“ผักหวานบ้าน” ชื่ออื่นๆ : ผักหวาน, ผักหวานบ้าน (ทั่วไป); ผักหวานใต้ใบ (สตูล); มะยมป่า (ประจวบคีรีขันธ์); ก้านตง, จ๊าผักหวาน (ภาคเหนือ); โถหลุ่ยกะนีเด๊าะ (กะเหรี่ยง -แม่ฮ่องสอน); นานาเซียม (มลายู-สตูล)
ชื่อพฤกษศาสตร์ใหม่ของ “ผักหวานบ้าน”
ผักหวานบ้าน ไม้ป่าที่นำมาปลูกเป็นผักพื้นบ้าน ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีชื่อพฤกษศาสตร์ใหม่ว่า (L.) Chakrab. & N.P.Balakr. ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ค่อยแพร่หลายนัก เนื่องจากที่ผ่านมาพรรณไม้ชนิดนี้ได้รู้จักกันในชื่อ (L.) Merr. มาช้านาน
ผักหวานบ้านมีชื่อดั้งเดิมที่ตั้งชื่อถูกต้องตามกฎเกณฑ์ (basionym) ว่า L. ตีพิมพ์ในวารสาร Mantissa Plantarum เล่มที่ 1 หน้า 128 ค.ศ. 1767 หรือเมื่อ 255 ปีมาแล้ว ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อพฤกษศาสตร์หลายครั้ง
ในปี ค.ศ. 1903 ศาสตราจารย์ ดร. Elmer Drew Merrill นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ย้ายผักหวานบ้านไปอยู่สกุล Sauropus ใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า (L.) Merr. ล่าสุดในปี ค.ศ. 2012 ดร. Tapas Chakrabarty และ ดร. Nambiyath Puthansurayil Balakrishnan นักพฤกษศาสตร์ชาวอินเดีย ได้ย้ายผักหวานป่าไปอยู่สกุล Breynia ใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า (L.) Chakrab. & N.P.Balakr.
ผักหวานบ้าน เป็นไม้พุ่ม สูง 1-4 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่ ดอกแยกเพศร่วมต้น ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ ดอกสีเขียวอมเหลืองหรือสีแดงเข้ม ผลรูปทรงกลมแป้น เมื่อแก่แตกเป็น 3 ซีก พบทุกภาค ขึ้นในป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ เขาหินปูน ชายป่า นิยมนำมาปลูกเป็นผักพื้นบ้าน ยอดอ่อน รับประทานเป็นผัก ในทางสมุนไพร ราก แก้ไข้ ถอนพิษไข้กลับ ไข้ซ้ำ ถอนพิษผิดสำแดง และแก้คางทูม ลำต้นและใบ แก้ตาอักเสบ แผลในจมูก ใบ พอกแผล ฝี แก้กำเดา ดอก ขับโลหิต
#สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช #ชื่อพฤกษศาสตร์ใหม่
ที่มา/ภาพ – สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand
สรรพคุณทางยาของ “ผักหวานบ้าน”
ผักหวานบ้าน เป็นผักที่มีรสหวานเย็น จึงช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกายได้ รากใช้ต้มกับน้ำดื่มและอาบ ช่วยแก้ซาง พิษซาง ต้นและใบใช้ตำผสมกับสารหนู
คนไทยเมื่ออดีตใช้ ต้นและใบ ผักหวานบ้านตำผสมกับรากอบเชยใช้เป็นยาพอกรักษาแผลในจมูก ตำรับยาหมอพื้นบ้านบางพื้นที่ใช้รากเข้าตำรับยาฝนแก้อาการเจ็บในปาก ปากเหม็น ผักหวานบ้านเป็นผักที่มีรสหวานเย็น จึงช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกายได้
รากใช้ต้มกับน้ำดื่มและอาบ ช่วยแก้ซาง พิษซาง ต้นและใบใช้ตำผสมกับสารหนู ใช้เป็นยาทาแก้โรคผิวหนังติดเชื้อ รากและใบ นำมาตำให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกรักษาฝี แก้แผลฝี เป็นต้น.
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด แบบเต็มและแบบย่อทั้ง 7 วัน ตามกำลังวัน สวดก่อนนอนชีวิตราบรื่น ร่มเย็น เสริมสิริมงคล ประโยชน์ของการสวดมนต์ก็คือทำให้จิตใจเราผ่องใส และจิตใจสงบมากขึ้น ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิด คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์… อ่านเพิ่มเติม..
อาการท้องผูก ท้องอืด ถึงแม้จะไม่ส่งผลอันตรายมากถึงชีวิตแต่ก็สร้างความอึดอัดไม่สบายท้อง หรืออาจลุกลามกลายเป็นโรคอันตรายในอนาคตได้ และที่สำคัญอาการเหล่านี้มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง! ผลไม้หลายชนิดอุดมไปด้วยใยอาหาร ทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้น ผลไม้ 9 ชนิดช่วยขับถ่าย กากใยสูง แก้อาการท้องผูกชนิดไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย 1.มะละกอสุก เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงและหาทานง่าย… อ่านเพิ่มเติม..
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.