกายหยุดทำงานหมด แปลว่ารูปและนาม หรือเบญจขันธ์ ตายไปแล้ว

ก็ต้องถกกันต่อไปว่า ถ้าเราเชื่อว่า วิญญาณยังอยู่ต่อเมื่อร่างกายสลายไป จะไปอยู่ที่ไหนอย่างไรต่อไป

อ่านเจออีกแหล่งหนึ่งเรื่อง “ลักษณะการตาย” ตามแนวคิดแบบ “เซน” ที่คุณ “โชติช่วง นาดอน” เคยรวบรวมไว้ในหนังสือ “จิตคือพุทธะ” เมื่อนานมาแล้ว
ท่านบอกว่าคนเราตายได้สองลักษณะ คือ “ตายอย่างปราศจากที่พึ่ง” และ
“ตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่ง”
คนที่ตายย่างแรกนั้นเวลาใกล้จะสิ้นลม มีอารมณ์ผิดไปจากปกติ จิตใจกลัดกลุ้มยุ่งเหยิง เรียกว่า “จิตวิการ” ซึ่งหมายถึงจิตเกิดความปวดร้าวทรมานเพราะ
ยัง “ยึดติด” กับหลายเรื่อง
หรือที่เรียกว่า “ไม่ยอมตายทั้ง ๆ ที่ต้องตาย” นั่นคือจิตใจยังติดข้องกับอุปาทาน ๔ ประการคือ

๑. ติดอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง
๒. ห่วงใยอาลัยในสิ่งที่เป็นรูป และอรูป
โดยเห็นว่าเป็นของเที่ยง
๓. มีนิวรณ์ความวุ่นวาย ฟุ้งซ่าน
มาห้ามจิตมิให้บรรลุความดี
๔. มีความดูแคลนเมินเฉยในคุณพระรัตนตรัย

เขาบอกว่าคนส่วนใหญ่ตายลักษณะอาการ
อย่างนี้ เรียกว่าตายอย่างอนาถา
ส่วนการตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่งนั้น
แปลว่าคนใกล้ตายมีสติอารมณ์ผ่องใส
ไม่หวั่นไหว และซาบซึ้งในวิธีของมรณกรรม และยึดหลัก ๔ ประการคือ

๑. มีอารมณ์เฉย ๆ
ซาบซึ้งถึงกฎธรรมดาแห่งความตาย
๒. ซาบซึ้งถึงสภาพการณ์สิ่งในโลกของ
ความไม่เที่ยง ไม่เป็นแก่นสาร
๓. รำลึกถึงกุศลกรรมที่ได้ผ่านมาในชีวิต
และเกิดปิติปลาบปลื้ม
๔. ยึดมั่นเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
อยู่ตลอดเวลาจนสิ้นลมหายใจ
ด้วยเหตุนี้แหละ, จึงเห็นว่าการ
“ฝึกตายก่อนตาย”ดั่งที่ท่านพุทธทาส หรือ.. หลวงพ่อ หลวงปู่ ครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะ..
หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ท่านเคยสอนเรานั้น
เป็นเรื่องที่ประเสริฐสุดแล้ว
แต่คนส่วนใหญ่กลัวตาย แม้จะเอ่ยถึงคำว่าตายก็รับไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการ “แช่ง” ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครหนีความตายได้แม้แต่คนเดียว

การเรียนรู้ “มรณาอุปายะ” หรือ “ฝึกตายก่อนตาย” นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ทำให้มันสนุกเสีย ให้มันเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นน่ายินดี ก็จะทำให้ความทุกข์ระหว่างมีชีวิตอยู่นั้น
ลดน้อยถอยลง และเมื่อถึงเวลาที่ต้องจากโลกนี้ไปก็ไม่ตกใจ
ไมตื่นเต้น ไม่รันทดและทรมานเพราะ..

ความกลัวและความไม่ต้องการที่จะจากไป
ชาวพุทธที่ฝึกปฏิบัติธรรมในสาระจริง ๆ (ไม่ใช่แค่ทำบุญแล้วนึกว่าจะต้องไปสวรรค์
โดยไม่ต้องปฏิบัติธรรม) ก็จะเข้าใจว่า.. “ขันธ์ทั้งห้า” ล้วนไม่เที่ยง ไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลงและทรุดโทรม และท้ายสุดก็แตกดับไป และระหว่างที่มรณกาลมาถึงนั้น ขันธ์ห้าก็ย่อมจะแปรปรวน จึงควรจะเตรียมตัวและเตรียมใจไว้
เมื่อความตายมาถึง, เราก็จะได้ไม่ทุรนทุราย และตายอย่างมีสติ และ “รู้เท่าทันความตาย” ซึ่งเป็นสุดยอดของการมีชีวิตอยู่นั่นเอง..

อ่านบทความต้นฉบับ
#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ

admin

Recent Posts

ผักหวานป่า อาหารสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการสูง

ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..

4 weeks ago

เพิ่มวันหยุดอีก 3 วัน ปี 68-69 เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน

ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

คืบหน้า การเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2568

ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ปฏิทินวันพระ พ.ศ. 2568/2025 (ปีมะโรง – ปีมะเส็ง)

วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

สูตรก่อนนอน ช่วยให้หลับสนิท ตื่นมาสดชื่น

10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

10 จังหวัดที่มี วัด เยอะที่สุดในประเทศไทย

พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.